คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุทิศ บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ายังไม่สมบูรณ์ สิทธิและหน้าที่เกิดขึ้นแล้ว ศาลต้องสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา 1 ปี แบ่งชำระค่าเช่าเป็น 4 งวด โจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่า เหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้ว ตามข้อตกลงในเรื่องการเช่า แต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกัน จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป หาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองไม่ ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอัน จะอ้างกฎหมายได้ การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้นที่ทำได้ ผู้เสียหายฟ้องบังคับไม่ได้
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา40และ42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้นผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลตัดสินว่าสิทธิเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้เสียหาย
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73มีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้นหาได้มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดกฎหมายเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องอาญาเท่านั้น
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และ 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้น ผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตอาหารปลอมเป็นความผิดคนละกรรม แม้กระทำพร้อมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานผลิตอาหารปลอมและปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องชัดเจนครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอม โดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่ง และทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่ อ.ผลิตทำขึ้น และทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น ซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนด และใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนด จนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภค และจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวด แล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวด เพื่อ ลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และประโยชน์ว่า อาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่ อ.ผลิตขึ้น คำบรรยายฟ้องดังกล่าว จึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (2), (5) และ (4) แล้ว และได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่สมบูรณ์.
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียน เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังได้ฉะนั้นเมื่อเครื่องหมายการค้าที่พิพาทบริษัทล. ได้จดทะเบียนไว้ที่สหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล. ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้านั้นเลียนเครื่องหมายการค้าค้าของโจทก์แม้จำเลยจะเป็นตัวแทนผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.อ.มาตรา274และพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45 ความผิดตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45เป็นความผิดที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐบุคคลธรรมดาจึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้งานก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้น เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้
เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัท ล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัท ล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัท ล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัท ล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 45 ซึ่งแก้ไขแล้ว และความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แม้จะมีการใช้ในภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้. เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัทล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัทล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล.จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา274และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45ซึ่งแก้ไขแล้วและความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าโทรศัพท์ต้องรับผิดค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่ผู้เช่าบ้านใช้ แม้ไม่ได้เป็นผู้ใช้งานเอง
โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและบริการพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศได้มีระเบียบระบุไว้ในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์และสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์นั้นจำเลยได้รับแจกจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทุกปีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ทราบระเบียบหรือแจ้งความในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยสามารถใช้พูดไปต่างประเทศได้โดยโจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินโดยตรงจำเลยอนุญาตให้ผู้เช่าบ้านใช้โทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือของโจทก์ทราบว่าให้ใช้เฉพาะภายในประเทศไม่ให้ใช้พูดไปต่างประเทศถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ผู้เช่าบ้านใช้เครื่องโทรศัพท์พูดไปต่างประเทศได้ด้วยเมื่อมีการใช้โทรศัพท์จากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าพูดไปต่างประเทศจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้และจำเลยได้ทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าใช้บริการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศที่ผู้เช่าบ้านของจำเลยใช้พูดจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้.
of 25