คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/34 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการ, และการฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นอย่างไร อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า: การพิจารณาฐานะผู้ประกอบการค้าของรัฐวิสาหกิจ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการกิจการสาธารณูปโภคตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวงฯ โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการดำเนินการตามวัตถุประสงค์จะได้รับเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินทุนตามมาตรา 12 (3) ด้วยหรือไม่ เป็นความสัมพันธ์ของโจทก์กับรัฐ ส่วนการที่ทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 14 เป็นนิติสัมพันธ์ของโจทก์ฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่เหนือเอกชนเฉพาะการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น สำหรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดหาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนของโจทก์นั้น เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันโดยเฉพาะคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามวัตถุประสงค์ โจทก์จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2540 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2540 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามปกติ อันเป็นการเรียกร้องค่าการงานที่ได้ทำให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าตามฟ้องจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, การโอนสิทธิสัญญา, อายุความ, และการปฏิบัติตามสัญญา
แม้สัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ระหว่างบริษัท ช. กับองค์การ ท. จะมีข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น แต่ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวก็มีข้อยกเว้นไว้โดยหากได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากองค์การท. ก็สามารถโอนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาได้ แสดงว่ามิใช่การห้ามโอนโดยเด็ดขาดและการผิดสัญญาในข้อกำหนดห้ามโอนก็เป็นเพียงการให้สิทธิองค์การ ท. ที่จะบอกเลิกสัญญาได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าทางองค์การ ท. ถือว่าบริษัท ช. กระทำผิดสัญญาและมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาประการใด สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยจึงบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล เพราะเข้าใจว่าโจทก์ได้รับสิทธิมาจากบริษัท ช. นิติกรรมการว่าจ้างจึงเป็นโมฆะนั้น ฎีกาของจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
สัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เป็นความรับผิดระหว่างบริษัท ช. กับองค์การ ท. ซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่ความรับผิดระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นไปตามสัญญาจ้างทำของ เมื่อสัญญาจ้างทำของมิได้ให้ถือเอาสัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างทำของการนับอายุความจึงต้องแยกจากกัน เมื่อสัญญาจ้างทำของกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าการชำระเงินให้ชำระภายใน30 วัน นับจากวันที่ที่ระบุใบแจ้งหนี้ จึงต้องนับอายุความนับแต่นั้น เพราะเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ส่วนก่อนหน้านั้นยังไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/13 หาใช่เริ่มนับแต่วันทำสัญญาหรือถือเอาตามสัญญาเดิม
จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือประกอบกิจการเพื่อรับจ้างทำของให้ ทำการโฆษณาสินค้า โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ สิทธิเรียกร้องจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) เมื่อตามใบแจ้งหนี้ระบุวันที่ครบกำหนดชำระไว้เป็นวันที่ 30 กรกฎาคม2539 โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายในกำหนด2 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ประกอบการค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) สิทธิของโจทก์ในการเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ค้างชำระจึงมีอายุความ 2 ปี
ตามสัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน ค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในเดือนพฤษภาคม2538 ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระเมื่อวันที่ 28มกราคม 2542 เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายไม้: วัตถุประสงค์ทางธุรกิจของผู้ซื้อและผู้ขายมีผลต่อการกำหนดอายุความ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับอนุญาตทำไม้และทำการค้าไม้ส่วนจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการอุตสาหกรรมโรงเลื่อยจักรและโรงงานแปรรูปไม้ตลอดจนจำหน่ายไม้ซุงกระยาเลยทุกชนิด รวมทั้งไม้แปรรูปทุกชนิดและทุกประเภท ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้กระยาเลยท่อนจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่าย จึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาไม้กระยาเลยท่อนที่จำเลยทั้งสองค้างชำระ จึงต้องใช้อายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ผ่อนชำระเป็นงวด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: ผ่อนชำระเป็นงวด vs. ชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9231/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและอายุความสัญญาซื้อขาย: การนับอายุความเริ่มจากวันที่ส่งมอบสินค้า
แม้ขณะที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่เมื่อได้มีการปิดอากรแสตมป์ในชั้นพิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340-8341/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าไฟฟ้า: กรณีไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าทั่วไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตโจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โจทก์ไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้า หากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างเหมาขุดดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งนอกจากโจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวตามสัญญาแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเหมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยด้วย ข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์และจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญา จึงเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระ เช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ประกอบกับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องทางการค้า: การซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้มีอายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการซื้อ ขาย สั่งเข้ามา และส่งออกไป รวมทั้งการซื้อขายในประเทศซึ่ง สินค้าทุกชนิด ซึ่งรวมทั้งเคมีภัณฑ์ทุกชนิด ส่วนจำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการจัดตั้งโรงงานผลิตสี น้ำมันวานิช แลคเกอร์ หมึกพิมพ์ทุกชนิด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายและเพื่อขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ครั้งละมาก ๆ และเป็นเงินจำนวนมากแสดงว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปเพื่อผลิตสี น้ำมันวานิช แลคเกอร์ หมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจำหน่ายและเพื่อขาย มิใช้ซื้อไปเพื่อใช้เป็นการเฉพาะภายในบริษัทจำเลย กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี มิใช่ 2 ปี
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งเป็นการแปลกฎหมายคลาดเคลื่อน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
of 11