พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงจากสื่อสิ่งพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและผลกระทบต่อชื่อเสียง การแก้ไขข่าว และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย