คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876-2877/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาที่ดินที่โอนคืนตามสัญญาเดิม แม้มีสัญญาซื้อขาย แต่ไม่มีรายรับจริง ถือว่าไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
บริษัท ส. จัดซื้อที่ดินตามโครงการจัดสรรที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. โดยให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ มีข้อสัญญาว่าหากโครงการระหว่างกันต้องเลิกล้มไป โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่บริษัท ส. เมื่อโครงการดังกล่าวเลิกล้มไปและโจทก์โอนที่ดินคืนให้บริษัท ส. แม้จะทำเป็นสัญญาซื้อขายกันก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินค่าขายที่ดิน โจทก์จึงมิได้มีรายรับจากราคาที่ดินและไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าจากราคาที่ดินดังกล่าว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารปล่อยเบิกเงินเกินบัญชีโดยประมาท และไม่ฟ้องลูกหนี้โดยตรง ศาลตัดสินว่าธนาคารไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาและไม่มีหลักประกัน ทั้งไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เพราะหนี้รายนี้ไม่มีหลักประกัน ในการที่โจทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียในทุก ๆ ทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่ได้รับอนุมัติและไม่มีหลักประกัน ความรับผิดของผู้จัดการสาขาและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาและไม่มีหลักประกัน ทั้งไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เพราะหนี้รายนี้ไม่มีหลักประกัน ในการที่โจทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียในทุก ๆ ทาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกหนี้แต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันถึงกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการผ่อนชำระหนี้: การเริ่มนับอายุความแต่ละงวด และผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย เป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงมีกำหนดอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกแต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันครบกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้อัตรากำไรสุทธิ และการรวมเงินค่าภาษีที่บริษัทจะจ่ายแทน
ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเยี่ยงโจทก์เสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือ ผลกำไรในประเทศไทยนั้น เงินได้หรือผลกำไรดังกล่าวหมายถึงเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริง ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ตรงกันข้ามใน มาตรา 76 ทวิ วรรคสองนั้นเองเป็นบทบัญญัติที่เป็นทางแก้สำหรับกรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามวรรคแรก โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาใช้บังคับ คือให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิ 21.87เปอร์เซ็นต์ ของนิติบุคคลมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การใช้อัตรากำไรสุทธิของผู้อื่นและเงินค่าภาษีที่ยังมิได้รับ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในส่วน 3ของหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วนที่เก็บจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศนั้น หมายความถึงจำนวนเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงในกรณีที่โจทก์ไม่นำส่งงบกำไรขาดทุนทำให้ไม่สามารถคำนวณหากำไรสุทธิได้ ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ทั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกไว้แล้ว โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)มาใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการในการติดตั้งเครื่องจักรที่บริษัท ป.น. มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการติดตั้งเครื่องจักรให้แก่บริษัท ป.ท. โดยไม่ปรากฏรายละเอียดอันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงรายรับและรายจ่ายของโจทก์อันจะมีผลถึงการคำนวณหากำไรสุทธิ จึงไม่ชอบ เงินค่าภาษีเงินได้ที่บริษัท ป.ท. รับจะออกแทนให้โจทก์นั้นเมื่อบริษัท ป.ท. ยังมิได้ออกเงินค่าภาษีให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 การที่จำเลยนำค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้โจทก์เสียภาษี จึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ การใช้อัตรากำไรสุทธิ และการรวมเงินค่าภาษีที่ยังไม่ได้รับ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในส่วน 3ของหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วนที่เก็บจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศนั้น หมายความถึงจำนวนเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงในกรณีที่โจทก์ไม่นำส่งงบกำไรขาดทุนทำให้ไม่สามารถคำนวณหากำไรสุทธิได้ ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ทั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกไว้แล้ว โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)มาใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการในการติดตั้งเครื่องจักรที่บริษัท ป.น. มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการติดตั้งเครื่องจักรให้แก่บริษัท ป.ท. โดยไม่ปรากฏรายละเอียดอันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงรายรับและรายจ่ายของโจทก์อันจะมีผลถึงการคำนวณหากำไรสุทธิ จึงไม่ชอบ
เงินค่าภาษีเงินได้ที่บริษัท ป.ท. รับจะออกแทนให้โจทก์นั้นเมื่อบริษัท ป.ท. ยังมิได้ออกเงินค่าภาษีให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 การที่จำเลยนำค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้โจทก์เสียภาษี จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: ห้ามใช้อัตรากำไรสุทธิของผู้อื่นเป็นฐานคำนวณ ต้องใช้ตามความเป็นจริงหรือประเมินตามมาตรา 71(1)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเยี่ยงโจทก์เสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยนั้นเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าวหมายถึงเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ตรงกันข้ามในมาตรา 76 ทวิ วรรคสองนั้นเอง เป็นบทบัญญัติที่เป็นทางแก้สำหรับกรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามวรรคแรก โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาใช้บังคับคือให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิ 21.87เปอร์เซ็นต์มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
of 132