คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องคดีก่อนถึงที่สุด เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุดเพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นผลให้ได้กรรมสิทธิ์เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้สอดร้องขอไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้น ตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน 10 ปีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินประกันค่าเสียหาย: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจากรายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางหลักประกันชั่วคราวหลังคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจาก รายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะ เวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าธรรมเนียมแทนจำเลยในคดีแพ่ง ผู้ชำระไม่มีสิทธิขอคืนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กองมรดกของจำเลยร่วมกันชำระเงิน แก่โจทก์ กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลย อุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลภายในกำหนด ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของจำเลยจึงได้ขออนุญาตนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและได้สั่งรับอุทธรณ์จำเลยแล้วแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตและคืนค่าขึ้นศาลให้กึ่งหนึ่งไปแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลซึ่งตามคำร้องผู้ร้องระบุชัดว่า ขอวางแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย และการวางเงินดังกล่าวเป็นผลให้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว เมื่อจำเลยของถอนอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยังมีผลบังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมมีสิทธิรับเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้และเมื่อผู้ร้องวางเงินจำนวนดังกล่าวแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ย่อมมีผลเท่ากับผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยที่ 1เป็นผู้วางเอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินนั้นคืน แม้ว่าจะเป็นเงินส่วนตัวของผู้ร้องเองก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด, ความรับผิดร่วม, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์, การจดทะเบียนซ้ำ, การยุยงพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ยุยงพนักงานโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2534 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะส่งยาให้โจทก์จำหน่าย โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้จึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้นับจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 โจทก์มีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความ แม้จะอ้างว่าทำสัญญาโดยถูกฉ้อฉลภายหลัง
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วยหลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าวจำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วย หลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดโดยมูลค่าคดี และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริงและยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกับคืนค่าขึ้นศาลฎีกาให้ผู้ร้อง
of 21