พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกวดราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีละเมิดจากหน่วยงานราชการ
ประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมาเป็นเพียงประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจที่จะรับจ้างขนขยะมูลฝอยจากท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปทำลายโดยวิธีฝังดิน ยื่นคำเสนอขอทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยวิธียื่นซองประกวดราคา ซึ่งต่อมาโจทก์เป็นผู้เข้าประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุดอันเป็นการทำคำเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เท่ากับโจทก์ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของจำเลยที่ 1 ทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 โดยประธานคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคามีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังว่าตกลงรับราคาที่โจทก์เสนอถือได้ว่าเป็นการทำคำสนองรับคำเสนอของโจทก์ แต่ในประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 16 ระบุว่าเมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งให้ผู้ประกวดราคาได้ทราบเป็นหนังสือผู้ประกวดราคาได้นั้นต้องไปทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ประกาศยกเลิกการประกวดราคาจ้างเหมาครั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจะทำผิดเงื่อนไขตามประกาศแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ก็ตามก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์ผิดนัด: จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อความตามแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อรถยนต์ของจำเลยมีว่า "จองวันนี้รับฟรีโทรศัพท์มือถือ โทรฟรีทั่วไทย บี.เอ็ม.ดับบลิว/เปอร์โยต์ ลักกี้เดย์ ทุกรุ่นทุกแบบผ่อนฟรีไม่มีดอกเบี้ย แถมประกันภัยชั้น 1 ฟรี" ถือว่าเป็นเงื่อนไขในข้อเสนอขายของจำเลย เมื่อโจทก์เข้าสนองตอบตามข้อเสนอขาย โดยเข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท กับจำเลย แต่จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อความในแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนทั้งต่อมายังนำรถยนต์พิพาทกลับไปไว้ในความครอบครองของจำเลยไม่ส่งมอบคืนให้โจทก์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาท จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดี ถือได้ว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท เลิกกันโดยปริยาย มีผลให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยรับรถยนต์พิพาทกลับคืนมาไว้ในความครอบครองแล้วจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 378 (3) ส่วนการที่โจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาทก่อนที่จำเลยนำกลับคืนไป โจทก์จึงต้อง ชำระค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายที่จำเลยเสียไปในการซ่อมแซมรถยนต์พิพาทให้คืนสภาพดีดังเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ จำเลยเข้าครอบครองสถานีบริการโดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
แม้พฤติการณ์ในการประวิงคดีจะสืบเนื่องมาจากการกระทำของทนายความ แต่จำเลยก็ต้องรับรู้และหาหนทางแก้ไขในฐานะที่เป็นผู้แต่งตั้งทนายความให้กระทำการแทนตน เมื่อจำเลยเพิกเฉยปล่อยให้ทนายความของตนที่ยืนยันว่าไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ล่วงหน้าทั้งสามครั้ง ยังคงรับผิดชอบคดีของตนต่อไปอีก ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นชอบแล้ว
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายทองคำ - สาระสำคัญสัญญา - การเปลี่ยนแปลงนโยบาย - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรี การนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลังโจทก์ ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขัน เมื่อโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่า ภายในวันดังกล่าวโจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ความเข้าใจเช่นนี้แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงโดยปริยาย ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรี เป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา และการผิดสัญญาหลังไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
โจทก์ไม่ได้จัดให้จำเลยทำสัญญาผูกมัดและกำหนดเวลาทำงานชดเชยไว้ กรณีเท่ากับเป็นการไม่มีสัญญาหรือข้อผูกมัดที่จะผูกพันหรือบังคับให้จำเลยต้องรับผิดชอบตามสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นสองเท่าของเวลาที่ไปศึกษาปริญญาโท
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินสิทธิประโยชน์บางส่วนหลังได้รับการอนุมัติลาออก ย่อมเป็นการสนองรับข้อเสนอใหม่ของจำเลย มิใช่สิทธิเดิม
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้ จ่าย ตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้งจำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออกแต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดย ไม่ ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่ จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับใบสมัครโครงการเกษียณก่อนกำหนดที่ไม่ครบคุณสมบัติ การตกลงเงื่อนไข และการสละสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้จ่ายตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้ง จำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออก แต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดยไม่ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การเสนอและสนองรับสัญญาโดยปริยาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย โจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตกลงร่วมมือกันให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้เช่าโทรศัพท์ โดยแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้เป็นของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีสิทธิใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ผ่านทางเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ โดยจำเลยต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบการใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ซึ่งระเบียบนี้องค์การโทรศัพท์ก็ได้พิมพ์ลงไว้ในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกให้จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์ได้ทราบแล้ว ถือได้ว่ามีการเสนอให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศตามเงื่อนไขในระเบียบดังกล่าวเมื่อมีการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย อันมีลักษณะเป็นการขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ก็เท่ากับจำเลยตกลงสนองรับเข้าทำสัญญาขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์และมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าบริการดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน และการผิดสัญญา การบังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 456
เอกสารหมาย จ. 3 ซึ่งจำเลยทำถึงโจทก์ มีข้อความว่า ตามที่โจทก์ตกลงซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากจำเลยนั้น จำเลยขอเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ไปโอนพร้อมกับนาง อ. ดังนี้ เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหลักฐานซึ่งทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์จึงสามารถใช้เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ปรากฏว่าจำเลยได้เลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาง อ. มาตลอด นาง อ. จึงฟ้องร้อง จนจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาง อ. แต่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากราคาที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ และหากจำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องใช้ค่าเสียหายเป็นเงินให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากราคาที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ และหากจำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องใช้ค่าเสียหายเป็นเงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวสมบูรณ์ แม้จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน การกระทำเป็นตัวแทนเชิดผูกพันจำเลย
จำเลยมีคำเสนอขายข้าวสาร จำนวน 20,000 เมตริกตัน ส่งมอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2537 ไปยังโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ส่งข้าว คำเสนอและคำสนองดังกล่าวจึงถูกต้องตรงกัน ย่อมก่อให้เกิดสัญญาแล้ว แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคาและเสนอราคาใหม่ไปยังโจทก์ ถือว่าเป็นคำเสนอใหม่ โจทก์ตอบตกลงซื้อข้าวตามราคาที่เสนอมาใหม่และให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ แสดงว่าคำเสนอคำสนองใหม่ถูกต้องตรงกันสัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเดิม และผูกพันกันตามสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบข้าวลงเรือในเดือนตุลาคม 2537 โดยไม่มีข้อความให้จำเลยมาทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่กลับเร่งรัดให้จำเลยส่งมอบข้าวให้ทันกำหนดเวลา แสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้สัญญามีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก่อน การที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วมีหนังสือขอเลื่อนไปส่งมอบข้าวสารในเดือนธันวาคม 2537โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งว่าสัญญายังไม่ได้ลงนามเนื่องจากยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย การค้ำประกันและการส่งมอบ ทั้งปรากฏว่ากรมการค้าต่างประเทศเคยซื้อข้าวจากจำเลยโดยส่งประกาศรับซื้อไป จำเลยตอบรับ หลังจากนั้นจำเลยส่งมอบข้าวโดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสืออีกพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเองมิได้มุ่งที่จะให้การซื้อขายข้าวดังกล่าวนั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือเช่นกัน ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน