คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมประสงค์ พานิชอัตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวและแก้ไขข่าวที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายการพิมพ์
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า'เมียผวจ.เต้นก๋าขู่ประธานสภาบุกโรงพักจวกแหลกโมโหสารภาพ'เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการบุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา41,43นั้นนอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว(คอลัมน์)และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกันคดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ลงพาดหัวข่าวในหน้า1ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน2บรรทัดและด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก1บรรทัดส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้นกลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า16ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา3สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1ที่2คนละ2,000บาทสถานเดียวจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยที่1ที่2ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่3กระทำผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แม้จะเกินกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์รับฟัง ศาลฎีกายกฎีกา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา232จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงแม้จะไม่ได้ยื่นภายในกำหนด10วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา236แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และผลของการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 232 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงแม้จะไม่ได้ยื่นภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความของจำเลยไม่ทำให้เกิดละเมิดต่อโจทก์ แม้รถยนต์ถูกยึดจากการสอบสวนเรื่องการไม่ต่อทะเบียน
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ รับชำระราคาแล้วบางส่วน ตกลงกันว่าจะโอนทะเบียนกันเมื่อชำระราคาหมดแล้ว โจทก์มอบรถยนต์ ดังกล่าวให้ห้าง ฯ ย. จัดจำหน่าย และห้าง ฯ ย. ให้ ค. เช่าซื้อไป ต่อมา จำเลยที่ 1 พา ค.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า ค. เช่าซื้อรถ มาจากห้าง ฯ ย. แล้วเกิดการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในรถระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนได้ยึดรถยนต์คันพิพาทไป แต่เหตุที่พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ก็เนื่องจากสอบสวนได้ความว่ารถยนต์เป็นของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อทะเบียน จึงดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการยึดรถยนต์ของพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์รับชำระราคาแล้วบางส่วน ตกลงกันว่าจะโอนทะเบียนกันเมื่อชำระราคาหมดแล้วโจทก์มอบรถยนต์ ดังกล่าวให้ห้างฯ ย. จัดจำหน่าย และห้างฯย.ให้ค.เช่าซื้อไปต่อมาจำเลยที่1พาค.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า ค. เช่าซื้อรถ มาจากห้างฯย. แล้วเกิดการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในรถระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนได้ยึดรถยนต์คันพิพาทไป แต่เหตุที่พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ก็เนื่องจากสอบสวนได้ความว่ารถยนต์เป็นของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อทะเบียน จึงดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่ถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอม ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท ได้เขียนสัญญากู้เงินโดยยังมิได้เขียน จำนวนเงินที่กู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้เขียนจำนวนเงินกู้ 15,000 บาท ลงในสัญญากู้โดยจำเลยมิได้ยินยอม ดังนี้ การที่โจทก์เขียนข้อความ ในสัญญากู้ว่า ได้มีการกู้ในจำนวนเงินถึง 15,000 บาทเกินกว่า จำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยมิได้รู้เห็นและยินยอมด้วยสัญญากู้เงิน ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี หาได้ไม่แม้ขณะโจทก์เขียนจำนวนเงิน 15,000 บาทในสัญญากู้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์12,960 บาทศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ดังกล่าวโดยอาศัยสัญญากู้นั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1313/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่ถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอมใช้บังคับคดีไม่ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท ได้เขียนสัญญากู้เงินโดยยังมิได้เขียน จำนวนเงินที่กู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้เขียนจำนวนเงินกู้ 15,000 บาท ลงในสัญญากู้โดยจำเลยมิได้ยินยอม ดังนี้ การที่โจทก์เขียนข้อความ ในสัญญากู้ว่า ได้มีการกู้ในจำนวนเงินถึง 15,000 บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยมิได้รู้เห็นและยินยอมด้วยสัญญากู้เงิน ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี หาได้ไม่แม้ขณะโจทก์เขียนจำนวนเงิน 15,000 บาท ในสัญญากู้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาทศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ดังกล่าวโดยอาศัยสัญญากู้นั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์จากการกระทำละเมิด, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวได้จดทะเบียนให้ ส. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ส. มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์จากตึกแถว แต่กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังเป็นของโจทก์ ด้วยอำนาจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ตึกแถวเสียหายได้ การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดแม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดจากมูลละเมิด โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อตึกแถวของโจทก์ จึงมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขการขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อรับภาระภาษีแทนจำเลยได้ ไม่ขัดกฎหมาย
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแม้จะเป็นเงินได้ของจำเลยซึ่งจำเลยต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระภาษีดังกล่าวแทนจำเลยดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดที่ให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่เป็นโมฆะตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ) ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็ผูกพันโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตาม จะอ้างหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้เสียภาษีนั้นมาปัดความรับผิดนั้นหาได้ไม่
of 21