คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 175

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและสิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้นๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระ เป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไป เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86 ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่นๆ และต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและการบังคับชำระหนี้ ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระเป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไปเจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88ทวิ(2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่น ๆและต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598-1599/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การดำเนินคดีอนาถา, และขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยความรับผิดร่วม
โจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับฟ้องในวันนั้น เพราะโจทก์ที่ 2 ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องในภายหลังซึ่งเป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าคดีโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในวันยื่นฟ้องแล้ว ส่วนการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่ เป็นกระบวนพิจารณาของศาล แม้จะเนิ่นนานไปก็หาใช่ความผิดของโจทก์ที่ 2 ไม่ คดีโจทก์ที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ฐานขับรถประมาททำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าขาดไร้อุปการะ, อายุความฟ้องเพิ่มเติม
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด-ขาดไร้อุปการะ: ฟ้องเพิ่มเติมไม่ขาดอายุความ บิดามีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทนเมื่อบุตรเสียชีวิต
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดสะดุดอายุความ แม้เรียกทายาทอื่นร่วมภายหลัง
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อเชื่อและการสะดุดหยุดของอายุความเมื่อฟ้องคดีล้มละลาย
โจทก์ผู้จัดหาและประกอบอุตสาหกรรมอาหารไก่ออกจำหน่าย ฟ้องเรียกค่าอาหารไก่ซึ่งจำเลยซื้อเชื่อไป มีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)
จำเลยรับสภาพหนี้โดยการผ่อนชำระหนี้ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ต่อไป
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายมาก่อนภายในกำหนดอายุความ แต่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุจำเลยไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว คดีถึงที่สุด การฟ้องคดีซึ่งต้องยกฟ้อง ย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย แม้ศาลจะฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง แต่ยกฟ้องเพราะจำเลยไม่ต้องด้วยเกณฑ์เป็นบุคคลล้มละลายนั้น กรณีต้องด้วยมาตรา 174ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งมาตรา 174 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นว่าถ้าเป็นกรณีฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง แม้ศาลพิพากษายกฟ้องก็ให้อายุความสะดุดหยุดลง
คดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะจำเลยไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 176 ซึ่งเป็นเรื่องศาลยกคดีเสีย เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล และกำหนดอายุความสิ้นไปในระหว่างพิจารณาคดีหรือจะสิ้นลงภายในระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุด อายุความจึงไม่ขยายออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าสินค้า: ผลของการฟ้องคดีล้มละลายและการขาดอายุความ
โจทก์ผู้จัดหาและประกอบอุตสาหกรรมอาหารไก่ออกจำหน่ายฟ้องเรียกค่าอาหารไก่ซึ่งจำเลยซื้อเชื่อไป มีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
จำเลยรับสภาพหนี้โดยการผ่อนชำระหนี้ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ต่อไป
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายมาก่อนภายในกำหนดอายุความ แต่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุจำเลยไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว คดีถึงที่สุดการฟ้องคดีซึ่งต้องยกฟ้องย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายแม้ศาลจะฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริงแต่ยกฟ้องเพราะจำเลยไม่ต้องด้วยเกณฑ์เป็นบุคคลล้มละลายนั้นกรณีต้องด้วยมาตรา 174 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งมาตรา 174 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นว่าถ้าเป็นกรณีฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องแม้ศาลพิพากษายกฟ้องก็ให้อายุความสะดุดหยุดลง
คดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะจำเลยไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 176 ซึ่งเป็นเรื่องศาลยกคดีเสีย เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลและกำหนดอายุความสิ้นไปในระหว่างพิจารณาคดีหรือจะสิ้นลงภายในระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดอายุความจึงไม่ขยายออกไป
of 5