พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังการซื้อขาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
แม้สำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารแต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคสอง
เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกันผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลยแม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก
พยานจำเลยที่จำเลยขอสืบเป็นพยานบอกเล่าและศาลให้โอกาสแก่จำเลยพอสมควรแล้ว จำเลยก็แถลงรับว่าหากไม่ได้สืบพยานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ ทั้งโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี จึงมีเหตุสมควรจะงดสืบพยานจำเลยต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง
แม้สำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารแต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคสอง
เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกันผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลยแม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก
พยานจำเลยที่จำเลยขอสืบเป็นพยานบอกเล่าและศาลให้โอกาสแก่จำเลยพอสมควรแล้ว จำเลยก็แถลงรับว่าหากไม่ได้สืบพยานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ ทั้งโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี จึงมีเหตุสมควรจะงดสืบพยานจำเลยต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากผู้รับโอนสิทธิหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการงดสืบพยานเนื่องจากจำเลยประวิงคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้สำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารแต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกันผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลยแม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก พยานจำเลยที่จำเลยขอสืบเป็นพยานบอกเล่าและศาลให้โอกาสแก่จำเลยพอสมควรแล้ว จำเลยก็แถลงรับว่าหากไม่ได้สืบพยานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ ทั้งโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี จึงมีเหตุสมควรจะงดสืบพยานจำเลยต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แม้สำเนาโฉนดเป็นสำเนาเอกสาร แต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกัน ผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลย แม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพนิติบุคคลของจำเลยและการฟ้องคดี: จำเลยไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจถูกฟ้อง
สมาคมจำเลยมิได้ขออนุญาตเป็นสมาคมการค้าภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้าฯ มาตรา 54 จึงไม่มีชื่อจำเลยเป็นสมาคมในทะเบียน ส่วนสมาคมพ่อค้ายา กรุงเทพซึ่งอยู่ในตึกแถวพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมการค้าขึ้นใหม่แม้ชื่อจะมีความหมายอย่างเดียวกับชื่อของจำเลย แต่ก็เป็นชื่อเฉพาะเสียงเรียกต่างกัน จึงเป็นบุคคลต่างกัน เมื่อจำเลยไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลในขณะถูกฟ้อง จำเลยก็ไม่อาจถูกฟ้องและไม่มีตัวตนที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการทำสัญญาหย่าและยกทรัพย์สินให้บุตรมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการอ้างเหตุอื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อตกลงเดิม การโอนสิทธิทำให้ผู้รับโอนต้องผูกพันตามข้อจำกัดนั้น
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดสิทธิในที่ดิน: การวางสายไฟฟ้าและการโอนสิทธิพร้อมค่าทดแทน
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยแล้วปลูกตึกแถวจำนวน 2 แถว โดยขอให้จำเลยเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าไปยังที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลัง เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในตึกแถวด้านหลังมีไฟฟ้าใช้การที่เจ้าของเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้แก่ผู้อื่นไปโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อจำกัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้และข้อจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ก็ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์เหนือที่ดินของเจ้าของที่ดินเดิม และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการวางสายไฟฟ้า
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ (โรงพยาบาล) ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ที่ดินมีโฉนดซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ทำหนังสือขออุทิศหรือยกให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล โดยได้มีการส่งมอบการครอบครองเป็นสัดส่วนให้แก่ทางราชการ และทางราชการได้ดำเนินการในอันที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเพื่อเป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลแล้ว เช่นนี้ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการตั้งแต่วันทำหนังสืออุทิศให้โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อส่งมอบและเริ่มใช้ประโยชน์
ที่ดินมีโฉนดซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ทำหนังสือขออุทิศหรือยกให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล โดยได้มีการส่งมอบการครอบครองเป็นสัดส่วนให้แก่ทางราชการ และทางราชการได้ดำเนินการในอันที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเพื่อเป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลแล้ว เช่นนี้ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการตั้งแต่วันทำหนังสืออุทิศให้โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย