คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มาโนช เพียรสนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คดีอาญาไม่พบผู้กระทำผิด
บันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอมีข้อความว่า "จำเลยเผาป่าทำให้ไฟลุกลามไหม้สวนยางพาราของโจทก์ ยางพาราเสียหาย 1,211 ต้น โจทก์คิดค่าเสียหาย 250,000 บาท จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนดังกล่าวภายใน 70 วัน และจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ถือเป็นข้อตกลงที่โจทก์และจำเลยระงับข้อพิพาทเรื่องไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ซึ่งมีอยู่แล้วให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลย แม้ต่อมาจะปรากฏว่าคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยจุดไฟเผาหญ้าโดยประมาทเป็นเหตุให้ไฟไหม้สวนยางพาราของโจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตามโจทก์จำเลยก็ยังคงต้องผูกพันกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีผ่านทนาย แม้จำเลยขัดแย้งกับทนาย ก็ยังถือเป็นการส่งโดยชอบ
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยจะอ้างเหตุว่าจำเลยขัดแย้งในการดำเนินคดีกับทนายจำเลย และทนายจำเลยไม่ได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทราบ ขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่โดยที่จำเลยมิได้จำกัดอำนาจของทนายหรือถอนทนายจำเลยในขณะเกิดเหตุขัดแย้งกัน คงปล่อยให้ทนายจำเลยทำหน้าที่ทนายต่อไปย่อมไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ไม่เกินเกณฑ์ศาลแขวง
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน มาตรา 67 มีโทษปรับวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนและมาตรา 69 ให้ปรับผู้ดำเนินการเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติสำหรับความผิดนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงความผิดตามมาตรา 65 และมาตรา 67 จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่าหกหมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5) ศาลแขวงจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยเจตนาทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ทำให้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
จำเลยเป็นภรรยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อ อ. ตายศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มี ทั้งที่จำเลยก็ทราบว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง เป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ. ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น จึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและทายาทเท็จ ทำให้เสียประโยชน์แก่ทายาทโดยธรรม
จำเลยเป็นภรรยา อ.ไม่มีบุตรด้วยกันเมื่ออ. ตาย ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีทั้งที่จำเลยก็ทราบว่าอ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่งเป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ. ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยเจตนาทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ทำให้ถูกตัดสิทธิการรับมรดก
จำเลยเป็นภรรยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกันเมื่อ อ. ตายศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีทั้งที่จำเลยก็ทราบว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง เป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ.ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4158/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจซักถามเอง และอนุญาตให้คู่ความซักค้านได้ภายหลัง
การสืบพยานในคดีแรงงานแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน" ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลในภายหลังว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยเรียกร้องเงินจากคนงานที่จะทำงานกับจำเลย อันเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุเลิกจ้าง โดยจำเลยมิได้ถามค้านโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ ถือได้ว่าศาลแรงงานอนุญาตแล้ว เพราะศาลแรงงานต้องการได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีแรงงานไม่ได้ ศาลแรงงานย่อมรับฟังคำพยานจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4158/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจซักถามเอง และอนุญาตให้คู่ความซักค้านได้ภายหลัง
การสืบพยานในคดีแรงงานแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน" ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลในภายหลังว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยเรียกร้องเงินจากคนงานที่จะทำงานกับจำเลย อันเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุเลิกจ้าง โดยจำเลยมิได้ถามค้านโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ ถือได้ว่าศาลแรงงานอนุญาตแล้ว เพราะศาลแรงงานต้องการได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีแรงงานไม่ได้ ศาลแรงงานย่อมรับฟังคำพยานจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4158/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานคดีแรงงาน: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบพยานได้ แม้ไม่ได้ถามค้านโจทก์ก่อน เนื่องจากต้องการข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์
การสืบพยานในคดีแรงงานแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยานตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน" ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลในภายหลังว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยเรียกร้องเงินจากคนงานที่จะทำงานกับจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุเลิกจ้าง โดยจำเลยมิได้ถามค้านโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ ถือได้ว่าศาลแรงงานอนุญาตแล้ว เพราะศาลแรงงานต้องการได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีแรงงานไม่ได้ ศาลแรงงานย่อมรับฟังคำพยานจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าอาวาสในฐานะผู้แทนวัด: ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวต่อสัญญาที่ทำในหน้าที่
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
of 225