พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันและการฟ้องร้องตามสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินจำนองประกัน ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้เลย ไม่ต้องบังคับจำนองก่อน
การกู้ยืมเงินซึ่งมีจำนำเป็นประกันนั้น ผู้ให้กู้ไม่ถูกผูกมัดให้ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ให้รับผิดตามสัญญากู้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยวิธีโฆษณา และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อการละเมิดของลูกจ้าง
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 อาจกระทำได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 2 ทาง คือ ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อจำเลยผู้เป็นกรรมการของบริษัทเลือกลงพิมพ์โฆษณาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์อีกแม้ในการเรียกประชุมใหญ่ครั้งก่อน ๆ จำเลยได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ถึงโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น แต่การเรียกประชุมใหญ่ครั้งนี้จำเลยบอกกล่าวโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริต
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้น: เลือกได้ทั้งพิมพ์โฆษณาหรือส่งทางไปรษณีย์ การเปลี่ยนวิธีการไม่ถือว่าไม่สุจริต
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอาจกระทำได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 2 ทาง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 คือโดยการลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ หรือโดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน เมื่อจำเลยเลือกกระทำโดยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่แล้ว ก็ไม่จำต้องส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ไปยังโจทก์หรือผู้ถือหุ้นอื่นอีก แม้การเรียกประชุมใหญ่ในครั้งก่อน จำเลยจะได้ส่งคำบอกกล่าวถึงโจทก์ ก็เปลี่ยนมาเป็นการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แทนในการประชุมครั้งหลังได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยวิธีลงพิมพ์โฆษณา และความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 อาจกระทำได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 2 ทาง คือ ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อจำเลยผู้เป็นกรรมการของบริษัทเลือกลงพิมพ์โฆษณาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์อีกแม้ในการเรียกประชุมใหญ่ครั้งก่อน ๆ จำเลยได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ถึงโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น แต่การเรียกประชุมใหญ่ครั้งนี้จำเลยบอกกล่าวโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริต
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง 3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง 3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมด้วยวาจาต้องทำในสถานการณ์อันตรายใกล้ตายและผู้ทำพินัยกรรมต้องสามารถแสดงเจตนาได้ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663 บัญญัติให้ผู้ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ การที่ผู้ทำพินัยกรรมมีอาการป่วยหนักพูดจาไม่ได้ ไม่สามารถให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ได้ แต่ไม่ปรากฏว่าขณะผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาตามบทบัญญัติดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมด้วยวาจาต้องทำในขณะอันตรายใกล้ตายและผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาได้ มิเช่นนั้นไม่สมบูรณ์
ป.พ.พ. มาตรา 1663 บัญญัติให้ผู้ตก อยู่ ในอันตรายใกล้ความตายทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ การที่ผู้ทำพินัยกรรมมีอาการป่วยหนักพูดจาไม่ได้ ไม่สามารถให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ได้ แต่ไม่ปรากฏว่าขณะผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมตก อยู่ ในอันตรายใกล้ความตายไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาตามบทบัญญัติดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในเหตุละเมิดจากการเล่นของเด็กและความรับผิดของบิดาในการดูแลบุตร
โจทก์ที่ 2 อายุ 15 ปี จำเลยที่ 1 อายุ 14 ปี ต่างสมัครใจเล่นขว้างปา ก้อนดิน ใส่ กัน ก้อนดิน ถูกตา ซ้าย โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บดังนี้ เป็นกรณีเกิดจากการเล่นตามวิสัยเด็กโดยโจทก์ที่ 2 สมัครใจเข้าร่วมเล่นด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีส่วนเป็นต้นเหตุให้เกิดการละเมิด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 นำกระบือไปเลี้ยงห่างหมู่บ้าน 4กิโลเมตร จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปด้วยการเล่นขว้างปา ก้อนดิน เป็นการเล่นธรรมดาทั่วไปที่เด็ก ๆ จะชักชวนและสมัครใจเล่นกันเองตามวิสัยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เคยเล่นขว้างปา ก้อนดิน กันมาก่อนจึงเกินความคาดคิดที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบิดาจะควบคุมได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังดูแล จำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้โดยการมอบเงินให้บุคคลอื่นแทน การนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานตาม กม.แพ่งฯ มาตรา 653
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยการที่จำเลยให้การและนำสืบอ้างว่า จำเลยได้ชำระเงินที่กู้ยืมให้โจทก์แล้วโดยมอบให้แก่ ล. ซึ่งขอกู้เงินจำนวนนี้จากโจทก์ตามคำสั่งของโจทก์ ดังนี้ มิใช่กรณีแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ไม่มีหลักฐานตามที่มาตรา 653 วรรค 2 กำหนดไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินหาได้ไม่.