คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒิ ยุววิทยาพาณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนยังไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.350
โจทก์มีข้อตกลงอยู่กับจำเลยที่ 1ในลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระหนี้ 40,000 บาท ที่เหลือแก่จำเลยที่ 1สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนตึกและที่ดินพิพาทตามข้อตกลงยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องในชั้นชี้สองสถาน และดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นข้อนี้ไว้จำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้ว เท่ากับไม่ได้มีการว่ากล่าวประเด็นนี้ใน ศาลชั้นต้น แม้จำเลยอาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้โดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นเมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยจะได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วย ก็ไม่มีเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อีก ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวของจำเลยจึงหาเป็นการไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 134 ซึ่งห้ามมิให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายเคลือบคลุมไม่บริบูรณ์แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นข้อกฎหมายในชั้นศาล และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นข้อนี้ไว้จำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้วเท่ากับไม่ได้มีการว่ากล่าวประเด็นนี้ใน ศาลชั้นต้น แม้จำเลยอาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้โดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นเมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยแล้วแม้จำเลยจะได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วย ก็ไม่มีเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อีกฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวของจำเลยจึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 134 ซึ่งห้ามมิให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายเคลือบคลุมไม่บริบูรณ์แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศ คปช. 337 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่วๆไปอีกไม่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทยและการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และในข้อ 3ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่วๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฯ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่ว ๆ ไปอีกไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายกับข้อตกลงพิเศษ ไม่ถือเป็นนายหน้าหรือตัวแทน
โจทก์ซื้อกระจกจากบริษัท ก. แล้วขายต่อไปให้บริษัท ม. อีกต่อหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ทำการชี้ช่องหรือจัดการให้บริษัท ก.ได้เข้าทำสัญญากับผู้ใด หรือโจทก์ได้ขายกระจกแทนบริษัท ก.และหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ กับบริษัท ก. ก็ระบุไว้ด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์ในทางตัวการตัวแทนแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โจทก์จึงมิได้เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของบริษัท ก.
การที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ก. มีส่วนกำหนดตัวผู้ซื้อกระจกต่อจากโจทก์กับมีส่วนในการกำหนดราคาที่โจทก์จะขายต่อไปและโจทก์จะสั่งซื้อกระจกต่อเมื่อมีผู้สั่งกระจกจากโจทก์ตลอดจนบริษัท ก. ส่งกระจกที่โจทก์สั่งซื้อตรงไปยังลูกค้าของโจทก์ หาเป็นสาระสำคัญทำให้โจทก์สิ้นสภาพจากการเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย กลายเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายกับข้อตกลงพิเศษ ไม่ถือเป็นนายหน้า/ตัวแทน
โจทก์ซื้อกระจกจากบริษัท ก. แล้วขายต่อไปให้บริษัทม. อีกต่อหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ทำการชี้ช่องหรือจัดการให้บริษัท ก. ได้เข้าทำสัญญากับผู้ใด หรือโจทก์ได้ขายกระจกแทนบริษัท ก.และหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ กับบริษัท ก. ก็ระบุไว้ด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์ในทางตัวการตัวแทนแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โจทก์จึงมิได้เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของบริษัท ก. การที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ก. มีส่วนกำหนดตัวผู้ซื้อกระจกต่อจากโจทก์กับมีส่วนในการกำหนดราคาที่โจทก์จะขายต่อไป และโจทก์จะสั่งซื้อกระจกต่อเมื่อมีผู้สั่งกระจกจากโจทก์ ตลอดจนบริษัท ก. ส่งกระจกที่โจทก์สั่งซื้อตรงไปยังลูกค้าของโจทก์ หาเป็นสาระสำคัญทำให้โจทก์สิ้นสภาพจากการเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย กลายเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบังคับคดี: ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาหักกลบลบหนี้และวิธีการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งหากเป็นฝ่ายชนะคดีก็จะไม่ต้องมีการบังคับคดี เพราะสามารถหักกลบลบหนี้กันได้ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้ว มีคำสั่งว่า การขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 มีเหตุผลในการที่จะได้หักกลบลบหนี้ แม้ไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้ความเสียหายของโจทก์ไม่น่าจะมี เพราะฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนราชการ จึงให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เช่นนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน อันเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ หาใช่การสั่งให้งดการบังคับคดีตามมาตรา 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ เพราะกรณีที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีตามบทมาตราดังกล่าวได้ ต้องปรากฏว่าได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา อันจะต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยโดยวิธีอื่นแต่กรณีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ออกหมายบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นข้างต้น เป็นการสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม มาตรา 292(2) และแม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่ได้ยื่นคำร้องเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งงดการบังคับคดีนั้นเสีย ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจสั่งใหม่ได้ตามที่เห็นสมควร และคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งใหม่นั้นได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีและการเสนอเงื่อนไขใหม่ ศาลมีอำนาจดุลพินิจในการสั่งเปลี่ยนแปลงได้
ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งหากเป็นฝ่ายชนะคดีก็จะไม่ต้องมีการบังคับคดี เพราะสามารถหักกลบลบหนี้กันได้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้ว มีคำสั่งว่า การขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 มีเหตุผลในการที่จะได้หักกลบลบหนี้ แม้ไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้ความเสียหายของโจทก์ไม่น่าจะมี เพราะฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนราชการจึงให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เช่นนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนอันเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ หาใช่การสั่งให้งดการบังคับคดีตามมาตรา 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่เพราะกรณีที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีตามบทมาตราดังกล่าวได้ต้องปรากฏว่าได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาอันจะต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยโดยวิธีอื่นแต่กรณีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ออกหมายบังคับคดีคำสั่งของศาลชั้นต้นข้างต้น เป็นการสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม มาตรา 292 (2) และแม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแต่ได้ยื่นคำร้องเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งงดการบังคับคดีนั้นเสีย ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจสั่งใหม่ได้ตามที่เห็นสมควร และคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งใหม่นั้นได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานโจทก์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขมาตรา 88 วรรคท้าย และมีเหตุสมควร หากไม่ปฏิบัติต้องห้ามรับฟัง
หลังจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จ จำเลยยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นโดยอ้างเหตุอันสมควรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88วรรคท้าย โจทก์คัดค้านว่าเป็นการเอาเปรียบโจทก์ ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตและสืบพยานดังกล่าวมาแล้วก็ย่อมต้องห้ามไม่ให้รับฟัง
of 13