พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยการปิดหมายและการถือว่าคู่ความทราบวันนัดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2 กุมภาพันธ์ 2538 โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2537 ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่ 15 มกราคม2538 แต่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อการปิดหมายแจ้งวัดนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทน ทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2538 ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2538 เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่าน โดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 นั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น คำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่ 3 มีนาคม 2538 เป็นต้นมาแล้ว การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นเดิมที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เป็นการรื้อฟื้นคดีที่ต้องห้าม
ตามคำร้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่า โจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัด ขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า "ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ ค่าคำร้องเป็นพับ" โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้า จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร หรือเพราะเหตุใด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกฎีกาโจทก์ และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟ้องซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
ตามคำร้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่าโจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัดขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า"ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ค่าคำร้องเป็นพับ"โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรหรือเพราะเหตุใดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงพิพากษายกฎีกาโจทก์และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้วการที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วจึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีกที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำที่ศาลชั้นต้นหลังมีคำพิพากษาฎีกาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการรื้อฟื้นคดีที่ต้องห้าม
ตามคำร้องของ โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่า โจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัด ขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า "ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ ค่าคำร้องเป็นพับ" โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร หรือเพราะเหตุใด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกฎีกาโจทก์ และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีกที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าหุ้นค้างชำระ: ระยะเวลา 10 ปีนับจากคดีถึงที่สุด & การอ้างเอกสารในสำนวน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้อ้างสรรพเอกสารในสำนวนทวงหนี้ลูกหนี้รายผู้ร้องเป็นพยาน โดยระบุไว้ในบัญชีพยานแล้ว แม้จะขออ้างส่งเฉพาะเอกสารบางฉบับในสำนวนก็ไม่จำต้องยื่นบัญชีพยานหรือขอระบุพยานเพิ่มเติมต่างหากอีก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกหนี้ค่าหุ้นที่ค้างชำระจากผู้ร้อง ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุดนับแต่ระยะเวลาที่อาจฎีกาได้สิ้นสุดลง ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด?
ป.วิ.พ.มาตรา 271 ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมมีผลต่อคดีแพ่ง จำเป็นต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะขาดเจตนา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมแต่พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1นั้นจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่2อุทธรณ์เฉพาะในข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่2ไม่มีเจตนากระทำความผิดในการใช้พินัยกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และ268เพราะไม่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้นโจทก์และจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดแต่ปัญหาข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่นี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดและหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความในคดีนี้ในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่อีกในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีนี้ซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2คดีนี้จึงถือว่าปัญหานี้เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมฉ้อฉล การคืนทรัพย์สิน และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การขอใบสำคัญเพื่อแสดงว่าคำพิพากษาในคดีใดได้ถึงที่สุดแล้วต้องเป็นกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วโดยไม่มีการ อุทธรณ์หรือฎีกากันอีกทั้งคดี แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมา ไม่อาจทำให้คดี เสร็จไปทั้งเรื่องจึงถือไม่ได้ว่าคดีได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย ศาลจึงพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยมิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 วรรคท้าย และมาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อนิติกรรมเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้วถือได้ว่า ตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 138 วรรคท้าย เดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมจากกลฉ้อฉล สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย และการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีนี้แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมานั้น ไม่อาจทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่
การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อยินยอมโอนที่ดินให้แก่จำเลย อันเป็นการทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ ดังนั้นสัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้ว สัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก อันมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม จำเลยจะต้องโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้รับจากจำเลยไปแล้วทั้งหมดแก่จำเลยและในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย และคดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือมีคำขอให้โจทก์ต้องรับผิดคืนค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 213วรรคท้าย และ มาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้ว ถือได้ว่าตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัยเท่านั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อยินยอมโอนที่ดินให้แก่จำเลย อันเป็นการทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ ดังนั้นสัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้ว สัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก อันมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม จำเลยจะต้องโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้รับจากจำเลยไปแล้วทั้งหมดแก่จำเลยและในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย และคดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือมีคำขอให้โจทก์ต้องรับผิดคืนค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 213วรรคท้าย และ มาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้ว ถือได้ว่าตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัยเท่านั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล สัญญาโมฆียะ การบอกล้างโมฆียะ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คดีนี้แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมานั้น ไม่อาจทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อยินยอมโอนที่ดินให้แก่จำเลย อันเป็นการทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ดังนั้นสัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้ว สัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก อันมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 138 วรรคท้าย เดิมจำเลยจะต้องโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้รับจากจำเลยไปแล้วทั้งหมดแก่จำเลยและในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย และคดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือมีคำขอให้โจทก์ต้องรับผิดคืนค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วย ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 วรรคท้าย และ มาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้ว ถือได้ว่าตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 138 วรรคท้ายเดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังกล่าวเป็น การพ้นวิสัยเท่านั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้