คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เกิดลาภผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรมและการฟ้องร้องนอกเหนือจากพินัยกรรม: ศาลจำกัดสิทธิการโอนมรดกเฉพาะส่วนของพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินซึ่งเป็นมรดกของ พ. ให้โจทก์ตามพินัยกรรมที่ พ. ทำไว้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของบิดาโจทก์จำเลยซึ่งเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรมให้แก่โจทก์มิได้ เพราะเป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรมและการแบ่งมรดก: สิทธิในที่ดินที่ครอบครองร่วมกันและพินัยกรรมยกทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินซึ่งเป็นมรดกของ พ.ให้โจทก์ตามพินัยกรรมที่พ. ทำไว้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของบิดาโจทก์จำเลยซึ่งเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรมให้แก่โจทก์มิได้ เพราะเป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดสนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ.เมื่อส.ขับรถปิคอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ. เพราะไม่รู้จักมาก่อนจึงจ้องปืนเล็งไปยัง ส. โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองแต่ ส.โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ศ. จำเลยที่ 1จึงไม่ได้ยิงดังนี้ เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา289(4),80 จำเลยที่ 2 ให้รถจักรยานยนต์และปืนแก่จำเลยที่ 1 ไปใช้ยิง ศ. ดังนี้จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้: เจ้าหนี้จำนอง, เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญ และการเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จำนองโจทก์ไว้ก่อนเจ้าหนี้อื่นส่วนหนี้ของโจทก์นอกจากหนี้จำนองเป็นหนี้สามัญที่เจ้าหนี้อื่น ๆ มีสิทธิขอเฉลี่ยจากเงินที่เหลือ แต่กรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) ย่อมมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้คนอื่น ๆ จากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ จำนองใช้แก่โจทก์แล้วและจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินอื่นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จำเลยถูกพิจารณาจากพฤติการณ์
เดิมจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลย ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ครั้นถึงวันสืบพยานจำเลย จำเลยและทนายก็ไม่มาศาลตามนัด หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้ว ทนายจำเลยจึงมาศาลทั้งพยานที่จะนำสืบก็ไม่นำมา ดังนี้ พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวถึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการไม่อนุญาตเลื่อนสืบพยาน: ศาลชอบธรรมเมื่อจำเลยขาดนัดและไม่นำสืบพยาน
เดิมจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ครั้นถึงวันสืบพยานจำเลย จำเลยและทนายก็ไม่มาศาลตามนัด หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้ว ทนายจำเลยจึงมา ศาลทั้งพยานที่จะนำสืบก็ไม่นำมา ดังนี้พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลย ประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์ต้องแก้ไขก่อนพิจารณา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อกลับไปแก้ไขฟ้อง
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - การหักค่าจ้างเป็นประกัน - เงินทุนเลี้ยงชีพไม่ถือเป็นการหักค่าจ้าง
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส. ยอมรับผิดไม่เกิน 50,000 บาทไว้ต่อโจทก์ ซึ่งตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าความผูกพันตามสัญญาค้ำประกันจะเป็นอันระงับลงต่อเมื่อโจทก์ได้หักค่าจ้างของ ส. ไว้จนครบมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้แทน การที่โจทก์จ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้แก่พนักงานของโจทก์รวมทั้ง ส. เป็นรายเดือนตามอัตราและวิธีการที่โจทก์กำหนดไว้ และพนักงานยังมีสิทธิจะได้รับเมื่อทำงานครบ 5 ปีและ 10 ปีแล้วนั้น เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าโจทก์หักค่าจ้างของ ส. ไว้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และสัญญาค้ำประกันก็มิได้บังคับว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างของส. เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หักค่าจ้างของ ส. ไว้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - การหักค่าจ้าง - เงินทุนเลี้ยงชีพ - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส.ยอมรับผิดไม่เกิน 50,000 บาทไว้ต่อโจทก์ ซึ่งตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าความผูกพันตามสัญญาค้ำประกันจะเป็นอันระงับลงต่อเมื่อโจทก์ได้หักค่าจ้างของ ส.ไว้จนครบมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้แทน การที่โจทก์จ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้แก่พนักงานของโจทก์รวมทั้ง ส.เป็นรายเดือนตามอัตราและวิธีการที่โจทก์กำหนดไว้ และพนักงานยังมีสิทธิจะได้รับ เมื่อทำงานครบ 5 ปีและ 10 ปีแล้วนั้น เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ ทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าโจทก์หักค่าจ้างของ ส.ไว้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และสัญญาค้ำประกันก็มิได้บังคับว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างของ ส.เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หักค่าจ้างของส.ไว้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอยู่
of 120