คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ หรือผูกมัดตามการประนอมหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27, 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ โจทก์ก็ถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามมาตรา 56 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้อีกไม่ได้ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง และให้จำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด พิจารณาจากปริมาณการซื้อ ระยะเวลา และแหล่งที่มาของสินค้า
จำเลยนำสินค้าพิพาทจากประเทศสิงคโปร์เข้ามา 2 ครั้งครั้งแรกแบบซีวีโอ700จำนวน150ชุดครั้งที่2แบบซีวีโอ500 จำนวน 204 ชุด โดยสั่งซื้อจากบริษัทช. และสำแดงราคาสินค้าพิพาทเพื่อคำนวณภาษีอากรเท่ากับที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพในระยะเวลานั้น การที่โจทก์นำราคาสินค้าชนิดเดียวกันซึ่งว.ผู้นำเข้าเพียงรายเดียวสั่งซื้อจากผู้ขายต่างรายกัน และนำเข้าในจำนวนน้อยกว่ามาก โดยนำเข้าแบบซีวีโอ 500 จำนวน 100 ชุดและแบบซีวีโอ 700 จำนวน เพียง 2 ชุด มาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของจำเลย โดยถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดแล้วเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากจำเลยทั้ง ๆ ที่ระยะเวลานำเข้าก็ต่างกันเกือบ 1 ปี และต่างปีกัน จึงไม่ถูกต้องถือได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การเปรียบเทียบราคาเพื่อประเมินภาษีต้องพิจารณาสภาพตลาดและระยะเวลาที่สมเหตุสมผล
จำเลยนำสินค้าพิพาทจากประเทศ สิงคโปร์ เข้ามา 2 ครั้ง ครั้งแรกแบบ ซีวีโอ700จำนวน150ชุดครั้งที่2แบบซีวีโอ 500 จำนวน204 ชุด โดยสั่งซื้อ จากบริษัท ช. ราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยสำแดงก็เท่ากับที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพในระยะเวลานั้น การที่โจทก์นำราคาสินค้าชนิดเดียวกันซึ่ง ว. สั่งซื้อ จากผู้ขายต่าง รายกัน และนำเข้าในจำนวนน้อยกว่ามาก โดย นำเข้าแบบซีวีโอ500จำนวน100ชุดและแบบซีวีโอ 700 จำนวนเพียง 2 ชุดเพียงรายเดียว มาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของจำเลย โดย ถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดแล้วเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลานำเข้าก็ต่างกันเกือบ 1 ปี และต่าง ปีกันจึงไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้อง: การเปรียบเทียบราคาต้องคำนึงถึงปริมาณ เวลา และแหล่งที่มาของสินค้า
จำเลยนำสินค้าพิพาทจากประเทศ สิงคโปร์เข้ามา 2 ครั้ง ครั้งแรกแบบ ซีวีโอ 700 จำนวน 150 ชุด ครั้งที่ 2 แบบ ซีวีโอ 500 จำนวน204 ชุด โดยสั่งซื้อ จากบริษัท ช. ราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยสำแดงก็เท่ากับที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพในระยะเวลานั้น การที่โจทก์นำราคาสินค้าชนิดเดียวกันซึ่ง ว. สั่งซื้อ จากผู้ขายต่าง รายกัน และนำเข้าในจำนวนน้อยกว่ามาก โดย นำเข้าแบบซีวีโอ 500 จำนวน 100 ชุด และแบบ ซีวีโอ 700 จำนวนเพียง 2 ชุดเพียงรายเดียว มาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของจำเลย โดย ถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดแล้วเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลานำเข้าก็ต่างกันเกือบ 1 ปี และต่าง ปีกันจึงไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: หลักฐานการซื้อขายดอกฝ้ายไม่น่าเชื่อถือ, การยอมรับการประเมินของตัวแทนโจทก์
โจทก์ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทอฝ้าย ปั่นฝ้าย และจำหน่ายฝ้าย โจทก์อ้างว่า ในปี พ.ศ. 2509-2520 โจทก์ซื้อดอกฝ้ายจากพ่อค้า ชาวไร่ และสหกรณ์ในหลายจังหวัดเป็นเงิน 48 ล้านบาทเศษและ 43 ล้านบาทเศษตามลำดับ โดยซื้อในราคาใกล้เคียงกับราคาที่ปรากฏในวารสารฝ้ายและสิ่งทอ แต่ใบเสร็จรับเงินที่โจทก์นำมาแสดงเป็นแบบพิมพ์ที่โจทก์จัดทำขึ้นเอง โจทก์จึงมีโอกาสที่จะกรอกแบบพิมพ์เหล่านี้ให้ผิดไปจากความเป็นจริงได้โดยง่าย เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบเกี่ยวกับราคาดอกฝ้ายไม่มีน้ำหนัก ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อดอกฝ้ายตามราคาที่อ้าง การที่จำเลยสุ่มตัวอย่างราคาดอกฝ้ายตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละเดือนแล้วนำราคามาถัวเฉลี่ยเป็นราคาดอกฝ้ายนั้น ถือเป็นวิธีการที่มีเหตุผล เมื่อปรากฏว่าราคาถัวเฉลี่ยของดอกฝ้ายดังกล่าวมีราคาต่ำกว่าราคาดอกฝ้ายที่โจทก์อ้างข้างต้น จึงถือตามราคาถัวเฉลี่ยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี การประเมินภาษีตามค่าเช่า และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมในนามของกรมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ดังกล่าว ทังกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระหนี้จากโจทก์แล้ว หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีสูงเกินไปจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องคือนเงินส่วนที่เกินนั้นให้โจทก์ เม่ือโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีจากโจทก์สูงเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่โจทก์เสียเกินไปนั้นได้
