คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีรวมพิจารณา: คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ผูกพันคดีที่เปิดให้อุทธรณ์ได้
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอ้างว่า รถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนได้รับความเสียหาย จำเลยก็ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์อันเนื่องมาจากการที่รถเกิดชนกันในเหตุครั้งเดียวกันนี้ด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีรวมกันแล้วฟังว่า เหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้แต่ฝ่ายเดียว พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และยกฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ แม้คดีหลังนี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหลังดังกล่าวนี้มีผลผูกพันคู่ความในคดีแรกที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หรืออีกนัยหนึ่งไม่มีบทมาตราใดให้ศาลอุทธรณ์จำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ก็มีส่วนประมาทด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: ศาลฎีกาตัดสินว่าคำพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่ผูกพันคดีที่มีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอ้างว่า รถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนได้รับความเสียหาย จำเลยก็ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์อันเนื่องมาจากการที่รถเกิดชนกันในเหตุครั้งเดียวกันนี้ด้วยศาลชั้นต้นพิจารณา คดีรวมกันแล้วฟังว่า เหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้แต่ฝ่ายเดียว พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และยกฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ แม้คดีหลังนี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหลังดังกล่าวนี้มีผลผูกพันคู่ความในคดีแรกที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หรืออีกนัยหนึ่งไม่มีบทมาตราใดให้ศาลอุทธรณ์จำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ก็มีส่วนประมาทด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้กรณีเงินได้จากการออกจากงาน ต้องพิจารณาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2)เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ (2) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามแห่ง ป. รัษฎากร.
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ(2) แห่ง ป.รัษฎากรก็ตามก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป.รัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2).
คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้(ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงอย่างเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน และการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามจึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2)
คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน และการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามจึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร โดยพิจารณาเงินได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะเงินเดือน
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้างแตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน กรณีพิพาทเรื่องภาษีอากร
คดีเดิมซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีอากรของโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารและชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยหรือไม่ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้มีประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรเพิ่มเติมจากที่โจทก์ได้รับชำระจากจำเลยและจากธนาคารผู้ค้ำประกันเพียงใดหรือไม่ ประเด็นในคดีทั้งสองแตกต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลย คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ที่บัญญัติให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้นั้น มิได้บังคับให้จำเลยต้องฟ้องแย้งมาในคำให้การเสมอไป แต่เป็นบทบัญญัติที่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควร ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การคดีก่อน หากแต่ได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน และสิทธิในการเรียกร้องค่าภาษีอากรเพิ่มเติม
คดีเดิมซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีอากรของโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารและชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยหรือไม่ ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้มีประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรเพิ่มเติมจากที่โจทก์ได้รับชำระจากจำเลยและจากธนาคารผู้ค้ำประกันเพียงใดหรือไม่ประเด็นในคดีทั้งสองแตกต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามที่บัญญัติให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้นั้น มิได้บังคับให้จำเลยต้องฟ้องแย้งมาในคำให้การเสมอไป แต่เป็นบทบัญญัติที่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควร ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การคดีก่อน หากแต่ได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การส่งหนังสือแจ้งประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตามมาตรา 30
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการส่งหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นแบบ อ.1 เพื่อขอความเห็นชอบ
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
of 132