พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประจำ การลดค่าจ้างเป็นการเลิกจ้าง และอายุความการฟ้องเรียกค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2507) ออกตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 คำว่า'ลูกจ้างประจำ' หมายถึงลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ ไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะกำหนดเป็นรายเดือนรายสัปดาห์รายวันรายชั่วโมงรายระยะเวลาอย่างอื่น หรือกำหนดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ โจทก์เป็นช่างเย็บ รับจ้างเย็บกางเกงสตรีอยู่ที่ร้านของจำเลยซึ่งเป็นร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้าโจทก์มีเครื่องมือในการเย็บผ้า จำเลยมีจักรเย็บผ้าและผ้าให้เย็บ งานมีให้ทำเป็นประจำทุกวัน และโจทก์ได้ค่าจ้างเย็บเป็นรายตัว ซึ่งเป็นค่าจ้างที่กำหนดตามผลงานที่ทำได้ ทั้งจำเลยยังเลี้ยงอาหารโจทก์เป็นประจำอีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์มิได้อยู่กับจำเลยก็ไม่ทำให้เปลี่ยนจากลักษณะของการเป็นลูกจ้างประจำไปได้
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอม และกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอม และกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์