พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการสอบสวนวินัยเสนอความเห็นดำเนินคดีอาญาได้ หากการกระทำผิดทางวินัยเข้าข่ายความผิดอาญา
ไม่มีข้อความตอนใดในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497ห้างคณะกรรมการสอบสวนมิให้ทำรายงานการสอบสวนว่าการกระทำของข้าราชการที่ถูกสอบสวนทางวินัยมีมูลความผิดทางอาญาด้วยและไม่มีกฎหมายใดระบุ ไว้เช่นนั้น ดังนี้ ถ้าในการสอบสวนโจทก์ปรากฏว่ามี มูลความผิดทางอาญาคณะกรรมการสอบสวนก็มีอำนาจที่จะทำความเห็น ให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ สอบสวนโจทก์ทางวินัยได้ทำความเห็นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางอาญาให้พิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรจึงเป็นการเสนอความเห็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีเจตนาร้ายหรือกลั่นแกล้งปรักปรำโจทก์จำเลยจึงไม่ มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะกรรมการสอบสวนวินัยมีอำนาจเสนอความเห็นให้ดำเนินคดีอาญาได้ หากพบมูลความผิดทางอาญาควบคู่ไปด้วย
ไม่มีข้อความตอนใดในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ห้ามคณะกรรมการสอบสวนมิให้ทำรายงานการสอบสวนว่าการกระทำของข้าราชการที่ถูกสอบสวนทางวินัยมีมูลความผิดทางอาญาด้วย และไม่มีกฎหมายใดระบุ ไว้เช่นนั้นดังนี้ ถ้าในการสอบสวนโจทก์ปรากฏว่ามีมูลความผิดทางอาญาคณะกรรมการสอบสวนก็มีอำนาจที่จะทำความเห็น ให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ สอบสวนโจทก์ทางวินัยได้ทำความเห็นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางอาญาให้พิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรจึงเป็นการเสนอความเห็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีเจตนาร้ายหรือกลั่นแกล้งปรักปรำโจทก์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อได้ข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง/คำให้การเพียงพอ และการแก้ไขต้นร่างคำสั่งไม่ทำให้คำสั่งไม่ชอบ
ถ้าศาลตรวจคำฟ้องคำให้การจากคำฟ้องและหรือคำให้การได้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้ว การสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจะเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า. ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ชั้นต้นร่างคำสั่งเพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งตรวจดูชั้นหนึ่งก่อนว่า จะเป็นร่างคำสั่งที่มีข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษตรงตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยหรือไม่หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้องผู้มีอำนาจตรวจร่างคำสั่งหรือผู้มีอำนาจออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งงดสืบพยานเมื่อได้ข้อเท็จจริงเพียงพอ และการแก้ไขร่างคำสั่งทางปกครอง
ถ้าศาลตรวจคำฟ้องคำให้การจากคำฟ้องและหรือคำให้การได้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้ว การสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจะเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง
เจ้าหน้าที่ชั้นต้นร่างคำสั่งเพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งตรวจดูชั้นหนึ่งก่อนว่า จะเป็นร่างคำสั่งที่มีข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษตรงตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยหรือไม่ หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้องผู้มีอำนาจตรวจร่างคำสั่งหรือผู้มีอำนาจออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้
เจ้าหน้าที่ชั้นต้นร่างคำสั่งเพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งตรวจดูชั้นหนึ่งก่อนว่า จะเป็นร่างคำสั่งที่มีข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษตรงตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยหรือไม่ หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้องผู้มีอำนาจตรวจร่างคำสั่งหรือผู้มีอำนาจออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการ: อำนาจหน้าที่, กระบวนการอุทธรณ์, และการฟ้องละเมิด
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 104 แล้วคำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายและการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมายและมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิดซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการแล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทยโดยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่ออ.ก.พ.กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณาและจำเลยที่ 3ในฐานะประธานอ.ก.พ.กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุมอ.ก.พ.มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอโดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่งทำให้จำเลยที่ 2 เห็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิดซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการแล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทยโดยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่ออ.ก.พ.กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณาและจำเลยที่ 3ในฐานะประธานอ.ก.พ.กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุมอ.ก.พ.มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอโดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่งทำให้จำเลยที่ 2 เห็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาหากมีการอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 104 แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเป็นเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ถูกกล่าวหาประพฤติชั่ว แม้เกี่ยวข้องงานบริษัทเอกชน นายกฯมีอำนาจสอบสวน/ปลดออกจากราชการ ศาลไม่ชี้ขาด
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือน โจทก์จะต้องปฏิบัติตนตามวินัยข้าราชการพลเรือนโดยต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่า ไม่รักษาชื่อเสียง อันขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วแล้ว แม้ขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ก็ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทางปกครองในการสอบสวนและสั่งปลดข้าราชการ และความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องละเมิด
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือน โจทก์จะต้องปฏิบัติตนตามวินัยข้าราชการพลเรือนโดยต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วเมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าไม่รักษาชื่อเสียง อันขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วแล้ว แม้ขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ก็ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนแต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนแต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา