พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองรถยนต์โดยไม่สุจริตของผู้ซื้อรายแรก ทำให้สิทธิในรถยนต์ของผู้ซื้อรายหลังมีน้ำหนักกว่า
โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยได้ขายรถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดแต่กลับรับรถยนต์นั้นไว้ก่อน กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้การครอบครองรถยนต์ไว้โดยสุจริต การที่โจทก์นิ่งเสียไม่แจ้งเรื่องที่โจทก์ได้ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยให้ผู้ร้องสอดทราบในขณะที่ผู้ร้องสอดและจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกันยังไม่เสร็จ ย่อมทำให้ผู้ร้องสอดหลงผิดเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่ารถยนต์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้ผู้ร้องสอดอีก เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ หากนำไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ถือเป็นละเมิดทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษา และโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ การจ่ายเงินโดยไม่มีอำนาจทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษาและโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้ จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: ศาลปรับบทลงโทษจากความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไป
คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยบังคับขู่เข็ญพาผู้เสียหายไปและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้จึงไม่มีเหตุผล ปัญหานี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยตรง เพราะข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก1 ปี อันต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเสียแล้วจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย การที่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจะโดยลักษณะที่ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม ป.อ. บัญญัติเป็นความผิดทั้งสิ้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกันเท่านั้น กล่าวคือเมื่อผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318วรรคท้าย ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย และการหักบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลงกันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่า เมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดยที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้เปรียบ - การหักบัญชีเงินฝาก
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึง กำหนดชำระหมดแล้วการหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดย ที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 2224 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการหักบัญชีชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เกินควร - การชำระหนี้เป็นโมฆะ
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่ง ถึง กำหนดชำระหรือถูก เรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้อง มีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้าง ชำระได้ แต่ ถ้า เงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ ได้ หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตาม สัญญาข้อ 8 วรรคสองในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การที่จำเลย ส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดย จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็เป็นการที่จำเลย นำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้ เพิกถอน การกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว เป็นการฝ่าฝืนต่อ มาตรา 2224แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ นั้นกรณีตกเป็นโมฆะไม่มี ผลบังคับ ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอน การชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืน เงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะ การชำระหนี้ได้ ถูก เพิกถอนนั้นเป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา กรณี ยังถือ ไม่ ได้ว่าได้ มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้อง รับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอน ก็ยังถือ ว่าเป็นการ ชำระหนี้โดย ชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้มีดสกัดกั้นการทำร้ายซ้ำของผู้ถูกทำร้าย
ผู้เสียหายเมาสุราทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีผู้เข้าห้ามและนำผู้เสียหายกลับบ้าน ระหว่างทางผู้เสียหายสะบัดหลุดจะกลับไปที่เกิดเหตุอีก จำเลยซึ่งพิการขาขวาด้วนไม่อยากให้ผู้เสียหายคนชอบพอกันไปมีเรื่องจึงเข้าขัดขวาง ผู้เสียหายไม่พอใจเตะจำเลยล้มลงแขนซ้ายหัก ครั้นจะเตะซ้ำจำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว 15 นิ้วครึ่งแทงบริเวณลำตัวผู้เสียหายทะลุเข้าไปในช่องท้องเพียงทีเดียวเพื่อสกัดกั้นมิให้ผู้เสียหายเตะซ้ำ บังเอิญไปถูกที่สำคัญ ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวไม่เกินสมควรแก่เหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: คนพิการถูกทำร้าย ใช้มีดสกัดการทำร้ายซ้ำ ถือเป็นการป้องกันตัว
ผู้เสียหายเมาสุราทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีผู้เข้าห้ามและนำผู้เสียหายกลับบ้าน ระหว่างทางผู้เสียหายสะบัดหลุดจะกลับไปที่เกิดเหตุอีก จำเลยซึ่งพิการขาขวาด้วนไม่อยากให้ผู้เสียหายคนชอบพอกันไปมีเรื่องจึงเข้าขัดขวาง ผู้เสียหายไม่พอใจเตะจำเลยล้มลงแขนซ้ายหัก ครั้นจะเตะซ้ำจำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว 15 นิ้วครึ่งแทงบริเวณลำตัวผู้เสียหายทะลุเข้าไปในช่องท้องเพียงทีเดียวเพื่อสกัดกั้นมิให้ผู้เสียหายเตะซ้ำ บังเอิญไปถูกที่สำคัญ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวไม่เกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยพิการถูกทำร้าย ใช้มีดสกัดการทำร้ายซ้ำ
ผู้เสียหายเมาสุราทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีผู้เข้าห้ามและนำผู้เสียหายกลับบ้าน ระหว่างทางผู้เสียหายสะบัดหลุดจะกลับไปที่เกิดเหตุอีก จำเลยซึ่งพิการขาขวาด้วนไม่อยากให้ผู้เสียหายคนชอบพอกันไปมีเรื่องจึงเข้าขัดขวาง ผู้เสียหายไม่พอใจเตะจำเลยล้มลงแขนซ้ายหัก ครั้นจะเตะซ้ำจำเลยใช้มีดปลายแหลมยาว 15 นิ้วครึ่งแทงบริเวณลำตัวผู้เสียหายทะลุเข้าไปในช่องท้องเพียงทีเดียวเพื่อสกัดกั้นมิให้ผู้เสียหายเตะซ้ำ บังเอิญไปถูกที่สำคัญ ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวไม่เกินสมควรแก่เหตุ