คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/34 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าสีระหว่างผู้ประกอบการค้า ลักษณะพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบการค้าขายสินค้าสี ลูกหนี้เปิดร้านประกอบกิจการขายสินค้าสีและวัสดุก่อสร้าง ลูกหนี้ซื้อสินค้าสีจากเจ้าหนี้นำไปขายให้แก่ลูกค้าของลูกหนี้อีกต่อหนึ่ง ดังนี้การซื้อขายสินค้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้จึงมีลักษณะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้ายและมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) การที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าสินค้าสีมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 4เมษายน 2539 แม้จะเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน2535 อันเป็นวันครบกำหนด 90 วัน ที่ลูกหนี้ต้องชำระเงินค่าสินค้าสีที่ลูกหนี้สั่งซื้อครั้งแรกถึงวันฟ้องก็ยังไม่ล่วงพ้นอายุความห้าปี และการที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสีมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้บางหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้อายุความสะดุดหยุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2539 คดีถึงที่สุด จึงเริ่มนับอายุความใหม่ ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสี ตามคำขอรับชำระหนี้จึงไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่หนี้ ค่าขายสินค้าสีถึงกำหนดชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า: การเป็นผู้ประกอบการค้าและการเริ่มนับอายุความ
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเพียงแต่โต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายว่า จากข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย นอกจากโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2506 มาตรา 6 แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิม เป็นคำว่า"ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า หนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินฉบับพิพาทได้มีการ จดหน่วยกระแสไฟฟ้าครั้งสุดท้ายวันที่ 12 เมษายน 2527 ซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2527 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าอันเป็น การเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามเอกสารดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: การชำระหนี้บางส่วนไม่สะดุดอายุความเมื่อยังไม่ถึงกำหนดชำระทั้งหมด
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไขการชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้น จำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเอง ส่วนค่าสินค้าจำนวน66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายสินค้า: การผ่อนชำระไม่สะดุดอายุความ
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไข การชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ 30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้นจำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาท ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเองส่วนค่าสินค้าจำนวน 66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการค้าและการรับสภาพหนี้: การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ประกอบการค้าและการสะดุดหยุดของอายุความ
เมื่อ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ.2499มาตรา 6 (2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7 (2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้าผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าได้ด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5)
ส่วนอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ"นั้น กฎหมายมุ่งหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่
โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ทำบันทึกตาม มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไม้ซุง: ผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมป่าไม้ และหนังสือรับสภาพหนี้
เมื่อพระราชบัญญัติกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พ.ศ. 2499 มาตรา 6(2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7(2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้า ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจ หรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" นั้นกฎหมายมุ่งหมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะ ที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้อง ของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทน จำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดลงในวันที่ทำบันทึก ตาม มาตรา 193/14(1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่ เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าหุ้นในกิจการร่วมกัน: ใช้ 10 ปีตามอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่โจทก์นำมาลงหุ้นเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น ไม่ใช่โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) และกรณีนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำระหนี้ค่าหุ้น: ใช้บททั่วไป 10 ปี หากกฎหมายเฉพาะไม่ได้กำหนด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่โจทก์นำมาลงหุ้นเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น ไม่ใช่โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) และกรณีนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34 ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวงพ.ศ. 2501 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยผู้ใช้กระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการค้าเรียกค่าสินค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)(7) ที่จะต้องใช้อายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความเปลี่ยนแปลง ผู้รับโอนมีสิทธิใช้อายุความเดิมได้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ2ลักษณะ1หมวด4นั้นเป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วยโดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับอ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม)หรือมาตรา193/34(1)(ใหม่)นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)หรือมาตรา193/12(ใหม่)
of 11