พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง ถือเป็นความผิดสองกรรม ปรับตามอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 หมายความว่าผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดีผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดีการกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา31ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นยกข้อเท็จจริงต่างๆ ขึ้นวินิจฉัยแล้วสรุปว่าพยานหลักฐานยังไม่มั่นคงพอจะฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดและพิพากษายกฟ้อง. แล้วโจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาพร้อมกับยกข้อเท็จจริงซึ่งต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขึ้นอ้างนั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องอยู่ในตัว. จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยก็ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือหยิบยกเอาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วขึ้นวินิจฉัยใหม่แต่ประการใด.