คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6836/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ระงับสิ้นสุด ผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คไร้มูล และการจำหน่ายคดี
เมื่อหนี้ตามสัญญาซื้อขายระงับสิ้นไป มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจมีคำสั่งตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ให้รับผลตามคำสั่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความกับคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ และแม้ในสัญญาจะระบุเป็นข้อยกเว้นว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับถือว่ามีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งตกเป็นโมฆะ และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ขณะที่โจทก์ฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องและการกระทำของจำเลยตามฟ้องก็เป็นความผิด เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปภายหลังและความปรากฏขึ้นในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับไปโดยไม่ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาฐานเช็ค
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องและการกระทำของจำเลยตามฟ้องก็เป็นความผิดเมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปภายหลังและความปรากฏขึ้นในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับไปโดยไม่ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องอาญาจากสัญญาประนีประนอมยอมความและการจำหน่ายคดี
ขณะที่โจทก์ฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องและการกระทำของจำเลยตามฟ้องก็เป็นความผิด เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปภายหลังและความปรากฏขึ้นในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเท่านั้นซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับไปโดยไม่ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้ หากเจตนาครอบคลุมถึงผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 เป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ.จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิง ธ.โจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่าตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไปศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แสดงให้เห็นโดยปริยายว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447-3448/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คระงับ
ในคดีแพ่งโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามเช็คพิพาท อันเป็นผลให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)ส่วนการที่สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่มีข้อตกลงอันจะถือว่าเป็นการยอมความในคดีส่วนอาญาก็ดี และโจทก์ร่วมยังไม่ถอนคำร้องทุกข์ก็ดีก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) เท่านั้นซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกันกับคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ค สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทและฟ้องเป็นคดีอาญาขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง โดยมีข้อความระบุว่าไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด ดังนี้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพัน และเมื่อหนี้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา คดีจึงเป็นอันเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปด้วย และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปนี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปได้ ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไป จึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งและตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ (มาตรา 7) โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีใจความว่า หากจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และให้ถือว่าคดีเป็นอันเลิกกัน ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยว่าประสงค์ให้คดีส่วนอาญาเลิกกันต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเจตนาให้คดีอาญาเลิกกันทันทีนับแต่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวคงมีผลให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เดิม และได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เท่านั้น
เมื่อโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้มีเจตนาให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปด้วยในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความในคดีอาญา อันเป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับสิ้นไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39(2)
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีอยู่ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไป โจทก์ย่อมได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น และถือว่าหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 33