พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์เทียมโดยลดจากราคาของแท้ การประเมินต้องเป็นอะไหล่รถรุ่นเดียวกัน และการอุทธรณ์การประเมินภาษี
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ซึ่งเป็นของเทียม โดยวิธีลดราคาลงจากราคาของแท้ของรถรุ่นเดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่นร้อยละสามสิบเจ็ดตามคำสั่งกองประเมินอากรที่ 14/2520 นั้น จะต้องเป็นอะไหล่ของรถรุ่นเดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่น เมื่อไม่ปรากฏว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นอะไหล่ของรถรุ่นเดียวกับอะไหล่แท้ที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินราคาสินค้า ทั้งไม่ได้ความว่าสินค้าพิพาทใช้กับรถยนต์อะไร ราคาสินค้าพิพาทที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ซึ่งตรงกับเลตเตอร์ออฟเครดิต บัญชีราคาสินค้าและหลักฐานการชำระเงิน จึงเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและมีสิทธิเรียกคืนหรือไม่ เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
การโต้แย้งการประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากร ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและมีสิทธิเรียกคืนหรือไม่ เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
การโต้แย้งการประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากร ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์เทียมต้องเทียบกับของแท้รุ่นเดียวกัน การอุทธรณ์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ซึ่งเป็นของเทียม โดยวิธีลดราคาลงจากราคาของแท้ของรถรุ่น เดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่นร้อยละสามสิบเจ็ดตามคำสั่งกองประเมินอากร ที่ 14/2520 นั้นจะต้องเป็นอะไหล่ของรถรุ่น เดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่นเมื่อไม่ปรากฏว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นอะไหล่ของรถรุ่น เดียวกับอะไหล่แท้ที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินราคาสินค้า ทั้งไม่ได้ความว่าสินค้าพิพาทใช้กับรถยนต์อะไรราคาสินค้าพิพาทที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ซึ่งตรงกับเลตเตอร์ออฟเครดิต บัญชีราคาสินค้าและหลักฐานการชำระเงิน จึงเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาด ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและมีสิทธิเรียกคืนหรือไม่ เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การโต้แย้งการประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากร ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์เทียบกับของแท้ต้องเป็นรุ่นเดียวกัน การอุทธรณ์ภาษีต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ซึ่งเป็นของเทียม โดยวิธีลดราคาลงจากราคาของแท้ของรถรุ่นเดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่นร้อยละสามสิบเจ็ด ตามคำสั่งกองประเมินอากร ที่ 14/2520 นั้น จะต้องเป็นอะไหล่ของรถรุ่นเดียวกันที่มีเมืองกำเนิดญี่ปุ่น เมื่อไม่ปรากฏว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นอะไหล่ของรถรุ่นเดียวกับอะไหล่แท้ที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินราคาสินค้า ทั้งไม่ได้ความว่าสินค้าพิพาทใช้กับรถยนต์อะไร ราคาสินค้าพิพาทที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ซึ่งตรงกับเลตเตอร์ออฟเครดิต บัญชีราคาสินค้าและหลักฐานการชำระเงิน จึงเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาด ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและมีสิทธิเรียกคืนหรือไม่ เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัยจำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การโต้แย้งการประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากร ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศประกอบกิจการในไทย มีหน้าที่เสียภาษีจากการสั่งซื้อโดยตรงจากลูกค้า
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท ท. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศกับบริษัท ต. ในประเทศไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยผ่านตัวแทน: หน้าที่เสียภาษีของบริษัทต่างประเทศและผู้ทำการติดต่อ
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆของบริษัท ท. แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบาย อากาศกับบริษัท ต. ในประเทศ ไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศ ไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศ ไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศ ไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสินค้า P.O.Y. ที่ยังไม่ใช่เส้นด้ายสำหรับทอผ้า การโต้แย้งสิทธิและการมีอำนาจฟ้อง
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียว ให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า(ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ในบัญชีที่ 2 หมวด 2(9)โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนภาษีสินค้า: เส้นใยสังเคราะห์ P.O.Y. ไม่ใช่ด้ายทอผ้า จึงไม่ต้องเสียภาษี
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียวให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4ในบัญชีที่ 2 หมวด 2(9) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้นการที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีจากการขายเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ด้ายสำหรับทอผ้า ผู้ขายมีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้ แม้ไม่ได้ยื่นคำร้องตามแบบ
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียว ให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ในบัญชีที่ 2 หมวด 2 (9) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีค่าบริการสาขา, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์ประกันชีวิต
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.