พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การชำระเงินค่างวดและการเริ่มก่อสร้าง ไม่ถือเป็นผิดสัญญาหากเริ่มก่อสร้างก่อนครบกำหนดชำระเงิน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เมื่อวันที่28 พฤษภาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526 และโจทก์ผู้จะซื้อตกลงชำระเงินมัดจำให้ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 210,000 บาท และจะชำระในช่วงระยะเวลาก่อสร้างอีก 2,160,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวดจำนวน 24 งวด ภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2527 ปรากฏว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำแล้วแต่ไม่ได้ชำระเงินค่างวด เช่นนี้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องดำเนินการก่อสร้างตามงวดการชำระเงิน จึงเป็นเพียงการกะประมาณเอาหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโดยแท้จริง คือสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายในเดือน ธันวาคม 2526 ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างบริษัท ผ. ตอกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2525 และก่อนหน้านั้นต้องเจาะสำรวจดินเพื่อหาข้อมูลในการปักเสาเข็มก่อน ผู้รับจ้างเจาะสำรวจดินทำงานล่าช้าไปประมาณเดือนครึ่งซึ่งเป็นปกติวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคำนวณดูแล้วอย่างน้อยจำเลยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2525 ดังนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ และหน้าที่ชำระภาษีของผู้กู้
บริษัท พ. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกามีสัญญากับโจทก์ว่าเป็นผู้จัดหาคณะบุคคลให้แก่โจทก์ในการดำเนินงานของบริษัทโจทก์ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริหารของบริษัทโจทก์บุคคลที่บริษัท พ. จัดหามาเพื่อทำงานให้แก่โจทก์นั้นจึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ ไม่ถือว่าบริษัท พ. มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งถือไม่ได้ว่าบริษัท พ.ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเป็นค่าจัดการและดอกเบี้ยของเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท พ. เมื่อโจทก์ไม่ได้หักไว้เพราะมีข้อสัญญาให้โจทก์ชำระแทน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนนั้นต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 โจทก์ทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน 5 แห่ง ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับธนาคารแห่งอเมริกาตามข้อสัญญาระบุให้ธนาคารแห่งอเมริกาเป็นตัวแทนจัดการเงินกู้และรับดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาโดยตรง ธนาคารแห่งอเมริกามีสาขาในประเทศไทยแต่ไม่ปรากฏว่า สาขาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง การชำระดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินเหล่านั้นโจทก์ส่งไปให้แก่ธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คโดยตรงธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คจึงเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งเพื่อการนี้ และแม้ธนาคารแห่งอเมริกาจะมีสาขาในประเทศไทย ก็ถือไม่ได้ว่าสาขาในประเทศไทยนั้นเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าวด้วย เมื่อสถาบันการเงินทั้ง5 แห่งนั้นไม่มีสาขาหรือลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลณ ที่จ่าย สำหรับเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าว แต่เมื่อตามข้อสัญญาในหนังสือสัญญากู้ระบุให้โจทก์ในฐานะผู้กู้ต้องเป็นฝ่ายชำระค่าภาษีทั้งปวงแทน โจทก์ไม่อาจหักเงินภาษีออกจากเงินค่าดอกเบี้ยได้ โจทก์จึงชอบที่จะออกเงินค่าภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ประเมินภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่หากยินยอมแล้วจะมาอ้างภายหลังไม่ได้
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่ามีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ก็ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้คำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ผูกพันเมื่อโจทก์ยินยอมแล้ว
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่า มีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงได้สั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า สมควรจะสืบพยานหรือไม่ มิใช่เป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึง 6 วันแต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลใช้ดุลพินิจงดสืบพยานได้ หากไม่โต้แย้งทันเวลา อุทธรณ์ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า สมควรจะสืบพยานหรือไม่มิใช่เป็นเรื่งอการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎมหายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึง 6 วัน แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์โดยเจ้าของเดิมหลังโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ถือเป็นการยักยอก
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านจากผู้มีชื่อโดยให้จำเลยลงชื่อรับโอนที่ดินและบ้านแทนโจทก์ แต่จำเลยมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จำเลยจะโอนที่ดินและบ้านของโจทก์ให้ผู้อื่นไป การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินเพื่อความผิดฐานยักยอก จำเลยต้องเข้าครอบครองทรัพย์สินก่อนจึงจะมีความผิด
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านจากผู้มีชื่อโดยให้จำเลยลงชื่อรับโอนที่ดินและบ้านแทนโจทก์ แต่จำเลยมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จำเลยจะโอนที่ดินและบ้านของโจทก์ให้ผู้อื่นไป การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันและเป็นเหตุให้ฟ้องซ้ำไม่ได้
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินแปลงพิพาท โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยยอมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินแปลงพิพาท ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้งแปลงเป็นของจำเลย การที่โจทก์มายื่นฟ้องว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทบางส่วนมาก่อน จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์แล้วหาได้ไม่ เพราะมีประเด็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงพิพาทอีก ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน ห้ามฟ้องรื้อฟื้นประเด็นกรรมสิทธิ์เดิม
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินแปลงพิพาท โจทก์ทำสัญญาประนอมยอมความกับจำเลยยอมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินแปลงพิพาท ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้งแปลงเป็นของจำเลย การที่โจทก์มายื่นฟ้องว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทบางส่วนมาก่อนจำเลยฟ้องขับไล่ โจทก์แล้วหาได้ไม่ เพราะมีประเด็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงพิพาทอีก ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148