คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันกรรโชกทรัพย์และพยายามฆ่า: ความรับผิดของจำเลยที่ไม่ใช้ปืน แต่มีเจตนาและพฤติการณ์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันมีจดหมายขู่ผู้เสียหายให้นำเงิน 1 ล้านบาทมอบให้จำเลยกับพวก มิฉะนั้นจะฆ่าผู้เสียหายกับบุตรและภริยาผู้เสียหาย ผู้เสียหายแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจทราบ และได้วางแผนจับกุมโดยให้ผู้เสียหายขับรถไปบริเวณที่จำเลยกับพวกนัดหมายไว้เมื่อผู้เสียหายขับรถไปถึงพบจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มาติดต่อเพื่อขอรับเงิน จึงถูกเจ้าพนักงานตำรวจที่ติดตามมาจับกุมได้หลังจากนั้นเกิดการยิงต่อสู้ระหว่างพวกจำเลยกับผู้เสียหายและเจ้าพนักงานตำรวจ เช่นนี้ แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก แต่ก็เป็นเวลาต่อเนื่องและเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่จำเลยร่วมกันกระทำยังไม่ขาดตอน โดยจำเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันมาแต่ต้นในข้อที่ว่า หากผู้เสียหายไม่ยอมมอบเงินให้ก็จะฆ่าผู้เสียหายเสีย พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการกระทำความผิดฐานฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นขึ้นได้ ถือได้ว่าเป็นความผิดที่อยู่ในขอบเขตที่จำเลยกับพวกตกลงร่วมกันจะกระทำมาแต่ต้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงต้องรับโทษในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย จำเลยที่ 3 ใช้รถจักรยานยนต์ขับขี่ติดตามรถยนต์ของผู้เสียหายเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดต่อรับเงินจากการกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ถือได้ว่ารถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จึงให้ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากสินค้าที่ผ่านการชำระภาษีแล้ว โจทก์ต้องพิสูจน์การวิเคราะห์สินค้าที่ถูกต้อง
จำเลยนำสินค้าคาร์บอลสตีลราวน์บาร์ล โลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยประเภทพิกัดที่73.15ง. เข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ผ่านใบขนสินค้าและรับชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จำเลยนำสินค้าโลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยที่มีชื่ออย่างเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรอีก เจ้าหน้าที่โจทก์ได้ตรวจสอบวิเคราะห์สินค้าดังกล่าว แล้วเรียกเก็บอากรขาเข้าในประเภทพิกัด73.10 โจทก์จะเอาผลการวิเคราะห์สินค้าที่จำเลยนำเข้าในปี พ.ศ. 2518 ไปเรียกให้จำเลยชำระอากรเพิ่มเติมในพิกัดที่ 73.10 สำหรับสินค้าที่จำเลยนำเข้าเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2517 หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติม แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จ ผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จวรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ
จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติมแม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาหรือพิกัดอัตราศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จ วรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้อง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิกัดอัตราศุลกากร: ส่วนประกอบเครื่องจักรเกษตร (สปริง) จัดอยู่ในพิกัดเครื่องจักรเกษตร (84.24) มิใช่โลหะธรรมดา (73.35)
สินค้าพิกัดประเภทที่ 73.35 ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องใช้กล หรือเครื่องมือกล ตามพิกัดประเภทที่ 73.35 ข. หมายถึง เครื่องจักร เครื่องใช้กล โดยทั่วไป หากเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรและการทำสวน สำหรับเตรียมดินหรือเพาะปลูก รวมทั้งส่วนประกอบ อุปกรณ์ และอะไหล่ กฎหมายกำหนดไว้เป็นกรณีต่างหากโดยชัดแจ้งแล้ว ตามพิกัดประเภทที่ 83.24
สินค้าพิพาทเป็นส่วนประกอบของเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร แม้จะมีลักษณะเป็นสปริงตามที่ระบุไว้ในพิกัด ประเภทที่ 73.34 ข. ก็หาทำให้สินค้าพิพาทต้องจัดเข้าอยู่ในพิกัดที่ 73.35 ข. ไม่ แต่จัดเข้าพิกัดประเภทที่ 84.24 เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะแยกเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรออกต่างหากจากเครื่องจักรโดยทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการเกษตรกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิกัดอัตราศุลกากร: ส่วนประกอบเครื่องจักรเกษตรจัดอยู่ในพิกัด 84.24 แม้มีลักษณะสปริง เหตุผลเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร
