คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เกิดลาภผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ สิทธิริบของ ผู้ให้เช่าซื้อ และการฟ้องขับไล่
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทจากโจทก์ ต่อมาทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์ วางเงินมัดจำบางส่วนเงินส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็นงวด และจะโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทในงวดสุดท้าย ดังนี้สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวคือสัญญาเช่าซื้อ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อบ้านและที่ดินที่เหลือให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงเพิ่มเติมย่อมถือว่าสัญญาเลิกกันแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470-3479/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่เวนคืนยังเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่พิพาทยังมิได้มีพระราชบัญญัติเพิกถอนการเวนคืนจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้แม้ทางราชการยังมิได้นำที่พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ในการเวนคืน จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองปรปักษ์
แม้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุจะบัญญัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนฯ ให้เวนคืนที่พิพาทแก่กรมทางหลวง กรมทางหลวงจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลที่พิพาทโดยตรง และมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและอั้งยี่: รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้.
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าหลังการซื้อขายฝาก และการทำละเมิดจากการกีดขวางการค้า
โจทก์เช่า แผงตลาดจากบริษัทฐ. อยู่ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะซื้อที่ดินที่ตั้งแผงจากบริษัท ฐ. เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อมาแล้วก็ขายฝากให้แก่บริษัท ค. ไปในวันเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้างย่อมตก เป็นของผู้รับซื้อฝากซึ่งรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าแผงเดิม ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่า กับโจทก์ และโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในแผงของตน ต่อไป เมื่อจำเลยให้คนงานล้อมรั้วปิดกั้นแผงทำให้ลูกค้าไม่เข้าซื้อสินค้าของโจทก์จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ จำเลยที่ 2 ขายฝากที่ดินตรงที่ตั้งแผงที่โจทก์เช่า อยู่ให้แก่บริษัท ค. ตั้งแต่ก่อนฟ้องแย้ง และขณะฟ้องแย้งยังมิได้จดทะเบียนไถ่ถอนคืน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งมิใช่ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าในขณะฟ้องแย้ง การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกการเช่า กับโจทก์จึงไม่ชอบ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากแผงที่เช่า โจทก์ฟ้องตั้งทุนทรัพย์พิพาทมาเพียง 32,400 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามฟ้องแย้งมาด้วยก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินเช่า สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่า และการกระทำละเมิดจากการกีดขวางการค้า
โจทก์เช่าแผงตลาดจากบริษัทฐ. อยู่ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะซื้อที่ดินที่ตั้งแผงจากบริษัท ฐ. เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อมาแล้วก็ขายฝากให้แก่บริษัท ค.ไปในวันเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้างย่อมตกเป็นของผู้รับซื้อฝากซึ่งรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าแผงเดิมด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่ากับโจทก์ และโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในแผงของตนต่อไป เมื่อจำเลยให้คนงานล้อมรั้วปิดกั้นแผงทำให้ลูกค้าไม่เข้าซื้อสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยที่ 2 ขายฝากที่ดินตรงที่ตั้งแผงที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บริษัท ค. ตั้งแต่ก่อนฟ้องแย้ง และขณะฟ้องแย้งยังมิได้จดทะเบียนไถ่ถอนคืน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งมิใช่ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าในขณะฟ้องแย้ง การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกการเช่ากับโจทก์จึงไม่ชอบจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากแผงที่เช่า
โจทก์ฟ้องตั้งทุนทรัพย์พิพาทมาเพียง 32,400 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามฟ้องแย้งมาด้วย ก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดจนเป็นอันตรายสาหัส พิจารณาจากระยะเวลาเจ็บป่วยและความสามารถในการประกอบอาชีพ
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจหรือหลอดลมใหญ่และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือนแผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีพยาน ศาลชอบที่จะพิจารณาคดีโดยไม่ต้องเลื่อน
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จทนายจำเลยขอเลื่อนเพราะพยานไม่มาศาล และแถลงว่านัดหน้าพยานมาเท่าใดก็จะสืบไปเท่านั้นโดยไม่ขอเลื่อนในนัดที่ 2ทนายจำเลยขอเลื่อนอีก อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไปราชการต่างจังหวัดโดยที่จำเลยที่ 2 และพยานจำเลยอื่นก็ไม่มีมาศาล ซึ่งทนายโจทก์คัดค้านว่าเป็นการประวิงคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปโดยเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบและให้นัดฟังคำพิพากษา จึงเป็นการชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดผ้าลักลอบนำเข้า: การตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้เวลาสอบสวนนาน แต่ไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ยึดผ้าของโจทก์โดยอ้างว่า เป็นผ้าที่ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าผ้าที่ถูกยึดไม่ตรงกับผ้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการยึดโดยมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าผ้าที่ยึดนั้นได้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรดังนี้ กรณีไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยึดผ้าของโจทก์ไว้สอบสวนเป็นเวลาถึง 5เดือนเศษ เพราะไม่อาจแยกพิจารณาเฉพาะผ้าของโจทก์ก่อนผ้ารายการอื่นได้เนื่องจากยึดมาจากแหล่งเดียวกัน ต้องส่งผ้าที่ยึดไปกองวิเคราะห์สินค้าทำการวิเคราะห์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามเจ้าของโรงงานที่ผลิตและฟอกย้อม สอบสวนชิปปิ้ง ทำหนังสือไปถึงกองประเมินอากรกับกองตรวจสินค้าขาเข้าแล้ว และเสนอความเห็นไปยังกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้ง 7 รายการ เช่นนี้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์เพิ่งนำชิปปิ้งมาให้สอบสวนหลังจากการยึดผ้าประมาณ 3-4 เดือน โจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้เวลาสอบสวนเกี่ยวกับผ้าพิพาทนานเกินสมควรหรือจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับผ้ามิใช่ทรัพย์สินที่เสื่อมสลายได้ง่าย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพิจารณาสอบสวนโดยเร่งรัดเป็นพิเศษ ในที่สุดจำเลยคืนผ้าให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดผ้าโดยเจ้าพนักงานศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้เวลาตรวจสอบนาน แต่ขั้นตอนถูกต้อง ไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ยึดผ้าของโจทก์โดยอ้างว่า เป็นผ้าที่ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าผ้าที่ถูกยึดไม่ตรงกับผ้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการยึดโดยมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าผ้าที่ยึดนั้นได้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้ กรณีไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยึดผ้าของโจทก์ไว้สอบสวนเป็นเวลาถึง5 เดือนเศษ เพราะไม่อาจแยกพิจารณาเฉพาะ ผ้าของโจทก์ก่อนผ้ารายการอื่นได้เนื่องจากยึดมาจากแหล่ง เดียวกัน ต้องส่งผ้าที่ยึดไปกองวิเคราะห์สินค้าทำการวิเคราะห์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามเจ้าของโรงงานที่ผลิตและฟอก ย้อม สอบสวนชิปปิ้ง ทำหนังสือไปถึงกองประเมินอากรกับกองตรวจสินค้าขาเข้าแล้ว และเสนอความเห็นไปยังกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้ง 7 รายการ เช่นนี้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์เพิ่งนำชิปปิ้งมาให้สอบสวนหลังจากการยึดผ้าประมาณ 3-4 เดือน โจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้เวลาสอบสวนเกี่ยวกับผ้าพิพาทนานเกินสมควรหรือจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับผ้ามิใช่ทรัพย์สินที่เสื่อมสลาย ได้ง่าย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพิจารณาสอบสวนโดยเร่งรัดเป็นพิเศษ ในที่สุดจำเลยคืนผ้าให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
of 120