คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินที่ไม่เข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากไว้ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง เนื้อที่เพียง 1 ไร่ 74 ตารางวามีบ้านที่ผู้อื่นปลูกอยู่ก่อนแล้วหลายหลัง ตั้งอยู่ใกล้สุเหร่าซึ่งมิใช่ทำเลการค้า และโจทก์มิใช่บุคคลผู้มีอาชีพค้าขายที่ดิน พฤติการณ์ที่โจทก์รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ก็น่าเชื่อว่าประสงค์จะได้ดอกเบี้ยเท่านั้นและโจทก์ขายที่ดินแปลงนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาแล้วถึง 6 - 7 ปี โดยมิได้ทำการปรับปรุงที่ดิน อีกทั้งเป็นการขายให้แก่ญาติของผู้ขายฝากที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนั้นในราคาเท่าที่ซื้อฝากไว้เพราะความสงสารที่เป็นคนยากจน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ส่วนลดประกันภัยต่อเป็นรายได้, เงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ในปีถัดไป, รายได้จากการค้าเป็นรายรับ
เมื่อได้รับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์นำเบี้ยประกันภัยไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต้องชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้รับส่วนลดหรือค่านายหน้าจากบริษัทที่รับประกันภัยต่อ และได้นำส่วนลดดังกล่าวมาบันทึกเป็นรายได้ในกิจการของโจทก์เงินส่วนลดในการประกันภัยต่อที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้หรือรายรับที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยแม้เงินจำนวนดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นคนละนิติบุคคล
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบภาษีจากเอกสารของนิติบุคคลอื่นเป็นไปตามกฎหมาย หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า หากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน โดยไม่จำกัดว่าเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวจะเกิดจากเอกสารของผู้ยื่นรายการนั้นเองหรือของผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: เริ่มนับแต่วันพิพากษา แม้จำเลยวางเงินก่อนรับคำพิพากษา
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย โอน บ้าน พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ไม่สามารถ โอน ได้ ก็ ให้ ชดใช้ มูลค่า บ้าน และ ที่ดิน พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ศาลชั้นต้น ฟัง ว่า จำเลย ไม่สามารถ โอน บ้าน พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ได้ จึง พิพากษา ตาม คำขอ ของ โจทก์ ให้ จำเลย ชดใช้ มูลค่า บ้าน พร้อม ที่ดิน เป็น เงิน 300,000 บาท ดังนี้ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ เป็น เงิน จึง เกิดขึ้น เมื่อ ศาล พิพากษา และ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน พิพากษา เป็นต้น ไป จำเลย ได้ นำ เงิน มา วางศาล เพื่อ ให้ โจทก์ รับ ไป ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา แต่ ตาม คำแถลง ขอ วางเงิน ของ จำเลย มี ใจความ ว่า จำเลย นำ เงิน จำนวน 300,000 บาท มา วางศาล เพื่อ ให้ โจทก์ รับ ไป ทั้งนี้ เพื่อ ให้ กรณี พิพาท ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย สิ้นสุด ลง โดย ไม่เป็น การ ยุ่งยาก เสีย เวลา ของ ศาล ดังนี้ เป็น การ ที่ จำเลย วางเงิน ต่อ ศาล โดย ไม่ยอม รับผิด ย่อม ไม่เป็นเหตุ ให้ ระงับ การ เสีย ดอกเบี้ย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136 วรรคสอง จำเลย หมด ภาระ เสีย ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เมื่อ โจทก์ รับ เงิน ที่ วาง ไป จาก ศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการชำระหนี้หลังศาลพิพากษา แม้จำเลยวางเงินก่อน แต่ไม่ยอมรับผิด จึงยังต้องเสียดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์ถ้าจำเลยไม่สามารถโอนได้ก็ให้ชดใช้มูลค่าบ้านและที่ดินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยไม่สามารถโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์ได้ จึงพิพากษาตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยชดใช้มูลค่าบ้านพร้อมที่ดินเป็นเงิน 300,000 บาท ดังนี้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินจึงเกิดขึ้นเมื่อศาลพิพากษา และมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไป จำเลยได้นำเงินมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไปก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแต่ตามคำแถลงขอวางเงินของจำเลยมีใจความว่า จำเลยนำเงินจำนวน 300,000 บาท มาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป ทั้งนี้ เพื่อให้กรณีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นการยุ่งยากเสียเวลาของศาลดังนี้เป็นการที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิดย่อมไม่เป็นเหตุให้ระงับการเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 136 วรรคสองจำเลยหมดภาระเสียดอกเบี้ยให้โจทก์เมื่อโจทก์รับเงินที่วางไปจากศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าทนาย: สิทธิของทั้งสองฝ่ายในการกำหนดอัตราค่าจ้าง และการชำระตามตกลง
