พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกข้อผิดพลาดการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องการส่งมอบโฉนดและการบังคับเจ้าพนักงานที่ดิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์และให้ร่วมกันชำระค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสองอุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องการส่งมอบโฉนดที่ดินจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ด้วยจึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยแม้จะมีคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เป็นการบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความในคดีศาลไม่อาจสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการตามที่โจทก์ขอได้และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดหลังศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535ที่วินิจฉัยในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่า ผู้ร้องได้อ่านหรือทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 แล้ว ตั้งแต่วันที่25 ธันวาคม 2534 จึงให้ถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ให้ผู้ร้องฟังแล้วนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2534ผู้ร้องไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบอย่างไรหรือไม่จึงต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ให้ผู้ร้องฟังแล้วตั้งแต่วันที่ 25ธันวาคม 2534 การที่ผู้ร้องยื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 8 เมษายน 2536 คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 มาดังกล่าว จึงเป็นการยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง ฎีกาของผู้ร้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากยื่นพ้นกำหนดหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องทราบคำพิพากษาแล้ว
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่30ธันวาคม2535ที่วินิจฉัยในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่าผู้ร้องได้อ่านหรือทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่31มกราคม2534แล้วตั้งแต่วันที่25ธันวาคม2534จึงให้ถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534ให้ผู้ร้องฟังแล้วนับแต่วันที่25ธันวาคม2534ผู้ร้องไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบอย่างไรหรือไม่จึงต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534ให้ผู้ร้องฟังแล้วตั้งแต่วันที่25ธันวาคม2534การที่ผู้ร้องยื่นฎีกาฉบับลงวันที่8เมษายน2536คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534มาดังกล่าวจึงเป็นการยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังฎีกาของผู้ร้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดโทษและการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา และการพิจารณาความผิดฐานไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุดไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลงแต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่ชำระหนี้ค่าเช่าตามสัญญา และผลของการวางทรัพย์ผิดสถานที่
ตามสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส.มิได้ระบุเรื่องสถานที่ชำระค่าเช่าไว้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 324 บัญญัติว่าต้องชำระหนี้ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ ฉะนั้นแม้ทางปฏิบัติ ส.จะให้คนไปเก็บค่าเช่าก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส.เท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาททำให้จำเลยทั้งสองมีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส.หาโอนมาด้วยเพราะไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า การที่โจทก์นำค่าเช่าไปวาง ณสำนักงานวางทรัพย์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยแล้วโจทก์จึงผิดนัดชำระค่าเช่า
สำนวนคดีที่สองซึ่งรวมพิจารณากับคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองให้เป็นโทษแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองจึงไม่ชอบ
สำนวนคดีที่สองซึ่งรวมพิจารณากับคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองให้เป็นโทษแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่า ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้ และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส. มิได้ระบุเรื่องสถานที่ชำระค่าเช่าไว้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324บัญญัติว่าต้องชำระหนี้ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ ฉะนั้นแม้ทางปฏิบัติ ส. จะให้คนไปเก็บค่าเช่าก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ทำให้จำเลยทั้งสองมีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. หาโอนมาด้วยเพราะไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า การที่โจทก์นำค่าเช่าไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยแล้วโจทก์จึงผิดนัดชำระค่าเช่า สำนวนคดีที่สองซึ่งรวมพิจารณากับคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองให้เป็นโทษแก่โจทก์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สอง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษให้ถูกต้อง
ปัญหาว่าอาคารที่ปลูกสร้างจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมหรือไม่ แต่กลับอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชยกรรมจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กฎหมายที่บังคับขณะที่กระทำผิดและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีทั้งส่วนที่เป็นคุณและไม่เป็นคุณคละกัน ศาลใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับกฎหมายและวางโทษใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทขอพิจารณาใหม่หลังศาลพิพากษาคดีขาดนัด และการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัดหากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาสผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาสผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยเสียชีวิต แม้ศาลตัดสินแล้ว คดีไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาส ผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้อง อย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไป จากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง