คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 366

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการคืนเงินประกันเมื่อข้อมูลโครงการไม่เป็นไปตามคาด
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลผูกพันกัน และคู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญาหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 366 และมาตรา 386 ข้อความในบันทึกข้อตกลงมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า โจทก์มีความสนใจที่จะลงทุนในโครงการอาคารพักอาศัยให้เช่าของจำเลยซึ่งประกอบด้วยที่ดิน 2 แปลง โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องเข้าศึกษาข้อมูลและตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไปเสียก่อน ซึ่งในข้อ 1.3 ระบุว่า หากผลการศึกษาโครงการเป็นที่น่าพอใจแก่โจทก์ คู่สัญญาจะทำการเจรจาทำสัญญาจะซื้อจะขายโครงการอาคารพักอาศัยให้เช่าต่อไป และข้อ 1.4 ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิยกเลิกบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ได้ หากผลการศึกษาโครงการพบว่าไม่เป็นที่น่าพอใจแก่โจทก์ในด้านใด ๆ ดังนี้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิโจทก์ในการเลิกบันทึกข้อตกลงไว้ โดยอาศัยความพึงพอใจของโจทก์ในการเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโครงการเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในข้อ 4 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เงินจำนวน 35,000,000 บาท ที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้ เป็นเงินประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่โจทก์เข้าศึกษาโครงการ ในกรณีที่ผลการศึกษาโครงการไม่เป็นที่น่าพอใจและโจทก์แจ้งไม่ประสงค์จะเข้าลงทุน ให้ถือว่าบันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นอันสิ้นสุดลงทันที โดยคู่สัญญาตกลงจะไม่เรียกร้องสิทธิหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อกัน และจำเลยต้องคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ประกอบกับในรายงานประชุมคณะกรรมการของโจทก์มีข้อความระบุชัดว่า โจทก์ยังไม่ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย และคณะกรรมการของโจทก์ขอเสนอให้เปลี่ยนจากการวาง "เงินมัดจำ" ตามที่จำเลยเสนอมา เป็นการวาง "เงินประกัน" ความเสียหายในการเข้าศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแทน แสดงให้เห็นว่า หากโจทก์จะซื้อโครงการของจำเลย จะต้องมีการเจรจาตกลงในข้อสาระสำคัญกันให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งต่อไป ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 366 ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าโครงการของจำเลยไม่เหมาะสมที่จะลงทุน เป็นเหตุให้คณะกรรมการของโจทก์ได้บอกเลิกบันทึกข้อตกลงไปยังจำเลยพร้อมแจ้งให้คืนเงินประกัน 35,000,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิเลิกบันทึกข้อตกลงตามที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง หาใช่เป็นการใช้สิทธิเลิกตามอำเภอใจหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ เมื่อสัญญาเข้าร่วมทุนหรือซื้อโครงการระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และตามบันทึกข้อตกลงได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเพียงแต่คืนเงินประกันแก่โจทก์ภายใน 7 วัน โดยไม่มีดอกเบี้ย จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันดังกล่าว เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินประกันภายใน 7 วัน จำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยไม่คืนเงินประกันภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
สำหรับค่าเสียหาย 10,000,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยไม่ยอมคืนเงินประกัน ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในโครงการอื่นนั้น ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 4 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเข้าลงทุนในโครงการของจำเลย ให้ถือว่าบันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นอันสิ้นสุดลงทันที จำเลยเพียงแต่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันเท่านั้น โดยคู่สัญญาจะไม่เรียกร้องสิทธิหรือค่าเสียหายใด ๆ ต่อกันอีก ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำความสะอาด: การเปลี่ยนแปลงสัญญา, ค่าเสียหายจากการบอกเลิก, และการประเมินความเสียหาย
สัญญาว่าจ้างบริการทำความสะอาดอาคารและสถานที่ กำหนดว่า การจะเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในสัญญา โดยเฉพาะอัตราค่าบริการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายและแนบท้ายสัญญาไว้ด้วย ต้องถือว่าอัตราค่าบริการเป็นสาระสำคัญของสัญญา เพราะโจทก์เข้ามาทำงานรับจ้างทำความสะอาดอาคารและสถานที่ให้จำเลย ก็หวังจะได้ค่าบริการจากจำเลยเป็นการตอบแทนนั่นเอง การที่โจทก์มีหนังสือขอปรับขึ้นค่าบริการ ไปถึง จ. ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง และ ภ. ฝ่ายแม่บ้าน ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลย บุคคลทั้งสองไม่มีอำนาจตกลงเปลี่ยนแปลงข้อสัญญากับโจทก์ได้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญอย่างการปรับขึ้นค่าบริการ การตกลงที่สำคัญเช่นนี้โจทก์ต้องมีหนังสือไปถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ ไม่ได้มีการทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หนังสือปรับขึ้นค่าบริการของโจทก์จึงยังไม่ผูกพันให้จำเลยต้องรับผิดในอัตราค่าบริการใหม่ที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง แม้หลังจากที่พนักงานของจำเลยได้รับหนังสือขอปรับขึ้นค่าบริการแล้วจะยังมีการจัดซื้อจัดจ้างโจทก์ก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับขึ้นค่าบริการแล้ว จึงไม่มีผลให้โจทก์สามารถคิดค่าบริการจากจำเลยในอัตราใหม่ได้ เพราะพนักงานดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย ทั้งโจทก์ยอมรับว่า จำเลยยังไม่เคยจ่ายเงินค่าบริการในอัตราที่โจทก์กำหนดขึ้นใหม่ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เท่ากับว่าจำเลยยังไม่ได้ตกลงด้วยกับโจทก์ในการปรับเปลี่ยนอัตราค่าบริการใหม่ โจทก์ย่อมไม่อาจคิดค่าบริการจากจำเลยในอัตราใหม่ได้ และเนื่องจากระหว่างพิจารณา จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าบริการที่ค้างชำระให้จนโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าจ้างในอัตราเดิมจากจำเลยอีกต่อไปแล้ว และค่าจ้างหรือค่าบริการในอัตราใหม่ก็ไม่ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าจ้างหรือค่าบริการค้างจ่ายจากจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน - เจตนาทำสัญญาเพิ่มเติม
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำ จึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และสัญญาตีใช้หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เป็นเหตุอ้างสิทธิยึดถือทรัพย์ได้
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมไม่อาจยกขึ้นต่อสู้คดีได้ และสัญญาที่ยังมิได้ตกลงรายละเอียดสาระสำคัญ
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันไว้ได้
โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, ผลของสัญญาจองสิทธิการเช่า, และผลของการตกลงยกเลิกสัญญา
ทรัพย์สินที่โจทก์ให้จำเลยได้สิทธิเป็นผู้เช่าเป็นร้านค้าเพื่อใช้เป็นที่ประกอบการค้า จึงเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(3) มีอายุความ 5 ปี ส่วนค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาด ไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาจองสิทธิการเช่าก็มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความเช่นเดียวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระตามมาตรา 193/33(3) กรณีมิใช่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นแล้วเรียกเงินที่ได้ออกทดรองไปตามมาตรา 193/34
จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์จริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาดังกล่าว ฉะนั้น แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าซึ่งเป็นตราสารการเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภค และสัญญาให้บริการภายในอาคารที่จะทำขึ้นต่อไป แล้วคืนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าส่วนที่เหลือแก่จำเลย จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากบริษัทจำเลย โดยชำระเงิน274,600 บาท แต่เมื่อถึงวันทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์เห็นว่ามีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ จึงแสดงเจตนาขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนว่าจำเลยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใด ซึ่งล้วนแต่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน เมื่อจำเลยยอมรับว่ายังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้นเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 วรรคหนึ่ง พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ผูกพัน จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ฐานลาภมิควรได้
ตามปกติเมื่อมีการจองซื้อที่ดินแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยอีกครั้งหนึ่งอันจะทำให้เกิดการผูกพันที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเป็นการเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ โจทก์ย่อมขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนได้ ข้อสัญญาที่โจทก์ขอแก้ไข เช่น จะก่อสร้างเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใดซึ่งเป็นข้อสัญญา ที่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยฉะนั้น เมื่อยังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้น การที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษา: การยุติการศึกษาจากคำสั่งสถาบัน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาการรับทุนเพื่อศึกษาในประเทศกับโจทก์ โดยข้อความในสัญญาดังกล่าวจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้ยุติหรือเลิกการศึกษาเสียเองแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ออกคำสั่งให้จำเลยพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาตามระเบียบของสถาบัน การยุติหรือเลิกการศึกษาไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันเมื่อกรมธรรม์ออกล่าช้าจากความบกพร่องในการปฏิบัติงาน
ธุรกรรมของจำเลยที่เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว โดยการจะใช้จำนวนเงินสงเคราะห์ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ยื่นคำขอ ธุรกรรมดังกล่าวจึงเป็นการรับประกัน ชีวิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 889
เมื่อจำเลยยอมรับว่า ช. ผู้เอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ และจำเลยจะต้องผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันรับฝากเงิน หากจำเลยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เมื่อกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อกำหนดในตอนท้ายของคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัวที่ระบุว่า "ข้าพเจ้า (ผู้เอาประกัน) ยอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคาร จะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว?" ซึ่งมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมหาได้ไม่ และต้องถือว่าสัญญารับประกันชีวิตมีขึ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันฝากเงินแล้ว ทั้งข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา
of 13