จำเลยทั้งสองแต่งตั้งให้โจทก์เป็นทนายความฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากธนาคารโดยตกลงกันว่าเมื่อคดีเสร็จแล้วจำเลยทั้งสองจะชำระค่าทนายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินโดยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่ดินแต่ละแปลง จึงเป็นการให้สิทธิแก่ทั้งสองฝ่ายที่จะกำหนดจำนวนเงินค่าจ้างว่าความและเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระให้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่ดินแต่ละแปลงข้อตกลงดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยทั้งสองในอัตราประมาณไม่เกินร้อยละ 20 แต่ประการใด เมื่อคดีเสร็จและจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าจ้างว่าความในอัตราดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างว่าความให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 20 ของราคาที่ดินโดยจำเลยไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าทนายความ: สิทธิของคู่สัญญาในการกำหนดอัตราค่าจ้าง และการชำระตามตกลง
จำเลยทั้งสองแต่งตั้งให้โจทก์เป็นทนายความฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากธนาคารโดยตกลงกันว่าเมื่อคดีเสร็จแล้วจำเลยทั้งสองจะชำระค่าทนายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินโดยประมาณไม่เกินร้อยละ 20ของราคาที่ดินแต่ละแปลง จึงเป็นการให้สิทธิแก่ทั้งสองฝ่ายที่จะกำหนดจำนวนเงินค่าจ้างว่าความและเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระให้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่ดินแต่ละแปลง ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยทั้งสองในอัตราประมาณไม่เกินร้อยละ 20 แต่ประการใด เมื่อคดีเสร็จและจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าจ้างว่าความในอัตราดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างว่าความให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 20 ของราคาที่ดินโดยจำเลยไม่ตกลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีทองคำ: การซื้อขายจริง, ราคาสินค้าคงเหลือ, และหลักเกณฑ์การคำนวณราคา
กรรมการผู้จัดการของโจทก์เป็นพยานสำคัญในการเปิดคดีแต่โจทก์กลับนำพยานอื่นสืบก่อนโดยไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นอย่างไรศาลนัดสืบพยานครั้งหลังห่างจากครั้งก่อนถึง 2 เดือนเศษ โจทก์ย่อมจะกะเวลาให้มีวันว่างตรงกันได้แต่กลับไปต่างประเทศโดยมิได้แถลงให้เห็นว่าเนื่องด้วยกิจธุระสำคัญและจำเป็นอย่างไร และจะเบิกความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแก่คดีอย่างไรพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ประวิงคดี ศาลชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์ปากดังกล่าวเสียได้ เอกสารรายงานการนำเข้า การซื้อ การจำหน่ายและใบเสร็จรับเงินที่บริษัท ท.ทำรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการที่รัฐบาลจะได้ควบคุมการนำเข้าและการจำหน่ายทองคำภายในประเทศ ปรากฏว่ามีการจำหน่ายทองคำให้แก่โจทก์ในวันที่2 ธันวาคม 2521 วันที่ 20,24 และ 26 มกราคม 2522 โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์หักล้างให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นได้ทั้งโจทก์มิได้มีการลงบัญชีเกี่ยวกับทองคำที่ซื้อมาจากบริษัท ท.ทั้ง 4 รายการนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ซื้อและขายทองคำจำนวนดังกล่าวไปในวันเดียวกันดังที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน ราคาทองคำมีการขึ้นลงอยู่เสมอ เจ้าพนักงานประเมินตีราคาสินค้าคงเหลือปลายปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2522 ราคาทองคำกรัมละ 129,6334 บาท และ 174.8144 บาท ตามลำดับ อันเป็นการเฉลี่ยหาราคาทุนของทองคำที่โจทก์ซื้อมาทั้งปี จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาอันแท้จริงต้องเทียบเคียงสินค้าคุณภาพเดียวกัน การประเมินราคาที่ไม่ตรงกับคุณภาพสินค้าถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบเคียงราคาสินค้าคุณภาพเดียวกัน การใช้ราคาสินค้าคุณภาพสูงกว่าเป็นฐานประเมินไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ
of 132