คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 366

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่ทำตามตกลง สัญญาเป็นโมฆะ แม้วางมัดจำแล้ว
บันทึกข้อตกลงฉบับพิพาทมีใจความว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับเช็คเงินสดไว้จำนวนห้าแสนบาทถ้วน(500,000 บาท) เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด เช็คเลขที่ 0071851 ภายในวันที่20 เมษายน 2536 จะชำระส่วนที่เหลืออีกห้าล้านห้าแสนบ้าน(5,500,000) บาท) ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในวันที่ 20 เมษายน 2536(หลังจากวันที่ 20 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ)ที่ดินรังสิต จำนวน 50 ไร่ โฉนดเลขที่ 9 ที่ดินระวาง 15 น.10 อ. ดังนี้ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้รับเงิน 500,000 บาท เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและตกลงกันว่าโจทก์จะชำระเงินมัดจำส่วนที่เหลืออีก5,500,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันภัยในวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์เองทราบดีว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกที่ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในวันที่ 20 เมษายน 2536 โจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันแน่นอนแต่โจทก์เกรงว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะไม่ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์จึงชำระเงิน 500,000 บาท ให้ฝ่ายจำเลยโดยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคู่กรณีจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 20 เมษายน 2536พร้อมทั้งโจทก์ต้องชำระเงินวางมัดจำจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่ดินพิพาท 60,000,000 บาท ซึ่งหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจะต้องมีข้อตกลงต่าง ๆและเงื่อนไขในการชำระเงินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อกัน การที่บันทึกข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้โดยชัดเจนแต่ข้อความในวงเล็บว่า "หลังจากวันที่ 20 เม.ย. 36 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ" ซึ่งหมายถึงโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและวางเงินมัดจำ10 เปอร์เซ็นต์ ตามคำพูดที่ตกลงไว้ในบันทึกภายในวันที่20 เมษายน 2536 ก็ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทและเห็นความหมายได้ในตัวว่าโจทก์ผู้จะซื้อจะต้องมาหาฝ่ายจำเลยผู้จะขาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงไม่ไปพบจำเลยทั้งสี่ตามที่ตกลง และโจทก์และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ ผลก็คือสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังไม่ได้ทำขึ้นจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 และแม้การวางเงินมัดจำคำพูดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำทั้งหมดก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จึงอาศัยข้อตกลงตามบันทึกฉบับพิพาทมาฟ้องร้องบังคับจำเลยทั้งสี่ให้โอนขายที่ดินพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: มูลคดีเกิดที่ใด, นับอายุความอย่างไร
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และมาตรา 5 อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: สถานที่ทำสัญญา, การเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา
ศ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง-อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ: ศาลตัดสินตามภูมิลำเนา-เหตุเกิดที่, อายุความ 10 ปีเมื่อเกิดหลังเลิกสัญญา
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้าศ.ที่จังหวัดระนองเสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้นสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)และมาตรา5 อายุความ6เดือนนับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่คดีนี้ได้ความว่าหลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาดเมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563แต่ต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีข้อตกลงสำคัญครบถ้วน การแบ่งแยกโฉนดเป็นสาระสำคัญ หากตกลงกันไม่ได้ สัญญายังไม่สมบูรณ์
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่16เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้งๆที่คณะกรรมการสวัสดิการการหลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน41ไร่12ตารางวาจากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้นโจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงินซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้วคณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมายจ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน20ไร่206ตารางวาให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า"เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้วขอให้ชำระเงินทั้งหมดและผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวขอให้แจ้งคณะกรรมการสสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมายจ.3ดังกล่าวแล้วโจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสารสำคัญว่า"ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการสสพช.แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ2.โดยขอให้คณะกรรมการสสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287จำนวน41ไร่12ตารางวาเป็น2ส่วนเท่าๆกันตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.แปลงที่แบ่งเท่าๆกันแล้วตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้าโดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน100,000บาทและในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป"ตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น2ส่วนเท่าๆกันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกันหนังสือเอกสารหมายจ.4จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมายจ.3แต่อย่างใดส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นและหนังสือลงวันที่29พฤษภาคม2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข11ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าหากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใดและโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไปก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้นจึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้นเมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่1กับจำเลยที่16ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากเงื่อนไขสำคัญไม่เป็นไปตามตกลง สัญญาจึงยังไม่ผูกพันคู่กรณี
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 16 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการการพลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการ ดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา จากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้น โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้ว คณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน 20 ไร่ 206 ตารางวา ให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า "เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้ว ขอให้ชำระเงินทั้งหมด และผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ขอให้แจ้งคณะกรรมการ สสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.3 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน 20 ไร่ 206ตารางวา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ สสพช. แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ 2. โดยขอให้คณะกรรมการ สสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287 จำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา เป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน ตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช.แปลงที่แบ่งเท่า ๆ กันแล้ว ตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่ คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน 100,000 บาท และในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน20 ไร่ 206 ตารางวา ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป" ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกัน หนังสือเอกสารหมาย จ.4 จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมาย จ.3 แต่อย่างใด ส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9 ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้ จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า หากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใด และโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไป ก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้น จึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้น เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกัน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 366 โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 16 ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าท่าเรือ: การบังคับใช้สัญญา, สิทธิเรียกค่าชดเชย, และระยะเวลาของสัญญา
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่งจำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียดที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าวและกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่14ตุลาคม2531บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่14ตุลาคม2531เช่นเดียวกันกับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการแสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกันจึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าวบันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึกหาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้วจำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้นแม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตามสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วหาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ไม่ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลยแต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่วข้อ4.1ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ144,000ทีอียูจำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์โดยคิดเมื่อครบรอบ1ปีหรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ4.3ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่าให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า3วันและหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ส่วนระยะเวลา1ปีที่ระบุไว้ในข้อ4.1เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ1ปีแล้วเท่านั้นหาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ การริบเงินมัดจำเป็นโมฆะ
โจทก์ได้ตกลงซื้ออาคาร วางเงินมัดจำจำนวน 200,000 บาทไว้แก่จำเลย มีข้อตกลงว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินให้ครบ 388,000 บาท แล้วจึงจะทำสัญญาจะซื้อขายกันเป็นหนังสือกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำสัญญากันโดยวิธีทำเป็นหนังสือ ให้มีข้อตกลงทุกข้อก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา กรณีจึงยังเป็นที่สงสัยถือไม่ได้ว่าได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ ทำหนังสือสัญญาต่อกันแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง จะอ้างว่า โจทก์ไม่ยอมทำสัญญาเป็นหนังสือกับจำเลยเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ เพราะสัญญายังไม่เกิด จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์เมื่อมีข้อขัดแย้งเรื่องสาระสำคัญ และการตกลงใหม่ยังไม่เป็นสัญญา
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายมีเจตนาจะทำสัญญาซื้อขายเครื่องและอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียกันเป็นหนังสือ จึงได้จัดทำหนังสือสัญญาซื้อขายขึ้น แต่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าข้อความยี่ห้อไนเฮาส์อันเป็นข้อสาระสำคัญออก โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย แสดงว่ายังมีข้อโต้แย้งกันในข้อนี้จนต้องมีการเจรจากันอีก ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันในข้อดังกล่าว และทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามที่ตกลงกัน นับว่ายังมิได้มีสัญญาซื้อขายต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366
of 13