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และค่ารายปีให้หมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพยยย์สินนั้นๆสมควรจะให้ค่าเช่าได้ในปีหนึ่งเท่าใด ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควร พนักงานเจ้าหนัาที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายยปีเสียใหม่ได้ ปรากฏว่าโจทก์เช่าที่ดินและโรงเรือนพิพาทจากกระทรวงการคลังโดยเสียค่าเช่าปีละ237,400 บาท ในเบื้อนต้นต้องถือว่า ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่ารายปีสำหรับคิดภาษี จำเลยที่ 1 จะมีอำนาจแก้ไขหรือกำหนดค่ารายปีใหม่ได้ต่อเมื่อมีเหตุชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าดังกล่าวไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรเท่านั้น และต้องมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นด้วย แต่หากค่าเช่านั้นไม่น้อยจนเกินสมควร หรือไม่มีเหต่ทีน่าจะเห็นได้ว่าโจทก์กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นคู่สัญยาสมยอมกันแล้ว จำเลยที่ 1ก็ต้องประเมินค่ารายปีเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่กระทรวงการคลัง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้ชำระภาษีแทนผู้อื่นมีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีที่สูงเกินไปได้ โดยอ้างอิงค่าเช่าที่เป็นหลัก
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนและในนามกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ดังกล่าวทั้งกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระหนี้จากโจทก์แล้วหากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีสูงเกินไป จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1เรียกเก็บภาษีจากโจทก์สูงเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่โจทก์เสียเกินไปนั้นได้พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และค่ารายปีให้หมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้ค่าเช่าได้ในปีหนึ่งเท่าใด ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้ ปรากฏว่าโจทก์เช่าที่ดินและโรงเรือนพิพาทจากกระทรวงการคลังโดยเสียค่าเช่าปีละ 237,400 บาท ในเบื้องต้นต้องถือว่า ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่ารายปีสำหรับคิดภาษีจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจแก้ไข หรือกำหนดค่ารายปีใหม่ได้ต่อเมื่อมีเหตุชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าดังกล่าวไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรเท่านั้นและต้องมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นด้วย แต่หากค่าเช่านั้นไม่น้อยจนเกินสมควร หรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าโจทก์กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นคู่สัญญาสมยอมกันแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องประเมินค่ารายปีเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่กระทรวงการคลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับคดีแพ่งถึงที่สุด แม้มีคดีอาญาเชื่อมโยง ผลคำพิพากษาอาญาไม่อาจลบล้างคำพิพากษาแพ่งได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ และดำเนินการเพื่อจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดแล้วนั้น เป็นกรณีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยชอบ ซึ่งเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่จะบังคับเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นกรณีคนละเรื่องกัน ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาไม่อาจลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งได้ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแพ่งถึงที่สุด ผลของคำพิพากษาคดีอาญาไม่อาจลบล้างได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ และดำเนินการเพื่อจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นกรณีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยชอบ ซึ่งเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่จะบังคับเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นกรณีคนละเรื่องกันผลของคำพิพากษาในคดีอาญาไม่อาจลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับคดีแพ่งแยกจากคดีอาญา: คำพิพากษาอาญาไม่อาจลบล้างผลบังคับคดีแพ่งได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ และดำเนินการเพื่อจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นกรณีปฏิบัติไปตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องการบังคับคดีตาม คำพิพากษาโดยชอบ ซึ่ง เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่จะบังคับเกี่ยวกับตัว โจทก์ เป็นกรณีคนละเรื่องกันผลของคำพิพากษาในคดีอาญา ไม่อาจลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง.
of 132