คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: กำหนดเวลาบอกล้าง & การคิดดอกเบี้ย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 โมฆียะกรรมในนิติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องในความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ การแสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดถูกฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ รวมถึงบุคคลวิกลจริต และบัญญัติให้มีสิทธิบอกล้างได้ และตามมาตรา 177 ยังบัญญัติว่าอาจให้สัตยาบันเพื่อให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรกได้ จึงชี้ชัดว่าโมฆียะกรรมไม่ใช่บทบังคับให้นิติกรรมเสียไปเลยเป็นโมฆะกรรม แต่ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาที่แสดงเจตนาทราบเหตุแห่งโมฆียะกรรมแล้วยังคงประสงค์ที่จะให้นิติกรรมดังกล่าวนั้นมีผลบังคับหรือไม่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ใช่บทบัญญัติเคร่งครัดและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจึงสามารถตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ได้ กรณีที่สมาชิกผู้เอาประกันไม่เปิดเผยความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ บริษัทจะบอกล้างสัญญาภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา ทั้งตามเอกสารหมาย ล.6 ส่วนที่ 3 ข้อกำหนดทั่วไปข้อที่ 2 ระบุว่าบริษัทจะไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับมาเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ สัญญาจึงมีผลผูกพันผู้ตายกับจำเลย จำเลยไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกล้างเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8907/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นในคดีครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงข้ออ้างนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งมีชื่อ ว.เป็นเจ้าของโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 23 ปี ว. กับโจทก์สมคบกันฉ้อฉลจำเลยด้วยการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนทำให้จำเลยซึ่งมีสิทธิที่จะบังคับให้ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทได้ก่อนโจทก์ต้องเสียเปรียบ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ เป็นการกำหนดตามคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิมนับแต่ปี 2516 จำเลยแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ด้วยการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทต่อธนาคารตลอดจนนำบ้านพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าและรับค่าเช่าเรื่อยมา แตกต่างไปจากที่ได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงอยู่นอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีเหตุละเมิดเดียวกัน และการเฉลี่ยความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 87-3546 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้เอาประกันภัยไว้ จำเลยที่ 4 ให้การว่ามิได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 แต่รับประกันภัยไว้จากบุคคลอื่น ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 4 เป็นการยอมรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องจริง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกขุดตักดินไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้หลังคาของรถขุดตักดินเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ขึงอยู่กับเสาไฟฟ้าของโจทก์ และดึงรั้งเอาเสาไฟฟ้าของโจทก์หักล้มได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 4 รับประกันค้ำจุนรถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว เมื่อคดีนี้และคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดเป็นเหตุละเมิดครั้งเดียวกันและตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดไม่เกิน 250,000 บาทต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง การที่คำพิพากษา 2 สำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 4 มีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นโจทก์มียอดเงินค่าเสียหาย 51,247 บาท รวมกับยอดเงินค่าเสียหายคดีนี้260,017.24 บาท แล้วเป็นเงิน 311,264.24 บาท เกินวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทั้งสองคดีในวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยเฉลี่ยตามส่วนความเสียหายแต่ละคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัญญาจะซื้อขายโมฆียะ การให้สัตยาบัน และอำนาจผู้อนุบาล
แม้ขณะที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลง ในขณะที่ ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ ส.ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574 (1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ ส.ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส.พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ ส.ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส.ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของ ส. ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อ ส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของ ส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อ ส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของ ส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของ ส.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัตยาบันสัญญาโมฆียะ และการอนุญาตศาล
แม้ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตามแต่ในช่วงระยะเวลาที่ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นเป็นเวลาภายหลังที่ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ทั้งจ.ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขายแทนส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของจ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่ สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถ: การให้สัตยาบันสัญญา และเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกอนุบาล
แม้ส. ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ส. จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อ ตามสัญญาจะซื้อขายปรากฏว่า ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อขายที่ส. ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตามแต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทนส. ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทนส. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส. ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วเห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของส.ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่า มีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของส. ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันโมฆียะกรรมโดยปริยาย แม้ต่อมาจะบอกล้าง แต่มีผลสมบูรณ์เมื่อได้กระทำการแสดงเจตนาไปแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินและผลของการยอมรับหนี้ แม้สัญญาไม่มีการปิดอากรแสตมป์
จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องกับผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งอ้างเอกสารสัญญากู้เป็นพยาน ฉะนั้นแม้สัญญากู้ซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีเดิม
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทกับ ล. ครบกำหนดไม่ไถ่ จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ล. ล. ขายที่พิพาทให้โจทก์ ครบอายุสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ออกขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การเพียงว่า ไม่เคยขายฝากที่ดินแก่ใคร ไม่ได้ทำสัญญาเช่า และไม่ได้ลงชื่อไว้ ไม่ได้ต่อสู้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกการเช่าก่อน ก็ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อนี้มา ก็เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2