พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการฉ้อโกง: จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชักจูงผู้เสียหายตั้งแต่แรก และไม่ได้ช่วยเหลือการกระทำความผิด
ผู้เสียหายทั้งสี่ติดต่อกับบุตรทั้งสองของจำเลยจนตกลงใจจะไปทำงานในต่างประเทศและได้ไปขอหนังสือเดินทางนัดหมายชำระเงินค่าตอบแทนให้บุตรทั้งสองของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นแนะนำชักพาให้ผู้เสียหายเหล่านั้นนำเงินไปมอบให้แก่บุตรของตนแต่อย่างใด แม้จะปรากฏว่าขณะผู้เสียหายทั้งสี่นำเงินไปจ่ายตามนัด จำเลยอยู่ด้วยช่วยพูดเสริมคำของบุตรทั้งสองกับช่วยนับเงินที่ผู้เสียหายเหล่านั้นนำไปชำระ เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสี่ปลงใจที่จะจ่ายเงินถึงขนาดไปทำหนังสือเดินทางเสร็จ กำหนดวันที่จะจ่ายเงินกันไว้แน่นอนแล้วโดยเชื่อตามคำพูดของบุตรทั้งสองของจำเลยก่อนที่จะพบกับจำเลยเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าผู้เสียหายทั้งสี่พร้อมที่จะจ่ายเงินให้บุตรทั้งสองของจำเลยไม่ว่าจำเลยจะอยู่ด้วยในวันนัดพบจ่ายเงินหรือไม่ พฤติการณ์ของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำของบุตรทั้งสองของจำเลยจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่เป็นทายาท การโอนทรัพย์มรดก และอายุความฟ้องคดี
การที่ผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก หาใช่เป็นการทำนิติกรรมซึ่งคนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ไม่
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: นับจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด: บุตรนอกกฎหมายของคนไทยและคนต่างด้าว ไม่ต้องทำบัตรคนญวนอพยพ
จำเลยเกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏว่าจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดามีสัญชาติไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7แห่งพ.ร.บ.สัญชาติการที่บิดาจำเลยเป็นคนญวนอพยพไม่ทำให้จำเลยเป็นคนญวนอพยพที่จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และไม่ต้องทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ โดยแสดงเจตนาเท็จ ศาลพิพากษายืนตามคำฟ้อง
คำฟ้องที่อ่านโดยตลอดแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยมีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศบาห์เรน แต่ตามจริงแล้วจำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวแต่อย่างใดเป็นการบรรยายฟ้องถึงรายละเอียดที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามป.วิ.อ.มาตรา158(5)แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระบุเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงเป็นใจความว่า จำเลยโดยทุจริตใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าจะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศบาห์เรน โดยผู้เสียหายจะต้องจ่ายเงินให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งความจริงแล้ว จำเลยไม่มีความตั้งใจที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศดังกล่าว เช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคงมีข้อความเป็นเท็จว่า จำเลยมีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศบาห์เรน แต่ความจริงแล้ว จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศดังกล่าว เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาท, การครอบครองทรัพย์สิน, และการตีความพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของฉ.ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ.จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ.สืบต่อจากป.และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป.แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ.ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป.ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป.แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ. ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: อำนาจฟ้องของผู้รับพินัยกรรมและหน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริง
ป. เป็นผู้จัดการมรดกของฉ. ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป. ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป. ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ. สืบต่อจากป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป. แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ. ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป. ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกต่อเนื่องจากผู้จัดการมรดกคนเดิม, การตีความพินัยกรรม, และสิทธิของผู้รับพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ตามคำสั่งศาล จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรม ป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดก จำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ของ ป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ ฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของ ฉ. สืบต่อจาก ป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.แต่ประการเดียว ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของ ฉ.ด้วยผู้หนึ่ง ได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้ว จำเลยปฏิเสธ สิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศผลการแข่งขันและการแจ้งเหตุผลที่ไม่รับนกเข้าแข่งขัน ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อความบางตอนในประกาศผลการแข่งขันนกพิราบสื่อสารกล่าวถึงมติของคณะกรรมการจัดการแข่งขันว่านกของโจทก์ไม่มีตราประทับที่ปีกจึงไม่พิจารณาตัดสินเพราะผิดกติกาและเนื่องจากหาบุคคลที่เหมาะสมเฝ้ากรงของโจทก์ไม่ได้จึงไม่รับนกของโจทก์เข้าแข่งขันในครั้งต่อไปเป็นเรื่องของการแถลงข้อเท็จจริงและแจ้งเหตุผลในเรื่องที่ไม่ตัดสินนกของโจทก์และไม่รับนกของโจทก์เข้าแข่งขั้นในครั้งต่อไปเท่านั้นไม่มีความตอนใดที่จะเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวถึงตัวโจทก์ในลักษณะเป็นการใส่ความอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท.