คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: สิทธิซื้อคืน, การปฏิเสธซื้อ, และผลของการโอนที่ดินให้ผู้อื่น
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินของจำเลยมาเป็นของโจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นการที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์, เหตุสมควรไม่มาศาล, และการพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้ โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์, การยกฟ้องเนื่องจากไม่มาศาล, และการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานรัฐ: การหลอกลวงเพื่อหาผู้ฝากเงินไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหากไม่ได้ทรัพย์สิน
ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยได้ทำการหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงของจำเลยดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคาร ออมสิน แก่จำเลย กรณีดังกล่าวแม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลยการหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์นั้น ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นแม้จะฟังได้ว่าจำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโดยตรง แต่ธนาคารจ่ายเงินตามระเบียบ ไม่ใช่ผลจากการหลอกลวง และการหาผู้ฝากไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินและธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินแก่จำเลย แม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคารออมสินได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลย การหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินเท่านั้นจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคารออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวดังนั้น แม้จำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแสวงหาผู้ฝากเงินโดยแจ้งเงื่อนไขเท็จ แต่ไม่ได้ทรัพย์สิน และการกระทำไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดของพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยได้ทำการหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงของจำเลยดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคาร ออมสิน แก่จำเลย กรณีดังกล่าวแม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลยการหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์นั้น ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นแม้จะฟังได้ว่าจำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าที่ดินและตึกแถวตามสัญญาเช่า ต้องชำระ ณ ภูมิลำเนาของผู้ให้เช่า แม้มีข้อปฏิบัติเดิม
สัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวที่จำเลยทำกับ ส. มิได้ระบุเรื่องการชำระค่าเช่าไว้ว่าให้ปฏิบัติอย่างไร การชำระค่าเช่าจำเลยจึงต้องชำระยังภูมิลำเนาปัจจุบันของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 แม้ตามทางปฏิบัติ ส.จะเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าจากจำเลยก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่าง ส. กับจำเลยเท่านั้น เมื่อ ส. โอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์มีผลให้โจทก์มีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัตินี้หาได้โอนมาด้วยไม่เพราะมิใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า ดังนั้นการที่จำเลยไม่ไปชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของโจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าที่ดินและตึกแถวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 แม้มีข้อปฏิบัติเดิมก็ไม่ผูกพันผู้รับโอนสิทธิ
สัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวที่จำเลยทำกับ ส. มิได้ระบุเรื่องการชำระค่าเช่าไว้ว่าให้ปฏิบัติอย่างไร การชำระค่าเช่าจำเลยจึงต้องชำระยังภูมิลำเนาปัจจุบันของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 แม้ตามทางปฏิบัติ ส.จะเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าจากจำเลยก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่าง ส. กับจำเลยเท่านั้นเมื่อ ส. โอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์มีผลให้โจทก์มีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัตินี้หาได้โอนมาด้วยไม่เพราะมิใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า ดังนั้นการที่จำเลยไม่ไปชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของโจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีเงื่อนไขห้ามโอน โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงไม่สามารถโอนสิทธิให้จำเลยได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิห้ามโอนภายใน 10 ปีนั้น เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.หรือตาม ป. ที่ดิน ดังนั้นโจทก์ไม่อาจโอนสิทธิครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือมาตรา 1378 ให้ผู้อื่นได้ การที่โจทก์ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอน แล้วต่อมาบิดาโจทก์ได้นำไปขายและมอบการครอบครองให้แก่จำเลยครอบครองทำกินโดยจะไปโอนให้จำเลยหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วนั้น จำเลยหาอาจยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ฎีกาขึ้นมาเท่านั้น หากไม่เกี่ยวข้อง ศาลฎีกาสั่งไม่รับพยานได้
เมื่อฎีกาของจำเลยไม่มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิการเช่าในตึกพิพาทหรือไม่ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขออ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อประสงค์จะให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิการเช่าในตึกพิพาทแล้ว และกรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องสืบพยานต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 และมาตรา 88 วรรคสาม จำเลยจึงอ้างพยานเพิ่มเติมอีกไม่ได้.
of 132