คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: คำสั่งศาลที่ยังไม่ถึงที่สุด ไม่กระทบสิทธิฟ้องในคดีอื่น
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากอาคารพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นศาลได้มีคำสั่งในคดีตั้งผู้จัดการมรดกให้เพิกถอนโจทก์ทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่คดียังไม่ถึงที่สุด เพราะโจทก์อุทธรณ์คำสั่งในคดีดังกล่าวอยู่ แม้จำเลยจะเป็นผู้ร้องขอให้ถอน โจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนั้นก็ตาม แต่ก็เป็นคู่ความคนละคดีกัน จำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล จะยกขึ้นใช้อ้างอิงหรือใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา145(1) ก็ต่อเมื่อเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องอุทธรณ์คดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403-1404/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนนาที่เช่าเมื่อมีการขายฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และขอบเขตการอุทธรณ์คดีมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่า 20,000 บาท
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 คดีสำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เข้าทำนาไม่ได้จากจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ผู้เช่านาจากจำเลยที่ 2 มาก่อน ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันโดยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ขายนาพิพาทแก่โจทก์และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาต่อมา ดังนี้คดีสำนวนหลังเป็นการฟ้องในมูลละเมิดทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 จำเลยที่2 อุทธรณ์ประเด็นที่ว่า โจทก์มิใช่ผู้เช่านาพิพาท จึงไม่มีสิทธิซื้อนาคืนและไม่ได้รับความเสียหายเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับสำนวนแรกที่ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาจากจำเลยที่ 2 หรือไม่
จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อใช้สิทธิซื้อก่อนตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 วรรคแรก บังคับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 ในราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ได้ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่มาตรา 41วรรคสี่ บัญญัติไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403-1404/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนนาที่เช่า เมื่อผู้ขายไม่แจ้งสิทธิก่อนตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 คดีสำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เข้าทำนาไม่ได้จากจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ผู้เช่านาจากจำเลยที่ 2 มาก่อน ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันโดยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ขายนาพิพาทแก่โจทก์และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาต่อมา ดังนี้คดีสำนวนหลังเป็นการฟ้องในมูลละเมิดทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ประเด็นที่ว่า โจทก์มิใช่ผู้เช่านาพิพาท จึงไม่มีสิทธิซื้อนาคืนและไม่ได้รับความเสียหายเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับสำนวนแรกที่ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาจากจำเลยที่ 2 หรือไม่
จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อใช้สิทธิซื้อก่อนตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 วรรคแรก บังคับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 ในราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ได้ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่มาตรา 41 วรรคสี่ บัญญัติไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายหลังการให้โดยเสน่หาและการประพฤติเนรคุณ ศาลจำกัดขอบเขตการเพิกถอนเฉพาะจำเลยที่ 1
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา แล้วจำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ และขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่าเป็นการสมยอมกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์ก็ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 คืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากับมิได้อุทธรณ์ คงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายหลังการฟ้องเพิกถอนการให้โดยเสน่หา จำเลยซื้อโดยสุจริต
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา แล้วจำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ และขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่าเป็นการสมยอมกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์ก็ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 คืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากับมิได้อุทธรณ์ คงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานและการแยกพิจารณาค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โดยไม่มีความผิดและมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งยังไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายนั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ด้วย เมื่อนายจ้างและลูกจ้างประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกจ้างยอมรับค่าชดเชย ค่าครองชีพและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตกลงยอมสละข้ออ้างและคำขออื่นทั้งหมด จะไม่รื้อร้องฟ้องคดีเกี่ยวกับมูลความเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการตกลงระงับสิทธิของลูกจ้าง ที่จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์เลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าวอีก
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยังศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานและการระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โดยไม่มีความผิดและมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าทั้งยังไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายนั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ด้วย เมื่อนายจ้างและลูกจ้างประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกจ้างยอมรับค่าชดเชย ค่าครองชีพและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและตกลงยอมสละข้ออ้างและคำขออื่นทั้งหมด จะไม่รื้อร้องฟ้องคดีเกี่ยวกับมูลความเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการตกลงระงับสิทธิของลูกจ้าง ที่จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์เลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าวอีก
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยัง ศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลและการถอนฎีกา: สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปเมื่อถอนฎีกาเป็นอันยุติ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อแพ้ชนะในข้อหาแห่งคดี หรือขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แต่มิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้แก่โจทก์ ในชั้นฎีกา แม้โจทก์จะขอให้ศาลฎีกาสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็ขอถอนฎีกาเสียแล้ว ปัญหาค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกา: การเสียค่าขึ้นศาลตามลักษณะคำร้อง และผลของการถอนฎีกาต่อการเรียกร้องค่าขึ้นศาลคืน
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อแพ้ชนะในข้อหาแห่งคดี หรือขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แต่มิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้แก่โจทก์ในชั้นฎีกา แม้โจทก์จะขอให้ศาลฎีกาสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็ขอถอนฎีกาเสียแล้ว ปัญหาค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินไปนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่สามารถรื้อฟื้นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วได้ และจำเลยร่วมไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมา จำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถีง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกา ประเด็นที่ว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ 1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้นจะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
of 21