พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินเดือนและบำเหน็จข้าราชการ: การคุ้มครองสิทธิในการเลี้ยงชีพและการพิจารณาคดีอุทธรณ์
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286(2) ซึ่งมีผลทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิขออายัดเงินเช่นว่านั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็โดยมีเจตนารมณ์จะให้ข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลทั้งที่ยังรับราชการอยู่และพ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลเหล่านี้ที่ตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือบำนาญได้มีเงินเลี้ยงชีพ การที่นำเงินเช่นว่านั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทมาตราดังกล่าว
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเดือนและบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) ซึ่งมีผลทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิขออายัดเงินเช่นว่านั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็โดยมีเจตนารมณ์จะให้ข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลทั้งที่ยังรับราชการอยู่และพ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลเหล่านี้ ที่ตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือบำนาญได้มีเงินเลี้ยงชีพ การที่นำเงินเช่นว่านั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทมาตราดังกล่าว
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำนาญลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่รับและจัดสรรเพื่อจ่ายค่าเลี้ยงชีพ
เงินบำนาญของลูกหนี้ซึ่งกระทรวงการคลังส่งมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้จะเป็นเงินบำนาญที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แต่ก็เป็นเงินบำนาญที่ได้ส่งมาให้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องรับเงินบำนาญดังกล่าวซึ่งเป็นเงินที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้มละลายรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ และพิจารณาจ่ายค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปต่อไปตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 กรณีมิใช่เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปก้าวล่วงจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำนวนเงินค่าเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาสั่งจ่ายโดยพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในขณะที่พิจารณาสั่งจ่าย
จำนวนเงินค่าเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาสั่งจ่ายโดยพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในขณะที่พิจารณาสั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่รับเงินบำนาญของลูกหนี้ระหว่างล้มละลาย เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ และจ่ายค่าเลี้ยงชีพตามสมควร
เงินบำนาญของลูกหนี้ซึ่งกระทรวงการคลังส่งมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้จะเป็นเงินบำนาญที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่ก็เป็นเงินบำนาญที่ได้ส่งมาให้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องรับเงินบำนาญดังกล่าวซึ่งเป็นเงินที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้มละลายรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ และพิจารณาจ่ายค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปต่อไปตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 กรณีมิใช่เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปก้าวล่วงจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำนวนเงินค่าเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาสั่งจ่ายโดยพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในขณะที่พิจารณาสั่งจ่าย
จำนวนเงินค่าเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาสั่งจ่ายโดยพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในขณะที่พิจารณาสั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาฐานะปัจจุบันของลูกหนี้และครอบครัว
การจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 121 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษืทรัพย์จะต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร สมควรจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด ซึ่งธรรมดาย่อมทราบได้จากการสอบสวนหรือไต่สวนลูกหนี้เจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพไปโดยสั่งในคำร้องของลูกหนี้ที่ขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพนั้นเอง ไม่ได้พิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันแต่อย่างใด จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลย่อมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาสั่งจ่ายค่างเลี้ยงชีพลูกหนี้ และครอบครัวเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาฐานะความเป็นอยู่ปัจจุบันของลูกหนี้และครอบครัว
การจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 121 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร สมควรจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด ซึ่งธรรมดาย่อมทราบได้จากการสอบสวนหรือไต่สวนลูกหนี้เจ้าหนี้โดยตรงดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพไป โดยสั่งในคำร้องของลูกหนี้ที่ขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพนั้นเอง ไม่ได้พิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันแต่อย่างใด จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบศาลย่อมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาสั่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อบุคคลภายนอก: หลักสันนิษฐาน & การพิสูจน์ความสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)