พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ความสุจริตในการสู้คดี, และการใช้ดุลพินิจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเนื่องจากเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องจึงต้องคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าใหม่โดยใช้ค่าตัวประกอบภาระไฟฟ้าในช่วงที่ใช้กระแสไฟฟ้าตามความเป็นจริงคำนวณได้เท่ากับ 0.7369 แล้วใช้ค่าตัวประกอบนี้เป็นฐานในการหาหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไปแต่ละเดือนคำฟ้องส่วนนี้แม้จะใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่เป็นการบรรยายวิธีคำนวณตามหลักวิชาการไม่ถือว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่1หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าแล้วจำเลยที่ 3 ยอมชำระแทนทันทีไม่มีข้อโต้แย้งถึงแม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับใดแต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันเองย่อมจะตรวจสอบสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับและให้การต่อสู้คดีได้อยู่แล้วคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับฉบับที่ 1 ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 260,000 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ฉบับที่ 2 ขยายเวลาอีก 1 ปีไปจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 และฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2532 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 แม้หนังสือสัญญาสองฉบับหลังจะสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532พร้อมกันแต่ออกจากธนาคารเดียวกันข้อความฉบับที่ 3 ระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าแทนในจำนวนไม่เกิน 400,000 บาทอันเป็นการจำกัดวงเงินที่ต้องรับผิดไว้ไม่มีข้อความตกลงยอมรับผิดในวงเงินเพิ่มขึ้นจากฉบับอื่นอีกจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 400,000 บาท เท่านั้น โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภคโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าบกพร่องไปมิใช่ฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากละเมิดจึงฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงเมื่อโจทก์ชนะคดีบางข้อและแพ้คดีบางข้อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับแก่ทุกฝ่ายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายสินค้า: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับข้อจำกัดการอุทธรณ์เมื่อทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2533 ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2533 เมื่อนับถึงวันฟ้อง (วันที่ 13 มีนาคม 2535) เกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลย จึงมีอายุความ 5 ปีคดีไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท คดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและการห้ามอุทธรณ์กรณีทุนทรัพย์น้อย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่ 5มกราคม 2533 ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2533 เมื่อนับถึงวันฟ้อง (วันที่ 13 มีนาคม2535) จึงเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลย จึงมีอายุความ 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท คดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการซื้อสินค้า โดยพิจารณาจากใบส่งของชั่วคราวและอุตสาหกรรมที่ซื้อไป
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่5มกราคม2533ถึงวันที่3มีนาคม2533เมื่อนับถึงวันฟ้อง(วันที่13มีนาคม2535)เกินกว่า2ปีสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลยจึงมีอายุความ5ปีคดีไม่ขาดอายุความนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 2 ปี ใบส่งของชั่วคราว และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่5มกราคม2533ถึงวันที่3มีนาคม2533เมื่อนับถึงวันฟ้อง(วันที่13มีนาคม2535)เกินกว่า2ปีสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลยจึงมีอายุความ5ปีคดีไม่ขาดอายุความนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายสินค้า: องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหาใช่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาแล้วนำออกขายเป็นปกติธุระไม่จึงมิใช่เป็นพ่อค้าจะนำอายุความ2ปีมาใช้บังคับกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าอาหารสุกรไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อเชื่ออาหารสุกรจากโจทก์แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่ามีการซื้อขายอาหารสุกรด้วยจริงหรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จำเลยได้แถลงรับว่าจำเลยได้ซื้อและรับมอบสินค้าจากโจทก์ไปจริงเท่ากับได้ สละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องนี้แล้วการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยคดีโดยมิได้ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยเรื่องนี้ก่อนแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินจากการซื้อขายกล่องกระดาษ: ไม่เข้าข่าย 'อุตสาหกรรม' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้น หาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่ เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 วรรคท้าย สิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการทำกล่องกระดาษ: พิจารณาความหมายของ 'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้นหาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีส่งมอบของทำของ พิจารณาจากลักษณะงานที่ทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้หรือไม่
คำว่า "อุตสาหกรรม" หมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของนั้นขึ้นเพื่อให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้เป็นซองเพื่อบรรจุสินค้าเกลืออีเล็คโคสของจำเลยมิใช่เป็นการผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้จำเลยนำไปผลิตเป็นสินค้าแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายจำเลย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าได้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของจากจำเลย จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม