คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุทิศ บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-บ้าน, การแก้ไขโฉนด, คืนเงินมัดจำ, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาทไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน อำนาจฟ้องคดีขับไล่ และสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลา
บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ส. ซึ่งได้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินคือบ้านและที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 การฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นการจัดการทรัพย์สินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่ามีใจความว่า โจทก์ยอมให้จ.เช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างอาคารเพื่อทำการค้าขาย เมื่อผู้เช่าเลิกกิจการค้าแล้วผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเซ้งได้ภายในกำหนด 10 ปีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี แล้วผู้เช่าจะเซ้งหรือรื้อถอนไม่ได้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้เว้นแต่ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญา ย่อมหมายความว่า โจทก์ยอมให้ จ. เช่าที่ดินพิพาทและโอนสิทธิการเช่าได้ภายในกำหนด 10 ปีเพื่อตอบแทนที่ จ. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทแล้วยกให้โจทก์เมื่อครบ 10 ปีสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลา 10 ปี และข้อสัญญาที่ว่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้จึงใช้บังคับได้ภายใน 10 ปี เช่นกัน
สัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุดแล้ว จ.ยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยเสียค่าเช่าเป็นรายเดือนจึงเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อ จ.ตายสัญญาเช่าจึงระงับ จำเลยทั้งสามเช่าบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยไม่ได้กำหนดเวลาเช่าไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 2 เดือน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ทรงสิทธิเก็บกินในการจัดการทรัพย์สิน และการบอกเลิกสัญญาเช่าหลังสัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุด
บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ส. ซึ่งได้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินคือบ้านและที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 การฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นการจัดการทรัพย์สิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่ามีใจความว่า โจทก์ยอมให้ จ.เช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างอาคารเพื่อทำการค้าขาย เมื่อผู้เช่าเลิกกิจการค้าแล้วผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเซ้งได้ภายในกำหนด 10 ปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี แล้วผู้เช่าจะเซ้งหรือรื้อถอนไม่ได้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้เว้นแต่ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญา ย่อมหมายความว่า โจทก์ยอมให้ จ. เช่าที่ดินพิพาทและโอนสิทธิการเช่าได้ภายในกำหนด 10 ปีเพื่อตอบแทนที่ จ. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทแล้วยกให้โจทก์เมื่อครบ 10 ปี สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลา 10 ปี และข้อสัญญา ที่ว่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้จึงใช้บังคับได้ภายใน 10 ปี เช่นกัน
สัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุดแล้ว จ. ยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยเสียค่าเช่าเป็นรายเดือนจึงเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาเมื่อ จ. ตายสัญญาเช่าจึงระงับ จำเลยทั้งสามเช่าบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยไม่ได้กำหนดเวลาเช่าไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 2 เดือน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: แม้คำฟ้องไม่ชัดเจน แต่หากบรรยายฟ้องระบุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมโยธาธิการซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์แต่ในตอนบรรยายฟ้องได้ กล่าวว่าจำเลยที่ 2 เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงเข้าใจได้แล้วว่า โจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมโยธาธิการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้รับผิดชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ หาใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่เวนคืน: การระบุฐานะในคำฟ้องไม่ชัดเจน แต่พฤติการณ์แสดงเจตนาฟ้องในฐานะเจ้าหน้าที่
แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุโดยชัดแจ้ง ว่า ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมโยธาธิการซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์แต่ในตอนบรรยายฟ้องได้ กล่าวว่าจำเลยที่ 2 เป็น อธิบดีกรมโยธาธิการและ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงเข้าใจได้แล้วว่า โจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมโยธาธิการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้รับผิดชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ หาใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดแดกดัน/ประชดประชัน ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น/ทำให้เดือดร้อน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393, 397
จำเลยต่อว่าผู้เสียหายทั้งสี่ว่าไม่ล้างจานข้าวผู้เสียหายว่าไม่มี คนล้างจานจำเลยจึงกล่าวต่อผู้เสียหายทั้งสี่ว่า 'สี่คนไม่ใช่คนหรือไง' ดังนี้ เป็นเพียง คำแดกดันหรือประชดประชันด้วยความไม่พอใจเท่านั้น ไม่มีความหมายอันจะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายทั้งยังไม่พอถือว่าทำให้ ผู้เสียหายได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393,397

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดแดกดัน ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น หรือทำให้เสียหาย ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยต่อว่าผู้เสียหายทั้งสี่ว่าไม่ล้างจานข้าว ผู้เสียหายว่าไม่มีคนล้างจาน จำเลยจึงกล่าวต่อผู้เสียหาย ทั้งสี่ว่า 'สี่คนไม่ใช่คนหรือไง' ดังนี้ เป็นเพียงคำแดกดันหรือประชดประชันด้วยความไม่พอใจเท่านั้น ไม่มีความหมายอันจะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย ทั้งยังไม่พอถือว่าทำให้ผู้เสียหายได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393, 397

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการเก็บหาของป่าหวงห้าม แม้ไม่ได้เก็บเองแต่รับซื้อและเคลื่อนย้ายก็มีความผิดตามกฎหมายป่าไม้
จำเลยรับซื้อถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามแล้วพาถ่านไม้นั้นไปเสียให้พ้นพาเคลื่อนที่จากป่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ่านไม้ ดังกล่าวเป็นของป่าหวงห้ามที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดฐาน เก็บหาของป่าหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ มิได้เสียค่าภาคหลวงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเก็บหาของป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 29, 70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการเก็บหาของป่าหวงห้าม แม้ไม่ได้เก็บเอง แต่รับซื้อและเคลื่อนย้าย ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
จำเลยรับซื้อถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามแล้วพาถ่านไม้ นั้น ไปเสียให้พ้นพาเคลื่อนที่จากป่าโดยจำเลยรู้อยู่ แล้วว่าถ่านไม้ ดังกล่าวเป็นของป่าหวงห้ามที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดฐาน เก็บหาของป่าหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ มิได้เสียค่าภาคหลวงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเก็บหาของป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 29,70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 700,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ราย นี้เป็นจำนวนเงิน 700,000 บาท ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เมื่อลูกหนี้ เบิกเงินเกินกว่ายอดเงินในบัญชีของ ลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง อยู่ในเวลานี้หรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ฯลฯ ผู้จำนองและ หรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นเมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ ฯลฯ เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและหรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบรับใช้เงิน ที่ขาดให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน และจำเลยที่ 2 ยังทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจนกว่าธนาคารจะได้รับและถึงแม้ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามอันทำให้ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันทีตีความตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น หาใช่ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
of 25