คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิการฟ้องคดีอาญา แม้ศาลวินิจฉัยสถานะผู้เสียหาย
ปัญหาที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มีว่า ผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือไม่ แต่เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ศาลฎีกาก็ต้องพิพากษายกฟ้องดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายส่งผลให้คดีอาญาเป็นอันระงับ แม้ศาลจะวินิจฉัยสถานะผู้เสียหาย
ในชั้นฎีกามีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือไม่ แต่เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าวสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไปตามมาตรา 39(2) แล้วหากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ก็ต้องพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การฟ้องซ้ำหลังจำหน่ายคดี ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คคือวันที่ 8 มีนาคม 2543 เมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งมีกำหนดให้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 และ 96 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 5 กันยายน 2543 โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ จึงขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายอาญาภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว มิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงดุสิตได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราศิษย์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ 'ศิษย์' และผลกระทบต่อการลงโทษ
ความหมายของคำว่า "ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์ในการสอนกวดวิชา ซึ่งผู้สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ อีกทั้งไม่ได้ความว่าสถาบันกวดวิชาของจำเลยมีระเบียบหรือข้อเคร่งครัดอย่างใด แสดงว่าจำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่การกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 หากแต่เป็นความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวแต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาแล้ว พออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความสัมพันธ์ในฐานะครู-ศิษย์ และการถอนฟ้อง
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย
จำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์สอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ แสดงว่า จำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาโจทก์ร่วมที่ 2 ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 285 หากเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นพออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 จึงหลอกโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าจะพาไปสมัครแข่งขันวาดภาพโดยให้โจทก์ร่วมที่ 2 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับไป แต่จำเลยกลับขับรถจักรยานยนต์พาโจทก์ร่วมที่ 2 เข้าโรงแรมม่านรูดแล้วข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 การกระทำของจำเลยเป็นการพรากโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5247/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากเช็คเป็นกู้ยืมทำให้สิทธิเรียกร้องเดิมระงับ คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ. เช็ค
หลังจากที่จำเลยเป็นหนี้ค่าทองรูปพรรณและออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว ย. ภริยาโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำหนังสือสัญญากู้ขึ้นมีเนื้อความว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินภริยาโจทก์ไปจำนวน 500,000 บาท จะใช้คืนให้ภายใน 6 เดือนนับจากวันทำสัญญาโดยภริยาโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้และจำเลยลงชื่อเป็นผู้กู้ เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมให้นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเปลี่ยนมาเป็นมูลหนี้กู้ยืมระหว่างจำเลยกับภริยาโจทก์ สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมย่อมระงับสิ้นไป แม้ว่าจำเลยไม่เคยชำระเงินตามสัญญากู้แต่อย่างใดก็หามีผลทำให้การแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวเสียไปไม่ มูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้น จึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาจัดหางานให้คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดทั้งสองฐานจึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดสองฐานนี้อีกไม่ได้ และเมื่อฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ยอมความได้เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง แต่ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจำนวน103,478 บาท จากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
of 33