คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9454/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังถอนฟ้องคดีเดิม: โจทก์มีสิทธิฟ้องได้หากคดีใหม่มีประเด็นต่างจากเดิม
โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 ต่อศาลจังหวัดนางรอง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ป.อ. มาตรา 83, 91, 341 กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 482,000 บาท แก่ผู้เสียหายต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2545 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่คดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ โจทก์ร่วมได้ถอนฟ้องไปในภายหลังที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้และภายหลังที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ย่อมไม่มีผลกระทบต่อคดีนี้จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 36 (3) และ 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหลังศาลเปลี่ยนข้อกล่าวหา
แม้ความผิดที่โจทก์ฟ้องคือความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์จะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกและศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกอันเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: ครอบครองยาเสพติดต่างสถานที่ แต่มีเจตนาเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์จับกุมขณะขับรถยนต์พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 100 เม็ด จำเลยยอมรับว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนอีกบางส่วนเก็บไว้ที่บ้านด้วย เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยไปตรวจค้นที่บ้านพักซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น พบเมทแอมเฟตามีนอีก 26 เม็ด เจ้าพนักงานตำรวจแยกดำเนินคดีเป็น 2 คดี แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะตรวจค้นเมทแอมเฟตามีนได้ต่างสถานที่กันเป็นเพราะการแยกเก็บรักษาหรือซุกซ่อนเท่านั้น เหตุที่มีการตรวจค้นบ้านจำเลยหลังจากถูกจับกุมหลายชั่วโมง เนื่องมาจากกระบวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ ลำพังเพียงการตรวจยึดได้ของกลางต่างเวลากันไม่ทำให้การที่จำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนทั้งสองส่วนไว้ในคราวเดียวกันกลายเป็นการกระทำต่างกรรม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อคดีแรกศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดและคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันเมื่อมูลหนี้ระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง
กรณีคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่จำเป็นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอาญา
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9286/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความกับการระงับคดีอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค การสิ้นสุดหนี้และคดีเลิกกัน
มูลหนี้ตามเช็คผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินทางแพ่ง ต่อมาผู้เสียหายและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็ค เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ผู้เสียหายคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาผู้เสียหายและจำเลยจะตกลงกันว่า ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลสมบูรณ์ในคดีอาญาเมื่อจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว และตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่า คดีอาญาให้เป็นไปตามข้อตกลงในคดีอาญา หากจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ (ผู้เสียหาย) ครบถ้วน โจทก์ (ผู้เสียหาย) ในฐานะผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หากจำเลยผิดนัดขอให้ศาลดำเนินคดีอาญาต่อไปตามรูปคดีก็ตามแต่กรณีดังกล่าวเป็นคนละกรณีกันกับคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาอันเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่การยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่เป็นกรรมเดียว
คดีก่อนศาลจังหวัดกาญจนบุรีฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่า เหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีดังกล่าว ดังนั้นแม้มีการจับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า จำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ – สิทธิฟ้องระงับ – ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีอาญาเดียวกัน
โจทก์คดีนี้กับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งต่างเป็นผู้เสียหาย และต่างฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดอันเดียวกัน เมื่อคดีนั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) แม้ว่าโจทก์คดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์คดีดังกล่าว และฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนก็ตาม มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าจำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีในการกระทำความผิดอันเดียวกันซ้ำสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดดูหมิ่น + อำนาจศาลพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 ขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มรตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความสลายคดีอาญา: การหาหลักประกันตามข้อตกลง ระงับความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมโดยจำเลยจะหาหลักประกันมาให้โจทก์ร่วมด้วย ตกลงกันว่าหากจำเลยหาหลักประกันมาให้ได้โจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำที่ดินมาจำนองแก่โจทก์ร่วมเพื่อเป็นประกันหนี้แล้ว เท่ากับจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลง จึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอให้จำเลยคืนเงินที่ยักยอกไปย่อมตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเบิกความเท็จซ้ำซ้อน สิทธิฟ้องระงับหากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเดียวกัน
จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จโดยมีเจตนาเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ศาลเชื่อถึงที่มาของที่ดินทั้งสองแปลงอันเป็นเหตุที่มูลนิธิสีมาสงเคราะห์ควรจะได้กรรมสิทธิ์ แม้การเบิกความของจำเลยทั้งสองจะทำให้ทั้งโจทก์และสมาคมกำเนิดมิตรเจริญสงเคราะห์ได้รับความเสียหาย แต่ก็เป็นการกระทำเพียงกรรมเดียวซึ่งควรที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกลงโทษเพียงครั้งเดียว เมื่อสมาคมกำเนิดมิตรเจริญสงเคราะห์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำเบิกความดังกล่าวว่าเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป
of 33