คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต นราลัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 444 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การต้องชัดเจนเหตุแห่งการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากมิได้อ้างเหตุ ศาลไม่อาจรับฟังพยานหลักฐานได้
จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต นำสัญญากู้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาฟ้อง โดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดอย่างไร ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีสิทธินำพยานมาสืบตามที่ให้การต่อสู้แม้ศาลชั้นต้นจะยอมให้สืบ ก็รับฟังไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คซื้อหุ้นและการตรวจสอบหนี้สินของบริษัท การกระทำโดยไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยซื้อหุ้นของบริษัท ป. จากโจทก์ โดยโจทก์รับรองว่าจะช่วยเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ของบริษัทให้ การที่จำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาท ซึ่งจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เป็นค่าซื้อหุ้นดังกล่าว เพราะจำเลยจะต้องตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดไม่สมบูรณ์ถึง 158 รายการ ที่โจทก์จะต้องไปเรียกเก็บเงินให้จำเลยเสียก่อน ถือว่าไม่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเช็ค: การห้ามธนาคารจ่ายเงินเพื่อตรวจสอบหนี้สินก่อนชำระค่าหุ้น ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยซื้อหุ้นของบริษัท ป.จากโจทก์ โดยโจทก์รับรองว่าจะช่วยเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ของบริษัทให้การที่จำเลยห้ามธนาคารมิให้ ใช้เงินตามเช็คพิพาทซึ่งจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เป็นค่าซื้อหุ้นดังกล่าว เพราะจำเลยจะต้องตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ซึ่งมี รายละเอียดไม่สมบูรณ์ถึง 158 รายการ ที่โจทก์จะต้องไปเรียกเก็บ เงินให้จำเลยเสียก่อน ถือว่าไม่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานโจทก์มีพิรุธ คำเบิกความมีน้ำหนักน้อย ขาดหลักฐานยืนยันความผิดจำเลยที่ 2
พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 กับพวกไปฆ่าผู้ตาย นับว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ที่ร่วมกระทำผิดด้วย จึงถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ที่กระทำผิดเพื่อให้ตนเองพ้นจากการเป็นผู้ต้องหาเพราะพนักงานสอบสวนย่อมจะกันไว้เป็นพยานเพื่อให้เบิกความปรักปรำจำเลยที่ 2 ทำให้มีข้อระแวงสงสัยว่าพยานอาจกระทำตามลำพังเอง หรืออาจได้รับการติดต่อจากบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่จำเลยที่ 2 ทั้งนี้เพื่อให้ตนและผู้ที่ใช้จ้างวานตนพ้นผิด ดังนี้ คำเบิกความของพยานปากดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย จะนำมาใช้ยันจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การปฏิเสธตลอดมาหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าพยานปากนี้บอกว่าได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้ฆ่าผู้ตายนั้นเป็นเพียงพยานบอกเล่าที่จำเลยที่1 ได้รับทราบจากปากคำของพยานเท่านั้น จึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการละเมิดอันแบ่งแยกมิได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจำกัดความรับผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ผู้กระทำละเมิดรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนหนึ่งอันเกิดจากมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ชำระครึ่งหนึ่ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ชำระอีกครึ่งหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายขึ้นมาอีก ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เต็มจำนวน ก็ถือได้ว่าปัญหาเรื่องค่าเสียหายเต็มจำนวนได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็ต้องให้ผู้นั้นรับผิดเต็มจำนวน จะแบ่งให้รับผิดเพียงบางส่วนหาชอบไม่ ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด และพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รับผิด โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้นที่จะต้องรับผิดศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มตามมูลหนี้แห่งการละเมิดได้.(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดร่วมกันและแยกกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่รับผิดรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนหนึ่งอันเกิดจากมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ชำระครึ่งหนึ่งและจำเลยที่ 3 ที่ 4 ชำระอีกครึ่งหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายขึ้นมาอีก ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เต็มจำนวนก็ถือได้ว่าปัญหาเรื่องค่าเสียหายเต็มจำนวนได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็ต้องให้ผู้นั้นรับผิดเต็มจำนวน จะแบ่งให้รับผิดเพียงบางส่วนหาชอบไม่ ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด และพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รับผิด โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจ พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มตามมูลหนี้แห่งการละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดร่วมกันและแบ่งแยก หนี้อันแบ่งแยกมิได้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้รับผิดเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนหนึ่งอันเกิดจากมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระครึ่งหนึ่ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ชำระอีกครึ่งหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายขึ้นมาอีก ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เต็มจำนวน ก็ถือได้ว่าปัญหาเรื่องค่าเสียหายเต็มจำนวนได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็ต้องให้ผู้นั้นรับผิดเต็มจำนวน จะแบ่งให้รับผิดเพียงบางส่วนหาชอบไม่ ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด และพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รับผิด โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มตามมูลหนี้แห่งการละเมิดได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาต โจทก์ต้องพิสูจน์เลขทะเบียนอาวุธปืนตรงกับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาต ภาระการพิสูจน์ความผิดตกแก่ฝ่ายโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าปืนของกลางเป็นปืนไม่มีทะเบียนและจำเลยไม่มีใบอนุญาต แต่ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าใบอนุญาตที่เรียกมาจากจำเลยจะใช้กับอาวุธปืนของกลางหรือไม่ก็ไม่ทราบ เมื่อส่งอาวุธปืนของกลางไปพิสูจน์หาได้พิสูจน์ไม่ว่าเครื่องหมายเลขประจำอาวุธปืนเป็นเลขทะเบียนเดียวกันกับที่ปรากฎในใบอนุญาตหรือไม่ ดังนี้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ศาลชั้นต้นฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันแต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290,72 ดังนี้ ศาลล่างทั้งสองต่างยกฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์ที่ว่าพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีฆ่าผู้อื่น โดยศาลอุทธรณ์เปลี่ยนข้อหาจากป้องกันตัวเป็นฆ่าโดยบันดาลโทสะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ศาลชั้นต้นฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันแต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290, 72 ดังนี้ ศาลล่างทั้งสองต่างยกฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริงฎีกาของโจทก์ที่ว่าพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
of 45