คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฎีกา คดีอาญา การสละสิทธิฎีกา และผลของการสิ้นสุดคดี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะข้อที่ให้นับโทษต่อจากคดีอื่น แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด (สิ้นสุดระยะอุทธรณ์) ไม่ใช่วันอ่านฎีกาตีความสัญญา
ทนายความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วจำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาล และไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป ถือว่าคดีถึงที่สุด เมื่อสิ้นกำหนดระยะอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ถึงหากโจทก์ในคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ในคดีนี้รับเป็นทนายให้ได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องตีความสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ตามแต่โจทก์ (คดีนี้) ก็มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องนั้นคดีที่จำเลยในคดีนี้ (โจทก์ในคดีก่อน) จ้างโจทก์ว่าความถึงที่สุด เมื่อสิ้นกำหนดระยะอุทธรณ์ มิใช่ถึงที่สุดในวันอ่านคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการตีความใน สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ใช่เมื่อมีคำพิพากษาฎีกาตีความสัญญายอมความ
ทนายความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วจำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาล และไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป ถือว่าคดีถึงที่สุด เมื่อสิ้นกำหนดระยะอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ถึงหากโจทก์ในคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ในคดีนี้รับเป็นทนายให้ได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องตีความสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ตามแต่โจทก์ (คดีนี้) ก็มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องนั้นคดีที่จำเลยในคดีนี้ (โจทก์ในคดีก่อน) จ้างโจทก์ว่าความถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะอุทธรณ์ มิใช่ถึงที่สุดในวันอ่านคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ติดใจอุทธรณ์คดีหนึ่ง ไม่ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย อ้างว่าจำเลยขับรถโดยประมาทชนรถซึ่งบิดาโจทก์ขับ ทำให้บิดาโจทก์ตาย จำเลยก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากรถเกิดชนกันครั้งเดียวกันนั้นด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีรวมกัน แล้วฟังว่า เหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของจำเลยพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และยกฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ คงอุทธรณ์แต่คดีที่ถูกโจทก์ฟ้องแต่คดีเดียวว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้ประมาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้ที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดเพราะขับรถโดยประมาทชนกับรถบิดาโจทก์จริงหรือไม่ ยังไม่ยุติ จะถือเอาการที่ไม่ติดใจอุทธรณ์คดีที่จำเลยฟ้องนั้น เป็นการปิดปากว่าจำเลยยอมรับข้อนี้แล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามแผนที่ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นแก้ไขเขตที่พิพาทไม่ได้ ขัดมาตรา 143
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องมีผลบังคับใช้ การแก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดค้านสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดจากความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลบังคับใช้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้านก็ยังมีสิทธิขอห้ศาลบังคับจำเลยตามแผ่นที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตพิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องผูกพันตามคำพิพากษา ศาลมิอาจแก้ไขขอบเขตใหม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่. โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน. มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน. สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง. บางคนไม่ปฏิเสธ. แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง.
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้. เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง. ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง. คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. ไม่มีผลใช้บังคับ. แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน.ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้. กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2509 วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลาง นับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอคืนของกลาง: เริ่มนับจากวันที่ศาลอ่านคำสั่งถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษา
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่15 มีนาคม 2509. วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา. ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา. จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย. และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2509. วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง. ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง.การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลางนับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป. การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2509วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟังการนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลางนับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไปการที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)
of 21