คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาขายส่งสินค้าชนิดเดียวกัน อะไหล่เทียมกับอะไหล่แท้ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด จะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบการหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมที่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงต้องนำราคาขายส่งเงินสดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมอย่างเดียวกันที่มีผู้อื่นนำเข้ามาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาขายส่งของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแทนโดยลดราคาลงร้อยละ 20 ตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยในการประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกัน ห้ามใช้ราคาอะไหล่แท้เทียบกับอะไหล่เทียม
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด จะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบการหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมที่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงต้องนำราคาขายส่งเงินสดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมอย่างเดียวกันที่มีผู้อื่นนำเข้ามาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาขายส่งของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแทนโดยลดราคาลงร้อยละ 20 ตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยในการประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์นำเข้า ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทและชนิดเดียวกัน มิใช่สินค้าที่เป็นอะไหล่แท้
โจทก์นำเข้าบูช ยี่ห้อโอริฮาชิ ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์ที่เพียงแต่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาของบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นหลักในการคำนวณว่า ถ้า อะไหล่แท้มีราคาเท่าใดเมื่อลดให้ร้อยละ 20 ราคาที่เหลือถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบูช ที่โจทก์นำเข้า ย่อมไม่ชอบด้วยเหตุผล และยังไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี หากพิสูจน์ไม่ได้ ต้องรับผิดชำระภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้จ่ายค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเอกสารที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าแรงงาน ไม่ปรากฏสถานภาพของลูกจ้างโจทก์ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โจทก์จะถือว่าลูกจ้างที่มีรายได้จากโจทก์มีรายได้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงไม่จำต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมไม่ถูกต้องเพราะการที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ต้องดู จากรายได้ทั้งหมดของลูกจ้างแต่ละคนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำมาพิสูจน์ให้เห็นว่าลูกจ้างโจทก์มีเงินได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่มีทุนทรัพย์ไม่สูง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่า เดือนละ 400 บาท ซึ่งถือได้ว่ามีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องด้วยว่าโจทก์สามารถให้บุคคลอื่นเช่าได้ในปัจจุบันเดือนละไม่ต่ำกว่า12,000 บาท และโจทก์ได้ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องเอาค่าเสียหายตามอัตราดังกล่าว แต่จำนวนเงิน 12,000 บาท ก็ไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น และการที่โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 12,000 บาท นั้น โจทก์เรียกค่าเสียหายมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่มิได้เรียกมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นซึ่งทุนทรัพย์ที่เรียกมาไม่เกิน 50,000 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ทั้งมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่เบิกความโดยฟังคำพยานก่อนหน้า ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความน่าเชื่อถือได้
กรณีที่พยานคนใดเบิกความโดยฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าศาลไม่ควรฟังคำเบิกความเช่นว่านี้เพราะเป็นการผิดระเบียบ ก็มิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำพยานดังกล่าวโดยเด็ดขาด เมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่ และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ จึงสมควรให้พยานเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่ ยังไม่ควรงดสืบพยานเช่นนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความของพยานที่ได้ฟังคำเบิกความของพยานก่อนหน้า ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับฟัง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 มิได้บังคับโดยเด็ด ขาดมิให้ศาลรับฟังคำพยานซึ่งเบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แต่เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจ ในการรับฟังคำพยานดังกล่าวได้และหามีบทบัญญัติใดบังคับไว้เด็ด ขาดห้ามมิให้สืบพยานที่ได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่เบิกความตามคำเบิกความของพยานอื่น ศาลมีดุลพินิจ
กรณีที่พยานคนใดเบิกความโดยฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าศาลไม่ควรฟังคำเบิกความเช่นว่านี้เพราะเป็นการผิดระเบียบ ก็มิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำพยานดังกล่าวโดยเด็ดขาด เมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่ และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ จึงสมควรให้พยานเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่ ยังไม่ควรงดสืบพยานเช่นนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ต่อเติมดัดแปลงตึกแถวด้านหลังออกไปกว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร อันเป็นการสร้างเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารต่อจากอาคารด้านหลังไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้อง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 22 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารข้อ 76 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้อง คำให้การของจำเลยเท่ากับยอมรับว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมฯ มาตรา 22 แต่จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้านและมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้องเท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวตามฟ้อง มีผลเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) ซึ่งบัญญัติให้อาคารตึกแถวดังกล่าวต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร.
of 132