พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาตกทอดแก่ทายาท ผู้จัดการมรดกมีสิทธิถอนคำร้องได้ แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่าบรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และผลกระทบต่อการระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน ถ้าผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่างกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจในการลดโทษ
การกระทำความผิดอาญาในคดีก่อนเป็นคนละตอนกับการกระทำความผิดคดีนี้ เมทแอมเฟตามีนก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุข้อความปฏิเสธการยอมความในคดีอาญาในสัญญา ไม่ขัดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
การยอมความกันที่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องเป็นการแสดงเจตนาของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาหรือเอาผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ข้อความที่ว่า "การยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา" มีความหมายว่าโจทก์ไม่ให้ถือเอาความตกลงยินยอมรับชำระหนี้จากจำเลยตามที่ระบุในหนังสือรับสภาพความรับผิดและบันทึกรับสภาพหนี้เป็นการตกลงยอมความในคดีอาญา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ทำเช่นนั้น ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเป็นสิทธิผู้เสียหายโจทก์ที่จะยอมความในคดีอาญาอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือไม่ก็ได้ การระบุข้อความเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มละคดี เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีหนึ่งไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่ถือเป็นกรรมเดียวกัน
คดีก่อนศาลฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรระบุว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้องฐานรับของโจร ก็ต้องถือว่าจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวในช่วงเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องคดีนี้ด้วย ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยได้รับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้ต่างกรรมต่างวาระกันและเจ้าพนักงานจับจำเลยและยึดของกลางคดีทั้งสองสำนวนได้ในคราวเดียวกัน แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรคดีนี้ในคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาจากการไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน: ความผิดธรรมดา ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสรีธรรมแล้ว เป็นผลให้สมาชิกภาพของจำเลยและตำแหน่งกรรมการสาขาพรรคของจำเลยสิ้นสุดลงในวันที่ 6 กันยายน 2544 และจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการในพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง แต่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 ตุลาคม 2545 จำเลยก็ยังมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำเลยจึงมีความผิดเมื่อพ้นกำหนด 30 วันดังกล่าว คือ มีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 84 ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และระวางโทษดังกล่าวมีอายุความเพียง 1 ปี ตามอายุความคดีอาญาทั่วไปใน ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5)
จำเลยมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2544 จำเลยจึงมีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 การกระทำโดยการงดเว้นและเจตนามิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ้น สำเร็จเป็นความผิด เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด เป็นความผิดธรรมดาที่เกิดจากการกระทำครั้งเดียว กฎหมายมิได้บัญญัติให้แม้ภายหลังจากนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดต่อเนื่อง ส่วนการที่จำเลยยังคงมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อมาถึงวันฟ้องเป็นเพียงผลของการกระทำโดยการงดเว้นดังกล่าวเท่านั้น ส่วนที่ความผิดดังกล่าวมีระวางโทษให้ปรับเป็นรายวันต่อไปอีกตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นเป็นเพียงบทกำหนดโทษ เป็นบทบังคับคดีให้ผู้กระทำความผิดยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อนายทะเบียนพรรคให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็ว เมื่อมิใช่ความผิดต่อเนื่องอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ที่จำเลยมีความผิด โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
จำเลยมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2544 จำเลยจึงมีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 การกระทำโดยการงดเว้นและเจตนามิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ้น สำเร็จเป็นความผิด เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด เป็นความผิดธรรมดาที่เกิดจากการกระทำครั้งเดียว กฎหมายมิได้บัญญัติให้แม้ภายหลังจากนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดต่อเนื่อง ส่วนการที่จำเลยยังคงมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อมาถึงวันฟ้องเป็นเพียงผลของการกระทำโดยการงดเว้นดังกล่าวเท่านั้น ส่วนที่ความผิดดังกล่าวมีระวางโทษให้ปรับเป็นรายวันต่อไปอีกตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นเป็นเพียงบทกำหนดโทษ เป็นบทบังคับคดีให้ผู้กระทำความผิดยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อนายทะเบียนพรรคให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็ว เมื่อมิใช่ความผิดต่อเนื่องอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ที่จำเลยมีความผิด โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่เป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ตกลงว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และคดีอื่นๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,677,063.59 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป หากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้นอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันที จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการฟ้องร้องที่ไม่สุจริต สิทธิฟ้องคดีหลังยังคงมี
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างเสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่