พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยจากการถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และผลของการต่ออายุทะเบียน
แม้โจทก์จะมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวแต่โจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งนายทะเบียนออกให้ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2479 มาตั้งแต่ พ.ศ.2489 และต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวติดต่อกันตลอดมา โจทก์จึงต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508
มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้การเสียสัญชาติไทยมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัวเท่านั้นเป็นบทบัญญัติในเรื่องผลของการเสียสัญชาติไทยว่ามีผลเมื่อใดเป็นคนละเรื่องกับการเสียสัญชาติไทยอันจะต้องพิจารณาตามมาตรา 21 เมื่อโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว โจทก์จึงต้องเสียสัญชาติไทยไปตามมาตรา 21 แต่การเสียสัญชาติไทยของโจทก์จะมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะไปก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ใช้บังคับมาตรา 24ย่อมใช้บังคับไม่ได้ในกรณีของโจทก์
มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้การเสียสัญชาติไทยมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัวเท่านั้นเป็นบทบัญญัติในเรื่องผลของการเสียสัญชาติไทยว่ามีผลเมื่อใดเป็นคนละเรื่องกับการเสียสัญชาติไทยอันจะต้องพิจารณาตามมาตรา 21 เมื่อโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว โจทก์จึงต้องเสียสัญชาติไทยไปตามมาตรา 21 แต่การเสียสัญชาติไทยของโจทก์จะมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะไปก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ใช้บังคับมาตรา 24ย่อมใช้บังคับไม่ได้ในกรณีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกิดในไทยและสัญชาติ: การเสียสัญชาติด้วยการถือเอกสารคนต่างด้าว
ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย จึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2408 มาตรา 7(3) การที่ผู้ร้องซึ่งมีสัญชาติเป็นไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยตามความในมาตรา 21 ก็ต่อเมื่อได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว แม้ผู้ร้องได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรโดยขอรับใบแสดงหลักฐานการแจ้งออกเพื่อเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ต.ม.1) ซึ่งเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่จะออกให้แก่ผู้ขอที่เป็นคนต่างด้าว แต่เอกสารดังกล่าวนี้หาใช่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำคนต่างด้าวไม่ ผู้ร้องจึงไม่เสียสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทย ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดตาม พ.ร.ก.ทะเบียนคนต่างด้าว
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว ถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้วให้เสียสัญชาติไทยดังนี้บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่าให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไรเมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจำเลยย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญ
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย ดังนี้ บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่า ให้ขาดจากสัญชาติไทย ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไร เมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้ไม่มีข้อความระบุช่วงเวลา
โจทก์เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว เดินทางไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2490 และกลับมาประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2491 แล้วไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในปีนั้นและต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตลอดมา แม้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 21 จะบัญญัติว่า'ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย' โดยไม่มีข้อความว่า 'ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ' ดังบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 16 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ที่ยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวตลอดมาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 21 ซึ่งมีผลให้โจทก์เสียสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยของบุคคลเกิดในไทยโดยมีบิดาเป็นต่างด้าว จากการถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
โจทก์เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว เดินทางไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2490 และกลับมาประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2491 แล้วไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในปีนั้นและต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตลอดมา แม้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 21 จะบัญญัติว่า"ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่า ด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย" โดยไม่มีข้อความว่า "ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือ หลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ดังบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2495 มาตรา 16 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496มาตรา 5 ที่ยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวตลอดมาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 21 ซึ่งมีผลให้โจทก์เสียสัญชาติไทย