คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในสัญญากู้ และผลกระทบต่อการบังคับคดีเมื่อไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 22,500 บาท จำเลยปฏิเสธว่า ไม่ได้กู้ สัญญากู้ปลอม ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้จริง 2,500 บาท ส่วนเลข 2 และ คำว่า สองหมื่นโจทก์เติมลงไป จึงให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 2,500 บาท โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิด 22,500บาท จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังว่ามีการตกเติมจำนวนเงินให้มากขึ้นจริงแต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรับผิด 2,500 บาทจึงไม่มีประเด็นสำหรับเงินจำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดสืบพยานและการขาดนัดพิจารณา: การตีความรายงานการพิจารณาคดี และขอบเขตการขาดนัด
จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน เมื่อสืบพยานจำเลยบางคนแล้ว ศาลเลื่อนไปสืบพยานจำเลยต่อ ครั้งถึงวันนัด คู่ความขอเลื่อนคดี ศาลให้เลื่อนไปสืบพยาน 2 วัน ติดต่อกัน แต่จดรายงานพิจารณาไขว้เขวไปว่า "ให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันที่ 19-17 เดือนหน้าเวลา 9.30 น. ตามที่ตกลงกัน" ดังนี้ ต้องหมายความว่า ให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยก่อนแล้วจึงสืบพยานโจทก์ต่อไป
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อถึงวันนัดสืบในวันที่ 16 จำเลยและโจทก์ไม่มาศาล โดยพยานจำเลยที่ขอหมายเรียกไว้มีถึง 4 คน จะถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบด้วยไม่ได้ หรือสมมติว่าในวันที่ 16 นั้น จำเลยแถลงไม่สืบพยานโจทก์ไม่รู้ตัวจึงไม่ได้เช่นเดียวกัน และการที่โจทก์จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งต่อๆ ไปเช่นในกรณีนี้ จะถือว่าขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 ไม่ได้เพราะการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา +++ ต้องเป็นการขาดนัดในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน ไม่ใช่วันสืบพยานครั้งต่อๆ มา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันสิ้นสุดอายุอุทธรณ์ตรงกับวันหยุด ต้องนับวันทำงานใหม่เป็นวันสุดท้าย และผลต่อการได้รับพระราชทานอภัยโทษ
เมื่อวันสิ้นหรือวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์ เป็นวันอาทิตย์หรือวันหยุด ต้องนับวันเริ่มทำงานใหม่เป็นเป็นวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์
นักโทษเด็ดขาด ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2500 ให้หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ซึ่งหมายแดงแจ้งโทษเด็ดขาดได้ออกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันสุดท้ายอุทธรณ์เป็นวันหยุด-ราชการ ต้องนับวันทำงานใหม่เป็นวันสิ้นสุดอายุอุทธรณ์ การออกหมายแดงชอบแล้ว
เมื่อวันสิ้นหรือวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์ เป็นวันอาทิตย์หรือวันหยุด ต้องนับวันเริ่มทำงานใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์
'นักโทษเด็ดขาด'ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2500 ให้หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ซึ่งหมายแดงแจ้งโทษเด็ดขาดได้ออกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาชั่วคราวเพื่อยื่นใหม่ภายในอายุความ และการพิจารณาข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับฟ้อง
ในคดีอาญา จำเลยถอนฎีกาโดยกล่าวว่า ขอถอนชั่วคราวเพื่อไปจัดทำฎีกามายืนใหม่ เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาใหม่ภายในอายุความฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2503)
โจทก์กล่าวฟ้องมีสาระสำคัญว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง และด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุในรถของจำเลยชนและทับผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตาย ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง แม้เมื่อเข้าทางโค้งก็มิได้ลดความเร็วเป็นเหตุให้รถจำเลยชนเสาบอกแนวโค้งของถนนแล้วแฉลบไปชนผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตาย ดังนี้ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาชั่วคราวเพื่อยื่นใหม่ภายในอายุความฎีกา และการพิจารณาความแตกต่างระหว่างข้อกล่าวหาในฟ้องกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา
ในคดีอาญา จำเลยถอนฎีกาโดยกล่าวว่าขอถอนชั่วคราวเพื่อไปจัดทำฎีกามายื่นใหม่เมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาใหม่ภายในอายุความฎีกา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2503)
โจทก์กล่าวฟ้องมีสาระสำคัญว่าจำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงและด้วยความประมาทปราศจากการระมัดระวังเป็นเหตุให้รถของจำเลยชนและทับผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตายทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงแม้เมื่อเข้าทางโค้งก็มิได้ลดความเร็ว เป็นเหตุให้รถจำเลยชนเสาบอกแนวโค้งของถนนแล้วแฉลบไปชนผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตายดังนี้ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็นจึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้อง ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกา คู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกระทงความผิดทางอาญาและการถอนฟ้องของผู้เสียหาย ศาลฎีกาแก้โทษจำเลยเหลือความผิดฐานฉุดคร่าอนาจารเพียงกระทงเดียว
ศาลอุทธรณ์พิพากษารวมกระทงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม. 243 และ 276 เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกับจำเลยสำหรับความผิดตาม ม.243 แล้ว ศาลฎีกาพิพากษาแก้ว่า จำเลยมีความผิดตาม ม.246 เพียงกระทงเดียว และศาลฎีกา มีอำนาจกำหนดโทษสำหรับความผิดตาม ม.276 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกระทงความผิดทางอาญาและการถอนฟ้องของผู้เสียหาย ศาลฎีกาแก้พิพากษาเหลือความผิดกระทงเดียว
ศาลอุทธรณ์พิพากษารวมกระทงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 243 และ 276 เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกับจำเลยสำหรับความผิดตาม มาตรา 243 แล้ว ศาลฎีกาพิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดตาม มาตรา 276 เพียงกระทงเดียว และศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษสำหรับความผิดตาม มาตรา 276 ได้
of 21