สินค้าพิกัดประเภทที่ 73.35 ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องใช้กล หรือเครื่องมือกล ตามพิกัดประเภทที่ 73.35 ข. หมายถึง เครื่องจักร เครื่องใช้กล โดยทั่วไป หากเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรและการทำสวน สำหรับเตรียมดินหรือเพาะปลูก รวมทั้งส่วนประกอบ อุปกรณ์ และอะไหล่ กฎหมายกำหนดไว้เป็นกรณีต่างหากโดยชัดแจ้งแล้วตามพิกัดประเภทที่ 84.24 สินค้าพิพาทเป็นส่วนประกอบของเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร แม้จะมีลักษณะเป็นสปริงตามที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่ 73.35 ข. ก็หาทำให้สินค้าพิพาทต้องจัดเข้าอยู่ในพิกัดที่ 73.35 ข. ไม่ แต่จัดเข้าพิกัดประเภทที่ 84.24 เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะแยกเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรออกต่างหากจากเครื่องจักรโดยทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการทำเกษตรกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าเป็นชุดอุปกรณ์ครบชุดหรือไม่ และการประเมินอากรที่ถูกต้อง
สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ จึงเป็นชุดของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 6 บัญญัติว่า ของครบชุดสมบูรณ์หรือของซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นของครบชุด ที่นำเข้ามาโดยแยกออกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน แม้จะแยกนำเข้าต่างวาระกันก็ตาม ให้จัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดสมบูรณ์ได้ เมื่อเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟเป็นสินค้าประเภทพิกัดที่ 85.16 จึงต้องจัดสินค้าที่จำเลยนำเข้าเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.16 ด้วย ที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรโจทก์จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.19 ในฐานะเป็นเครื่องไฟฟ้าสำหรับต่อและตัดวงจรไฟฟ้าจึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าเป็นชุดอุปกรณ์ควบคุมการจราจรทางรถไฟ ต้องจัดอยู่ในพิกัด 85.16
สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ จึงเป็นชุดของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 6 บัญญัติว่า ของครบชุดสมบูรณ์หรือของซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นของครบชุดที่นำเข้ามาโดยแยกออกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน แม้จะแยกนำเข้าต่างวาระกันก็ตามให้จัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดสมบูรณ์ได้ เมื่อเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟเป็นสินค้าประเภทพิกัดที่ 85.16 จึงต้องจัดสินค้าที่จำเลยนำเข้าเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.16 ด้วย ที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรโจทก์จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.19ในฐานะเป็นเครื่องไฟฟ้าสำหรับต่อและตัดวงจรไฟฟ้า จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษียานยนต์: การเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก และอำนาจเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของกรมการขนส่งทางบก
บทบัญญัติมาตรา 167 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ .2522 มีความหมายว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้ และครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว ก็ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อรถตามฟ้องเสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้ในปี 2522 และครบกำหนดเมื่อสิ้นปีนั้น รถคันดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป เมื่อรถคันนั้นไม่เสียภาษี กรมการขนส่งทางบกซึ่งมีหน้าที่ในการนี้ย่อมมีอำนาจเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปจนถึงวันที่จะต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งไม่เกี่ยวกับภาษีที่ค้างชำระตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 ที่จะต้องชำระก่อนถึงวันที่ต้องชำระภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ได้
รถตามฟ้องเจ้าของเดิมเคยนำมาขออนุญาตประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ขณะนั้นกรมการขนส่งทางบกมีอำนาจเพียงพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่ง ไม่มีอำนาจในการรับจดทะเบียนรถยนต์บรรทุก การที่โจทก์ขอให้กรมการขนส่งทางบกโอนทะเบียนจากเจ้าของเดิมมาเป็นของโจทก์ และขอเปลี่ยนประเภทจากรถยนต์บรรทุกสาธารณะมาเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการจดทะเบียนใหม่ โจทก์จะเสียภาษีนับแต่งวดที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นไปดังที่มาตรา 86 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 บัญญัติไว้หาได้ไม่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนรถใหม่ โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมโอนทะเบียนจากเจ้าของเดิมมาเป็นของโจทก์ และค่าเปลี่ยนประเภทจากรถยนต์บรรทุกสาธารณะมาเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการประนอมหนี้ต่อคดีหนี้เดิม โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27,91 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 แม้โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้โจทก์ก็ถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามมาตรา 56 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้อีกไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง และให้จำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้
of 132