พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สิน (บ่อกุ้ง, บ่อปลา, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18222526แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนทรัพย์สิน (บ่อ, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงค่าทดแทนที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และระยะเวลาการจ่ายเงินค่าทดแทน
หนังสือที่คณะกรรมการเวนคืนมีไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม2516 ความว่า ได้ประชุมพิจารณาตกลงค่าทดแทนที่ของโจทก์แล้ว คิดราคาทดแทนเฉลี่ยให้ไร่ละ 252,000 บาท ถ้าไม่มีข้อทักท้วงประการใด ขอให้ลงนามรับราคา เพื่อดำเนินการอนุมัติจ่ายเงินต่อไปนั้น เป็นเพียงหนังสือของคณะกรรมการฯ แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณาตกลงค่าทดแทนที่ดินของโจทก์กันเสร็จแล้ว โดยคิดราคาทดแทนเฉลี่ยให้ไร่ละ 252,000 บาท และขอทราบความประสงค์ของโจทก์ว่ายินดีจะรับราคาตามที่เสนอมานั้นหรือไม่ อันเป็นการทำความตกลงกันในเบื้องต้นตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคแรกเท่านั้น เอกสารฉบับนี้ยังถือไม่ได้ว่าได้ตกลงกันในเรื่องนี้แล้วตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เพราะยังไม่มีการเขียนข้อตกลงและเงื่อนไขลงไว้ และทั้งสองฝ่ายคือโจทก์กับคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ส่วนบันทึกข้อตกลงที่จำเลยอ้างนั้น ได้ทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินทดแทนซึ่งได้กำหนดไว้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 อันอยู่ในระยะเวลาภายใน90 วัน นับแต่วันที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจากจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 30
ส่วนบันทึกข้อตกลงที่จำเลยอ้างนั้น ได้ทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินทดแทนซึ่งได้กำหนดไว้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 อันอยู่ในระยะเวลาภายใน90 วัน นับแต่วันที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจากจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและการผูกพันตามสัญญาค่าทดแทนที่ดิน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์ - ตากฯ พ.ศ.2509 บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและผลผูกพันสัญญาค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินยอมรับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์-ตากฯ พ.ศ.2509บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนตามมาตรา18,22,25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ตารางวาละ 1000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนตามมาตรา18,22,25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ตารางวาละ 1000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการหักราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากค่าทำขวัญ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับค่าทำขวัญ, การหักราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี