พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คลดลง
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทแต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสามยังมิได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินยังไม่สิ้นผลผูกพัน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เช็คจากการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายเช็ค จนกว่าจะมีการชำระหนี้
สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยผู้ออกเช็ครวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไปแล้ว เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 27 ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวแล้ว ดังนี้ คดีจึงไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การพรากเด็กเพื่ออนาจาร, การยอมความได้ของความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง แต่เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรง ศาลยกฟ้องข้อหาฆ่าผู้อื่นและอาวุธปืน เนื่องจากอายุความขาด และพฤติการณ์เข้าข่ายป้องกันโดยชอบ
ผู้ตายวิ่งเข้ามาชกจำเลยพร้อมทั้งพูดด้วยว่าจะฆ่าให้ตาย จำเลยถูกชกจนล้มลงผู้ตายคว้าเหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมยาวประมาณ 1 คืบเข้ามาแทงจำเลย จำเลยใช้มือรับจนมีบาดแผลที่ฝ่ามือ จำเลยลุกขึ้นวิ่งหนี ผู้ตายวิ่งตามจำเลยและแทงถูกจำเลยที่ต้นแขนขวาและพยายามจะแทงจำเลยอีกจำเลยจึงชักอาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด โดยมิได้เลือกว่าจะยิงที่ใดและจะถูกผู้ตายหรือไม่ แล้วจำเลยได้หลบหนีไป การที่ผู้ตายใช้เหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมซึ่งสามารถทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้ เป็นอาวุธไล่แทงจำเลย จนกระทั่งจำเลยอยู่ในที่คับขันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพียง1 นัดเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ย่อมเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุอันถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จำคุกไม่เกินห้าปี และโทษปรับไม่เกิน 100 บาทตามลำดับ ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความสิบห้าปี สิบปี และหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2)(3)(5) โจทก์นำคดีมาฟ้องนับแต่วันกระทำความผิดถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบห้าปีแล้ว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จำคุกไม่เกินห้าปี และโทษปรับไม่เกิน 100 บาทตามลำดับ ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความสิบห้าปี สิบปี และหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2)(3)(5) โจทก์นำคดีมาฟ้องนับแต่วันกระทำความผิดถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบห้าปีแล้ว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจรคดีเดียว แม้ผู้เสียหายต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามมาตรา 39(4) วิ.อาญา
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและ บ. ได้พร้อมกันขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน เชียงใหม่ 1 ก -3620 และ บ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้และยึดรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันไว้เป็นของกลาง โดยที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้ไว้คนละคราวกับที่รับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียนเชียงใหม่ 1 ก -3620 จึงต้องฟังว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ของกลางทั้งสองคันไว้ในคราวเดียวกันซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรกรรมเดียว แต่โจทก์ได้แยกฟ้องจำเลยเป็นสองคดีตามจำนวนผู้เสียหายเมื่อจำเลยถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรในคดีก่อนไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรเป็นคดีนี้อีก เพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีดังกล่าว สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานรับของโจรนั้นเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความเสียหายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน, การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดเสียชีวิต
การกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น จึงมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ถึงแม้บทลงโทษในความผิดดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกัน ก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นรายกระทงไป แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติกขนาด9มม. จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซองและปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลาง ที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกยิงตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย. ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้
อาวุธปืนออโตเมติกขนาด9มม. จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซองและปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลาง ที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกยิงตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย. ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา: คำมั่นต่อศาล vs. การสนองรับคำเสนอ
การที่จำเลยแถลงต่อศาลในคดีอาญา ขอให้สัญญาแก่ผู้เสียหายว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้เสียหายภายใน 3 เดือนโดยขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป และผู้เสียหายก็แถลงรับต่อศาลว่า หากจำเลยสามารถปฏิบัติได้ตามที่ให้สัญญา ผู้เสียหายก็จะถอนคำร้องทุกข์และไม่เรียกร้องหนี้จำนวนใดอีก ดังนี้คำแถลงของผู้เสียหายเป็นเพียงการให้คำมั่นต่อศาลมิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยแต่อย่างใดและเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการเลื่อนคดีออกไปตามที่จำเลยแถลง คำแถลงของจำเลยและผู้เสียหายในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย แม้ต่อมาผู้เสียหายจะได้นำเอาข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาไปอ้างในการยื่นฟ้องคดีแพ่งและได้ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องคดีแพ่งไปโดยอ้างเหตุผลว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับหนี้ตามเช็คในคดีนี้เพื่อแสดงว่าสิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายยังไม่ขาดอายุความก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยย่อมฟังได้แต่เพียงว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแพ่งเท่านั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงยังหาได้ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธินำคดีอาญาเนื่องจากคดีซ้ำซ้อน - กรรมเดียวกัน
ก่อนที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวง ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันกับการกระทำผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และศาลแขวงได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องแล้วถือได้ว่ามีคำพิพากษาวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องในกรรมที่ได้ก่อให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มิใช่หมายถึงฐานความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: สันนิษฐานว่าเงินได้มาเกินฐานะ และผู้ต้องหาต้องพิสูจน์ว่าได้มาโดยสุจริต
คดีก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลยและขอให้ริบธนบัตรของกลาง โดยอ้างการกระทำอันจะเป็นเหตุให้ริบธนบัตรว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102แต่คดีนี้พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างเหตุให้ริบธนบัตรจำนวนเดียวกันนั้นว่า เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้แล้วตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 16(3),22,27,29 และ 31เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนจำเลยมิใช่บุคคลคนเดียวกัน ทั้งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลริบธนบัตรแตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการร้องซ้อน หรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา ม.157 ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว สิทธิฟ้องระงับ
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)