พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก3เดือนปรับ2,000บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218ฎีกาจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินแปลงที่จำเลยบุกรุกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันอันไม่ใช่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362ข้อที่ว่าที่ดินแปลงที่จำเลยบุกรุกจะเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นเบื้องต้นต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีโต้เถียงข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินแปลงที่จำเลยบุกรุกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน อันไม่ใช่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ข้อที่ว่าที่ดินแปลงที่จำเลยบุกรุกจะเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นเบื้องต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218: การโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานและดุลพินิจการลงโทษ ถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน1ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218. ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพนักงานจับกุมตัวจำเลยตามที่ผู้เสียหายแจ้งจำเลยหลบหนีไประหว่างที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวจำเลยจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าตามคำเบิกความของพยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่ามีการจับกุมตัวจำเลยข้อโต้แย้งของจำเลยเป็นการโต้แย้งในเรื่องการฟังพยานว่าควรจะฟังไปในทางใดซึ่งเป็นดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการฟังพยานและลงโทษ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน1ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ.มาตรา218 ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานจับกุมตัวจำเลยตามที่ผู้เสียหายแจ้งจำเลยหลบหนีไประหว่างที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวจำเลยจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าตามคำเบิกความของพยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่ามีการจับกุมตัวจำเลยข้อโต้แย้งของจำเลยเป็นการโต้แย้งในเรื่องการฟังพยานว่าควรจะฟังไปในทางใด ซึ่งเป็นดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามชิงทรัพย์: การประสงค์ต่อทรัพย์เป็นสำคัญ แม้มีการข่มขู่และลวนลาม
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้คอผู้เสียหายพร้อมกับขู่ไม่ให้ร้องมิฉะนั้นจะปล้ำเมื่อผู้เสียหายปฏิบัติตามก็โยนเหล็กปลายแหลมทิ้งแล้วกอดผู้เสียหายไว้ใช้มือคลำคอผู้เสียหายถามหาสร้อยคอเมื่อทราบว่าไม่มีก็ถามถึงแหวนที่ผู้เสียหายสวมอยู่พอทราบว่าเป็นของปลอมก็ปล่อยมือจากการกอดผู้เสียหายวิ่งหนีไปได้พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นสำคัญเพราะเสาะหาแต่สร้อยคอกับแหวนเท่านั้นการที่จำเลยใช้เหล็กปลายแหลมขู่จะปล้ำผู้เสียหายก็ดีกอดตัวผู้เสียหายเมื่อค้นหาทรัพย์ก็ดีเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายแห่งป.อ.มาตรา339การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพยายามชิงทรัพย์6ปี8เดือนฐานกระทำอนาจาร4เดือนรวมจำคุก7ปี2เดือนและลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี7เดือนยังไม่ถูกต้องเมื่อรวมโทษแล้วต้องเป็นจำคุก7ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี6เดือนปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์เน้นค้นหาทรัพย์สิน แม้มีข่มขู่ทำร้าย ถือเป็นความผิดพยายามชิงทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดฐานอนาจาร
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้คอผู้เสียหายพร้อมกับขู่ไม่ให้ร้องมิฉะนั้นจะปล้ำเมื่อผู้เสียหายปฏิบัติตามก็โยนเหล็กปลายแหลมทิ้งแล้วกอดผู้เสียหายไว้ใช้มือคลำคอผู้เสียหายถามหาสร้อยคอเมื่อทราบว่าไม่มีก็ถามถึงแหวนที่ผู้เสียหายสวมอยู่พอทราบว่าเป็นของปลอมก็ปล่อยมือจากการกอดผู้เสียหายวิ่งหนีไปได้พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นสำคัญเพราะเสาะหาแต่สร้อยคอกับแหวนเท่านั้นการที่จำเลยใช้เหล็กปลายแหลมขู่จะปล้ำผู้เสียหายก็ดีกอดตัวผู้เสียหายเมื่อค้นหาทรัพย์ก็ดีเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา339การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพยายามชิงทรัพย์6ปี8เดือนฐานกระทำอนาจาร4เดือนรวมจำคุก7ปี2เดือนและลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี7เดือนยังไม่ถูกต้องเมื่อรวมโทษแล้วต้องเป็นจำคุก7ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี6เดือนปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำส่งอุทธรณ์: จำเลยในฐานะโจทก์ชั้นอุทธรณ์ต้องจัดการนำส่งเอง แม้จะวางเงินค่าส่งแล้วก็ยังต้องจัดการนำส่งให้ครบถ้วน
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) ซึ่งมาตรา 70 ที่ใช้บังคับในขณะนั้นก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้โจทก์จัดการนำส่ง จำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ถือว่าจำเลยเป็นโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำส่ง สำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า เป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174(2) ซึ่งตามมาตรา 132(1) ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ซึ่งนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมตามมาตรา 246 แม้จำเลยวางเงินค่านำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ไปส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ เมื่อไม่จัดการนำส่งภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ชอบที่ศาลจะจำหน่ายคดีเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์: หน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตาม
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1 (3) จำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ถือว่าจำเลยเป็นโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วันตามที่ศาลชั้นต้นสั่งย่อมถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 (1) ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องนี้และบทบัญญัติในสองมาตราดังกล่าวให้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาลแะการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงชอบแล้ว
แม้จะฟังว่าจำเลยวางเงินค่านำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ศาลแล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น กำหนดก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
แม้จะฟังว่าจำเลยวางเงินค่านำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ศาลแล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น กำหนดก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาดำเนินการขออนุญาตวิ่งรถโดยสารไม่เป็นโมฆะ แม้มีการอ้างถึงค่าเลี้ยงดูเจ้าหน้าที่ แต่ไม่มีหลักฐานการให้สินบน
โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อดำเนินการเรื่องโจทก์นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งร่วมกับบริษัทขนส่งโดยโจทก์ยอมให้เงินจำนวน250,000บาทแก่จำเลยและจำเลยได้รับเงินดังกล่าวไปแล้วจำเลยรับรองว่าหากเรื่องที่ติดต่อไม่สำเร็จจะคืนเงินให้ดังนี้เมื่อทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้พูดกันให้นำเงินดังกล่าวไปให้สินบนหรือสินน้ำใจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีไม่เป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาดำเนินการให้รถทัวร์เข้าวิ่งกับ บ.ข.ส. ไม่เป็นโมฆะ แม้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ไม่มีหลักฐานการให้สินบน
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อดำเนินการเรื่องโจทก์ขอนำรถยนต์โดยสาร 2 คันเข้าวิ่งร่วมกับบริษัท ข. โดยโจทก์ยอมให้เงินจำนวน 250,000 บาท จำเลยรับรองว่าหากเรื่องที่ติดต่อไม่สำเร็จจำเลยจะคืนเงินให้โจทก์ หลักฐานการรับเงินที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้มีใจความว่า เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์นั้นเพื่อที่จะให้ไปติดต่อเรื่องรถทัวร์เข้าบริษัท ข. และจำเลยก็รับว่าเรื่องโจทก์จะเอารถทัวร์เข้าร่วมบริษัท ข. นั้น จะต้องเสียค่าวิ่งเต้นค่าเลี้ยงดูเจ้าหน้าที่สูง ไม่ปรากฏเลยว่า มีการพูดกันให้นำเงินไปให้สินบนหรือสินน้ำใจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์นั้นเป็นเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้สินบนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ชัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี จึงไม่เป็นโมฆะ