คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภินย์ ปุษปาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินบนเพื่อช่วยเหลือการขายสินค้า: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย
ในการขายสินค้าระหว่างบริษัทโจทก์ ผู้ขายกับองค์การท. ผู้ซื้อบริษัทโจทก์ได้ตกลงยินยอมให้กำหนดจำนวนเงินที่จะให้เป็นค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าให้แก่พนักงานขององค์การท. ที่ช่วยให้ขายสินค้าได้ เงินที่รับว่าจะให้นี้จึงเป็นเงินสินบนเมื่อการซื้อขายเสร็จบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายแทนบริษัทโจทก์ได้ทำหนังสือขออนุมัติจ่ายค่านายหน้าบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้จ่ายค่านายหน้าได้ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของบริษัทโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปมอบให้แก่ผู้ช่วยเหลือให้ได้ทำสัญญาซื้อขาย การกระทำของบริษัทโจทก์ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1ไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 บริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทอนุมัติจ่ายเงินสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อช่วยเหลือในการทำสัญญาซื้อขาย ทำให้บริษัทเองไม่มีสิทธิฟ้องร้องอาญา
ในการขายสินค้าระหว่างบริษัทโจทก์ ผู้ขายกับองค์การ ท. ผู้ซื้อบริษัทโจทก์ได้ตกลงยินยอมให้กำหนดจำนวนเงินที่จะให้เป็นค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าให้แก่พนักงาน ขององค์การ ท. ที่ช่วยให้ขายสินค้าได้ เงินที่รับว่าจะให้นี้จึงเป็นเงินสินบนเมื่อการซื้อขายเสร็จบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายแทนบริษัทโจทก์ได้ทำหนังสือขออนุมัติจ่ายค่านายหน้า บริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้จ่ายค่านายหน้าได้ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของบริษัทโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปมอบให้แก่ผู้ช่วยเหลือให้ได้ทำสัญญาซื้อขาย การกระทำของบริษัทโจทก์ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 บริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดโรคก่อนทำสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนป่วยเป็นโรคตับโตและดีซ่านกับทั้งยังเคยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่แถลงถ้อยคำในคำขอเอาประกันชีวิตและต่อนายแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันชีวิตว่าไม่เคยเป็น หรือเคยถูกรักษาโรคตับ ลำไส้ ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ และไม่เคยเจ็บไข้หรือบาดเจ็บนอกเหนือจากข้อซักถามเกี่ยวกับโรคในข้ออื่น ๆ เช่นนี้ เป็นการละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงแห่งโรคที่ตนรู้ว่าเคยเป็นและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วอันเป็นสาระสำคัญในการรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะเมื่อจำเลยบอกล้างแล้วสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันภัย สัญญาประกันเป็นโมฆียะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนป่วยเป็นโรคตับโตและดีซ่านกับทั้งยังเคยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่แถลงถ้อยคำในคำขอเอาประกันชีวิตและต่อนายแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันชีวิตว่าไม่เคยเป็นหรือเคยถูกรักษาโรคตับ ลำไส้ ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ และไม่เคยเจ็บไข้หรือบาดเจ็บนอกเหนือจากข้อซักถามเกี่ยวกับโรคในข้ออื่น ๆ เช่นนี้ เป็นการละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงแห่งโรคที่ตนรู้ว่าเคยเป็นและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วอันเป็นสาระสำคัญในการรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะเมื่อจำเลยบอกล้างแล้วสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปิดบังเจ็บป่วยที่เป็นสาระสำคัญ
ย. ผู้เอาประกันชีวิตละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่เคยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์และเป็นโรคตับโตตัวเหลืองเป็นไข้และท่อน้ำดีอักเสบย. ย่อมรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การที่ ย. ละเว้นไม่เปิดเผยความจริงแห่งโรคที่ตน รู้ว่าเคยเป็นและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ย. กับจำเลยย่อมตก เป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยได้บอกล้างแล้วสัญญาย่อมเลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการต่อความเสียหายจากพนักงานยักยอกสินค้า
การที่สินค้าของโจทก์ขาดหายไปนั้น แม้จะเป็นเพราะพนักงานของโจทก์ยักยอกเอาไป แต่ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์อย่างเคร่งครัดตามสมควร โดยมิได้จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้รัดกุมและมิได้ตรวจตรา ดู แล เจ้าหน้าที่ใต้ บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานโดยซื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนมิได้ตรวจสอบสินค้าของโจทก์โดยสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานของโจทก์ยักยอกสินค้าของโจทก์ไปอันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการต่อความเสียหายจากพฤติกรรมยักยอกของพนักงาน
การที่สินค้าของโจทก์ขาดหายไปนั้น แม้จะเป็นเพราะพนักงานของโจทก์ยักยอกเอาไป แต่ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์อย่างเคร่งครัดตามสมควร โดยมิได้จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้รัดกุมและมิได้ตรวจตราดูแลเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานโดยซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนมิได้ตรวจสอบสินค้าของโจทก์โดยสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานของโจทก์ยักยอกสินค้าของโจทก์ไป อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการลงลายมือชื่อหลังเช็ค: ผู้สลักหลัง (อาวัล) ไม่ใช่ตัวการร่วม
โจทก์ฝากเงินไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1ออกเช็คล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อด้าน หลังเช็คพิพาทและประทับตราจำเลยที่ 1 การปฏิบัติเช่นนี้เป็นไปตามปกติในการรับฝากเงินอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเพียงเพื่อกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้สลักหลังย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จึงจะฟังว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวการร่วมในการออกเช็คพิพาทไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถหาย ข้อตกลงชดใช้เป็นสัญญา รับใช้ค่าเสียหาย อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อที่ตกลงไว้ว่าถ้า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเช่าซื้อจำนวนที่ยังขาดอยู่ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ และในกรณีนี้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดระงับลงนั้นเป็นความตกลงที่ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์สูญหาย ซึ่งข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อสัญญารับใช้ค่าเสียหาย แม้จะเรียกว่าค่าเช่าซื้อ กรณีก็มิใช่การฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้ออันมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6)แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ของผู้ค้ำประกันระงับสิ้น แต่ยังคงต้องรับผิดชอบหนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกัน ส. ในตำแหน่งคอมปราโดร์ส. ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยฟ้อง ส. ล้มละลาย ต่อมาจำเลยถอน คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ดังนี้ เป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้จาก ส.ผู้ล้มละลายเท่านั้น มิใช่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด คู่ความท้ากัน ขอให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวว่าการที่จำเลยถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อจำเลยหรือไม่ปรากฏตามคำแถลงของคู่ความในรายงานกระบวนพิจารณาว่า เรื่องค่าเสียหายและดอกเบี้ย ให้ศาลพิจารณาให้ตามคำฟ้องและคำให้การดังนี้ ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ดอกเบี้ยที่จำเลยฟ้องแย้งเกิน 5 ปี จึงมีประเด็นเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 166.
of 50