คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 147

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แม้มีการแบ่งแยกที่ดิน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครั้งแรกว่า ศาลชั้นต้นชอบที่จะต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ให้ได้ความเสียก่อนว่าเป็นความจริงตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่หรือไม่อย่างไร หากฟังได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 และ 43799เป็นที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย และจำเลยยังไม่ได้ขายเพื่อนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่และทายาทภายในกำหนดสัญญา โจทก์ทั้งสี่ก็ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้และพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นครั้งแรก ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ทั้งสี่และจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงถึงที่สุด ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่และมีคำสั่งใหม่แล้ว ดังนี้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่จะสามารถอ้างสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เพราะเหตุมีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ออกเป็นแปลงย่อยหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกแล้วว่าโจทก์ทั้งสี่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมได้ จำเลยจึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาได้อีก
ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตามที่เป็นจริงได้ แม้โจทก์และจำเลยจะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 โดยจำเลยคงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 และ 43799ให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละหนึ่งในหกส่วนก็ตาม แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 เป็นที่ดินที่แยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้ และโจทก์ทั้งสี่ได้แก้ฎีกาว่าที่ดินทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ด้วย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องกรรมสิทธิ์มรดกที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของม. ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ ม.ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสองป.และ พ.รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของม.ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป.บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม.ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยเรื่องมรดกของ ป.จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวล ป.วิ.พ.มาตรา144 วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ.2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป.และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการวางทรัพย์และการเพิกถอนการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 ได้นำรถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อพร้อมกับค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียมไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์และแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วก่อนโจทก์ขอหมายบังคับคดี ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับคดีอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2โดยผิดหลงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิเรียกโจทก์มาถอนการยึดทรัพย์รายนี้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า รถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 นำมาวางต่อสำนักงานวางทรัพย์มีสภาพเสื่อมโทรมโจทก์จึงไม่รับนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาเพียงว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถจักรยานยนต์ ฯลฯ เท่านั้น มิได้ระบุว่ารถจักรยานยนต์จะต้องมีสภาพอย่างไรและโจทก์มิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอจัดการมรดกซ้ำ และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน
ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้องแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาลส่วนผู้ร้องที่1กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่2และที่3ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่2และที่3แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วยจึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าพินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคารห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลยคดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วมจึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าหากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามากเพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกันทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมากไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้องจึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรมมีสิทธิจัดการมรดกตามพินัยกรรมได้หากมีส่วนได้เสีย
ปัญหาว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาล ส่วนผู้ร้องที่ 1 กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้ แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย จึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้ พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคาร ห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่า ผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วม จึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก เพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกัน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: งดบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในมรดกที่ยังไม่ยุติ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยที่1กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีการบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปและหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้วการบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีจึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีชั่วคราวรอผลคดีมรดก: ศาลมีดุลพินิจชอบธรรมเพื่อความยุติธรรม
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้ หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีรอผลคดีมรดก: ปัญหาความขัดแย้งคำพิพากษาและผลกระทบต่อคู่ความ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อไม่ฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่29ธันวาคม2537ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่1และที่2ทราบโดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่15มกราคม2538แต่ปรากฎว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วเมื่อปิดหมายแจ้งวันนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทนทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่มกราคม2538ส่วนจำเลยที่1และที่2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่31มกราคม2538เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่2กุมภาพันธ์2538นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา140(3)วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่3มีนาคม2538เป็นต้นมาแล้วการที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่26มิถุนายน2538ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล
of 21